Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69897
Title: การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณสำหรับกลุ่มคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Financial planning for retirement life in people aged 40 and above in Bangkok Metropolitan area
Authors: อภิชญาฎา ภู่ระหงษ์
Advisors: บุษรา โพวาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณเป็นสิ่งที่ควรมีการวางแผนทันทีที่มีโอกาส จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าคนไทยเริ่มวางแผนเกษียณในวัย 42 ปี และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออมเพื่อเกษียณเมื่ออายุมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจ สังคม และที่อยู่อาศัยของกลุ่มคนวัยก่อนเกษียณช่วงอายุ 40-59 ปี แนวคิดต่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณ และการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณของกลุ่มคนดังกล่าว โดยสอบถามกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 400 คน ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ผู้ที่มีแนวคิดในการวางแผนฯต่อผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯในสัดส่วนประมาณร้อยละ  66 : 34 ตามลำดับ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณ ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ประจำ (ต่อเดือน) รูปแบบที่อยู่อาศัย-ทำเลที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน และการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยในวัยเกษียณ 2) การวางแผนด้านที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีการวางแผนฯ ร้อยละ 57.3 มีแนวคิดที่จะย้ายที่อยู่อาศัย รูปแบบบ้านปลูกเองเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.1) ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯร้อยละ 55.1 ต้องการอาศัยอยู่ที่เดิม และกว่าร้อยละ 79.8 ยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับวัยเกษียณ 3) การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณพบว่าคนวัยก่อนเกษียณเลือกที่จะวางแผนโดยการออมเงิน (ร้อยละ 70) ในสัดส่วนร้อยละ 21 ของรายได้และเริ่มออมเมื่ออายุเฉลี่ย 32 ปี ในขณะที่ผู้ที่ยังไม่มีการวางแผนฯ ให้เหตุผลที่ยังไม่วางแผนเนื่องจากยังมีภาระหนี้สิน ค่าใช้จ่ายมาก และมีเงินไม่พอที่จะออม (ร้อยละ 55) และจากการประมาณค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อเดือน จากผลการศึกษาพบว่ากลุ่มคนวัยก่อนเกษียณช่วงอายุ 40-59 ปีมีการเตรียมความพร้อมในวัยเกษียณด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณแต่ยังขาดการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการเป็นวัยเกษียณ อีกทั้งยังมีกลุ่มที่ยังไม่วางแผนอีกกว่าร้อยละ 35 ที่มีรายได้ต่อเดือนที่ไม่มากพอ ความมั่นคงในอาชีพ ประกอบกับหนี้สินจากที่อยู่อาศัยส่งผลให้การเตรียมความพร้อมในวัยเกษียณยังรวมถึงการวางแผนค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณน้อยเกินจริง ส่งผลให้ภาครัฐยังต้องมีบทบาทในการในการสนับสนุนกลุ่มคนวัยเกษียณในด้านการวางแผนดังกล่าวเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อบุตรหลาน และส่งเสริมด้านที่อยู่อาศัยเพื่อไม่ให้เกิดหนี้สินในวัยเกษียณ
Other Abstract: Financial planning for retirement is important for everyone and should be undertaken as early as possible by every working adult; however, findings show that Thai people wait to start planning for retirement until the age of 42 years old on average. The objectives of this research are to explore economic and social factors, housing characteristics, and financial planning for retirement of people aged between 40-59 years old.  Data were collected by using questionnaires with 400 samples in the Bangkok Metropolitan Area.   The study found that 1) the proportion of people who have a financial plan to those who do not have a financial plan is 66:34. Factors affecting financial planning for living in retirement are education, occupation, regular income (per month), housing type, current location, and retirement housing planning. 2) In terms of housing plans, 57.3% of people who have financial plans intend to move back to their hometowns and build houses.  Furthermore, 55.1% of people without financial plans do not intend to relocate upon retirement, and 79.8% do not have concrete plans for improving houses for retirement as of now. 3) For living-retirement financial planning, it was found that 70% of people aged between 40 and 59 years of age choose to deposit money in the bank, while the 55% of people without financial plans do not have enough money saved because of huge debt and daily expenses.  Moreover, the study also found that people estimate their expenses for retirement at an average of 7,000 baht per month. In conclusion, the study found that people aged between 40-59 years old were preparing financial plans, but that most are still not prepared for housing in retirement. Approximately 34% of samples still have financial issues that affect financial planning and underestimate retirement expenses. As a result, the government should support financial planning and housing planning for retirement in order to help people be fully and adequately prepared for retirement.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69897
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.700
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.700
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6173357925.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.