Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69878
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริรัตน์ เสรีรัตน์-
dc.contributor.authorณพัชร สุวรรณกิจ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T12:58:18Z-
dc.date.available2020-11-11T12:58:18Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69878-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาปรากฏการณ์การทําให้เมืองมีชีวิตชีวาด้วยกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ตภายใต้บริบทไทย ซึ่งภาพลักษณ์ของกราฟฟิตี้ในประเทศไทยยังแสดงถึงความเสื่อมโทรมของชุมชน ขณะเดียวกันกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ตก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเมือง ทําให้เมืองมีความน่าอยู่ ไม่เสื่อมโทรมเหมือนกราฟฟิตี้ทั่วไป และยังกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวให้กับชุมชน ดังนั้นจึงศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการฟื้นฟูเมืองโดยใช้กราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ตเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์องค์ประกอบที่มีผลต่อกระบวนการดังกล่าว และศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนภายในโครงการกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ต โดยเปรียบเทียบความแตกต่างทั้ง 3 กรณีศึกษา ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มีสามส่วน ได้แก่ ข้อมูลบริบทเชิงพื้นที่ที่ได้จากการทําแผนที่เดินดินจํานวน 3 แห่ง ได้แก่ย่านราชเทวี ย่านสยาม และเมืองภูเก็ต ข้อมูลทัศนคติและการรับรู้ที่มีต่อกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ตจากการทําแบบสอบถามกับบุคคลทั่วไป จํานวน 572 ตัวอย่าง และรายละเอียดโครงการกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ตในพื้นที่กรณีศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการกราฟฟิตี้ทั้ง 3 โครงการ ผลการศึกษาทัศนคติและการรับรู้ที่มีต่อกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ตพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ตในระดับที่สามารถแยกแยะได้ และมีทัศนคติเกี่ยวกับกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ตเป็นไปในทางบวก และผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าโครงการกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ตนั้นมีจุดประสงค์ในการปรับพื้นที่ให้เป็นย่านศิลปะ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว หรือถ่ายทอดวัฒนธรรมของชุมชนให้แก่ผู้สัญจร โดยเริ่มจากการวางแผนโครงการ การเสนอโครงการให้กับเจ้าของที่ดินเพื่อขอใช้สถานที่ในการจัดกิจกรรม การติดต่อเชิญศิลปินเข้ามาร่วมโครงการ และการประชาสัมพันธ์ ภายในโครงการได้มีส่วนร่วมกับบุคคลหลายกลุ่มได้แก่ หน่วยงานรัฐบาล องค์กรเอกชน องค์กรไม่แสวงผลกําไร ศิลปินและประชาชน-
dc.description.abstractalternativeThis research examines the urban revitalization process with Graffiti as street art within Thai context. Which images of graffiti in Thailand still shows the its degeneration, Meanwhile graffiti is used as a tool for revive the city. Make the city livable and motivate the economy and tourism. Then analyze elements that relate with the process of Graffiti and street art Project. And the public participation within the project from 3 case study areas. There are 3 parts of data for analyze including the area context from walking map, public attitudes and perceptions for graffiti as street art from questionnaire (n=572), details and process of graffiti and street art projects from interview. This research found that people can separate between the graffiti and wall art. They have positive attitudes about graffiti as street art. The results from interview showed the objective and the process from planning, proposing the project to the landowner, inviting the artists and information. The projects have been involved with Government factors, private organizations, non-profits organizations, artists and citizen.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.711-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleกระบวนการทำให้เมืองมีชีวิตชีวาด้วยกราฟฟิตี้ในบทบาทของสตรีทอาร์ต-
dc.title.alternativeUrban revitalization process through graffiti-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมือง-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.711-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6073366425.pdf14.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.