Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69886
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ | - |
dc.contributor.author | ดุษฎี บุญฤกษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T12:58:21Z | - |
dc.date.available | 2020-11-11T12:58:21Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69886 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 | - |
dc.description.abstract | ชุมชนประวัติศาสตร์ย่านพระอาทิตย์เป็นพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ในด้านคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรม ได้แก่ ป้อมพระสุเมรุ วัดชนะสงคราม มัสยิดจักรพงษ์ และสวนสันติชัยปราการ เป็นต้น แต่พื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ย่านพระอาทิตย์กลับมีการใช้งานที่ไม่เต็มศักยภาพและไม่เป็นอเนกประโยชน์ ทั้งๆ พื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ควรมีความสมดุลในการสัญจรของคนกลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึง งานวิจัยชิ้นนี้ ต้องการที่จะศึกษารูปแบบการค้นหาเส้นทางของกลุ่มคนที่เข้ามาใช้งานพื้นที่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคนที่คุ้นเคยและไม่คุ้นเคยกับพื้นที่ โดยทำการบันทึกรูปแบบการสัญจรในช่วงวันและเวลาต่างๆ ผ่านการบันทึกรูปแบบเส้นทางนิยมสัญจรของคนเดินเท้า จากการสำรวจพบว่า กลุ่มคนทั้ง 2 ประเภท มีรูปแบบการค้นหาเส้นทางที่แตกต่างกันและแยกออกจากกัน กลุ่มคนที่คุ้นเคยกับพื้นที่มีรูปแบบการสัญจรกระจายอย่างทั่วถึง แต่กลุ่มคนที่ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่กลับมีรูปแบบการสัญจรบนถนนเส้นหลัก และถนนเส้นที่มีร้านค้าขายของสำหรับนักท่องเที่ยวเท่านั้น ผลการวิเคราะห์รูปแบบการค้นหาเส้นทางของคนทั้ง 2 กลุ่ม สามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดรูปแบบการค้นหาเส้นทาง คือ ความเข้าใจและจดจำพื้นที่ (spatial cognition) ประกอบด้วย จุดดึงดูดระดับเมือง และจุดดึงดูดระดับย่าน ส่วนปัจจัยรอง คือ สัณฐานของพื้นที่ (spatial configuration) ประกอบไปด้วย ศักยภาพของการเข้าถึงและมองเห็นพื้นที่ รวมไปถึงการใช้เครื่องมือนำทาง (wayfinding application) ที่ใช้แผนที่ท่องเที่ยว (tourist map) กล่าวคือ กลุ่มคนที่คุ้นเคยกับพื้นที่ มีแนวโน้มที่จะใช้เพียงแค่ความเข้าใจและจดจำพื้นที่ในการค้นหาเส้นทาง ส่วนกลุ่มคนที่ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่ มีแนวโน้มที่จะใช้ทั้งความเข้าใจและจดจำพื้นที่ สัณฐานของพื้นที่ และเครื่องมือนำทางในการค้นหาเส้นทาง | - |
dc.description.abstractalternative | Being a historical community, Phra Arthit is a unique urban area with several important cultural heritage. Theses historical places are registered by the cultural heritage department Thailand such as Phra Sumen Fort, Wat Chana Songkhram, Chakrapong Mosque and Santichai Prakan Park, etc. However, its historical community area has not been fully utilized even though it should have a balanced pedestrian network accessible to various groups of people. This research aims to study wayfinding patterns of two groups of people; those are familiar and unfamiliar with the area. It is found that these two groups of people have different and separated wayfinding patterns through observing and analyzing patterns of pedestrian traffic during different times of the day. People who are familiar with the area have a thorough distribution of traffic patterns while the other group have a pattern of traffic on the main roads and roads where shops for tourists are located. The results of wayfinding patterns analysis in two groups of people can be concluded that spatial cognition which are global attractor and local attractor are the main factor of creating wayfinding pattern. The secondary factor is the spatial configuration which consists of the potential of accessibility and visibility. Also, include using a wayfinding application that uses a travel map. As a result, familiarized people display a tendency to used only spatial cognition to wayfinding while the unfamiliarized people use both spatial cognition, spatial configuration, and wayfinding application. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.692 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | รูปแบบการค้นหาเส้นทางในพื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์ย่านพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร | - |
dc.title.alternative | Wayfinding patterns in Phra Arthit historical community area, Bangkok | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | การวางผังและออกแบบเมือง | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2018.692 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6173319025.pdf | 25.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.