Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69702
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพรรณี บุญเพ็ง-
dc.contributor.authorนรีภัค แป้นดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T11:53:53Z-
dc.date.available2020-11-11T11:53:53Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69702-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการประกวดวงกลองยาวโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมและรูปแบบการออกแบบสร้างสรรค์การแสดงกลองยาวรูปแบบใหม่จากวงกลองยาวที่เข้าร่วมแข่งขัน โดยการสืบค้นข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร และวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เกี่ยวข้องและการสังเกตการณ์จากวีดิทัศน์การแสดงกลองยาวจากวงที่ผู้วิจัยทำการศึกษาจำนวน 2 วง ได้แก่ วงเอกทันต์รางวัลชนะเลิศปี พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2554 และวงศิวบุตรรางวัลชนะเลิศปี พ.ศ.2557 ผู้วิจัยพบว่า การจัดการประกวดวงกลองยาวโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นการประกวดในรูปแบบของการอนุรักษ์และพัฒนา โดยวงที่เข้าร่วมการประกวดจะต้องสร้างสรรค์การแสดงขึ้นใหม่ ส่งผลให้เกิดการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละวง เป็นการพัฒนารูปแบบการแสดงจากการรำกลองยาวแบบมาตรฐานที่มีแต่เดิม จากการศึกษารูปแบบการแสดงของวงกลองยาววงเอกทันต์และวงศิวบุตรพบว่า ได้มีการนำรูปแบบการสร้างสรรค์ที่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของการรำเถิดเทิงของกรมศิลปากร โดยมีรูปแบบที่โดดเด่นและแปลกใหม่ ดังนี้ 1. การใช้ชื่อวงในการประพันธ์บทร้องเพื่อแสดงเอกลักษณ์และเป็นที่จดจำต่อผู้ชม 2. มีการต่อตัวและการตีลังกาในการแสดง 3. ใช้ลีลาท่ารำเป็นการผสมผสานของการแสดงในภาคกลางหลายประเภท ได้แก่ รำกลองยาวชาวบ้าน รำเถิดเทิง รำแม่บทเล็ก รำแม่บทใหญ่ การละเล่นลาวกระทบไม้และรำวงมาตรฐาน 4. การใช้รูปแบบการแปรแถวหลักที่พบ 9 แบบ ได้แก่ แถวตอน แถววงกลม แถวปากพนัง แถวหน้ากระดาน แถวครึ่งวงกลม แถวเฉียง แถวตัวเอ (A) แถวตัวดับเบิลยู (W) และแถวตั้งซุ้ม มาสร้างสรรค์เพิ่มเติมโดยการผสมผสานกันทำให้เกิดรูปแบบแถวใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์การแสดงกลองยาวเพื่อการประกวด อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนหรือกลุ่มคนที่สนใจแข่งขันกลองยาวมีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนารูปแบบการแสดงกลองยาวต่อไปอนาคต-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to study the Klong Yao Troupe Competition organized by the Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture and the choreography of the troupes in the competition. The research method included documentaries, interviewings and observations of Ekkatan troupe the winner of 2009 and 2011, and Siwabut troupe the winner of the year 2014. The researcher found that the Klong Yao Troupe Competition by the Department of Cultural Promotion, Ministry of Culture was aimed at conservation and development resulting in the emergence of the outstanding identity of each troupe which was the developed from the local traditional standard of Klong Yao performance. The study also found that both troupes had adopted and adapted the creative style of the Fine Arts Department. The highlight of the performances of both troupes were the followings: 1) Using the name of the troupe in the lyrics to dance along in order to show the identity. 2) There were many jumbles and somersaults in the performance. 3) The dance styles was the combination of many dance styles of the central region such as the traditional drum dances. 4) Using nine floor patterns including episode row, front row, circle, half circle, Pakpanang row, oblique row, A shape, W shape and Arch to highlight the movements. This research can be used as a guideline for creating long drum performances for the contest, as well as encouraging people or groups who are interested in the Klong Yao competition to be more creative in the development of Klong Yao performance for the future competition.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.841-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleการประกวดวงกลองยาวโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม-
dc.title.alternativeKlong Yao troupe competition organized by department of cultural promotion,ministry of culture-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSuphannee.B@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.841-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186716735.pdf7.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.