Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69778
Title: | ความเหลื่อมล้ำของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุในประเทศไทย |
Other Titles: | Inequality in medical expenses of the elderly in Thailand |
Authors: | อภิชญา สุขวรรณ |
Advisors: | ธัชนันท์ โกมลไพศาล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหลื่อมล้ำของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองของผู้สูงอายุในประเทศไทยโดยผ่านตัวแปรดัชนีความมั่งคั่งและความสัมพันธ์ของปัจจัยอื่นๆต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองของผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ขึ้นไป ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลทุติยภูมิจากสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2560 และ 2062 ที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโทบิต ซึ่งจะแบ่งการวิเคราะห์เป็น 2 กรณีคือ กรณีผู้ป่วยนอกและกรณีผู้ป่วยใน ผลการวิจัยทั้งในกรณีที่ผู้สูงอายุเป็นผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในพบว่าผู้สูงอายุที่มีระดับดัชนีความมั่งคั่งหรือระดับรายได้ที่ต่ำมีผลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่มีระดับดัชนีความมั่งคั่งหรือระดับรายได้ที่สูงกว่า แสดงถึงความเหลื่อมล้ำในการเลือกเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่แตกต่างกันตามความสามารถในการจ่ายของผู้สูงอายุ นอกจากนี้การวิเคราะห์ในกรณีผู้ป่วยนอกยังพบว่า จำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีผลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเอง ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในภาคกลาง, ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้มีผลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ จำนวนโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเอง ผู้สูงอายุที่ป่วยในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคเบาหวานและความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและเมตะบิลิซึมมีผลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่ในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มอื่นๆมีผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผู้สูงอายุที่มีสิทธิข้าราชการ/ ข้าราชการบำนาญมีผลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ และผู้สูงอายุที่อยู่ในระดับดัชนีความมั่งคั่งที่ต่ำและมีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีผลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่มีระดับดัชนีความมั่งคั่งที่สูงกว่าและมีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนในกรณีผู้ป่วยในมีผลการศึกษาของตัวแปรจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ตัวแปรจำนวนโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตัวแปรกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และตัวแปรร่วมระหว่างดัชนีความั่งคังกับประกันสุขภาพถ้วนหน้าเช่นเดียวกันกับกรณีผู้ป่วยนอก แต่ยังมีตัวแปรที่มีผลการศึกษาเพิ่มเติมก็คือ ตัวแปรระดับการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาก่อนประถมศึกษามีผลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรี ตัวแปรสถานะภาพสมรสพบว่าผู้สูงอายุที่แต่งงานแล้วมีผลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่ยังโสด หย่า หม้ายหรือแยกกัน ตัวแปรกลุ่มของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังพบว่าผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังของระบบหายใจมีผลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ตัวแปรสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลมีผลเพิ่มเติมจากกรณีผู้ป่วยนอกคือผู้สูงอายุที่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลเป็นประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีผลเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลอื่น และผู้สูงอายุที่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลเป็นประกันสังคม/ กองทุนทดแทนมีผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองเมื่อเทียบกับผู้สูงอายุที่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลอื่น และจำนวนวันในการเข้าพักในสถานพยาบาลของผู้สูงอายุมีผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเอง แต่การศึกษาครั้งนี้จะให้ความสำคัญกับตัวแปรดัชนีความมั่งคั่งเพื่อสะท้อนความเหลื่อมล้ำในค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองที่แตกต่างกันในผู้สูงอายุที่มีดัชนีความมั่งคั่งในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งจากผลการศึกษาที่กล่าวมาแล้วนั้น สะท้อนให้เห็นว่าเกิดความเหลื่อมล้ำในค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายด้วยตนเองขึ้นจริง |
Other Abstract: | This research aimed to study the inequality of the out-of-pocket health expenditure among elderly in Thailand through wealth index and the relationship of other factors to the out-of-pocket health expenditure. The sample groups are elderly aged 60 and over. Using secondary data from the 2017 and 2019 Health and Welfare Survey collected by the National Statistical Office. The statistics used for analysis were descriptive statistics and Tobit regression analysis. The analysis was conducted in 2 cases: outpatient and inpatient. The results in both outpatient and inpatient found that elderly with low levels of wealth or income index had a statistically significant negative effect on out-of-pocket health expenditure compared to elderly with higher levels of wealth or income index. This indicates inequality in choosing different healthcare facilities based on the affordability of the elderly. In addition, Outpatient analysis also found that number of household members had a statistically significant negative effect on the out-of-pocket health expenditure. Elderly living in the Central, Northern, Northeastern and the South regions had a statistically negative effect on the out-of-pocket health expenditure compared to the elderly living in Bangkok. Number of chronic NCDs had a statistically significant positive effect on the out-of-pocket health expenditure. Elderly with chronic NCDs in Cardiovascular disease, Diabetes and Endocrine and Metabolic disorders group had a statistically significant negative effect on the out-of-pocket health expenditure compared to who did not have a chronic NCDs. But among the elderly with NCDs, among other groups, there was a statistically significant positive effect on the out-of-pocket health expenditure compared to who did not have a chronic NCDs. Elderly with Civil Servant / Pension Rights had a statistically significant negative effect on the out-of-pocket health expenditure compared to elderly with other medical benefits. Elderly with low wealth index levels and eligible for Universal Coverage Scheme had a statistically significant negative effect on the out-of-pocket health expenditure compared to elderly with low wealth index levels and eligible for Universal Coverage Scheme. In the case of inpatients, the results of the study on number of household members, number of chronic NCDs, chronic NCDs group and interaction term between wealth index with Universal Coverage Scheme as well as outpatient cases. But there are also variables that have further study results, Education level variables found that elderly with pre-primary education had a statistically significant negative effect on the out-of-pocket health expenditure compared to elderly with a Bachelor's or Postgraduate degree. Marital status variables found that married elderly had a statistically significant negative effect on the out-of-pocket health expenditure compared to the elderly who were single, divorced, widowed or separated. The group of chronic NCDs was found that the elderly with chronic disease group of Respiratory System had a statistically significant negative effect on the out-of-pocket health expenditure compared to the elderly who did not have a chronic NCD. Medical benefits were further studied from outpatient cases, Elderly with Universal Coverage Scheme had a statistically significant negative effect on the out-of-pocket health expenditure compared to the elderly who had other benefits for medical expenses. Elderly with Social Security Scheme/ Compensation Fund had a statistically significant positive effect on the out-of-pocket health expenditure compared to the elderly who had other medical benefits. And number of days of stay in nursing homes among the elderly had a statistically significant positive effect on the out-of-pocket health expenditure. But this study will focus on wealth index variables to reflect inequality of the out-of-pocket health expenditure among elderly with varying levels of wealth index. From the results of the studies mentioned above, this reflected that there was a real inequality in the out-of-pocket health expenditure. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69778 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.645 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.645 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6185177229.pdf | 5.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.