Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69907
Title: | แนวทางการปรับปรุงทางกายภาพโครงการอาคารชุดให้เป็นโรงแรม กรณีศึกษาโครงการโรงแรมระดับ 4 ดาว ในพื้นที่พัทยา |
Other Titles: | Guidelines for physical modifications for transforming a condominium project into a hotel : case study of 4-star hotel project in the Pattaya area |
Authors: | ทวีศักดิ์ ฤกษ์สวัสดิ์ถาวร |
Advisors: | พัศพันธน์ ชาญวสุนันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการอาคารชุด ในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอย่างพัทยามีการเกิดขึ้นใหม่มากมาย ทำให้จำนวนห้องชุดมีมากขึ้น และเกิดการแข่งขันทางธุรกิจ ประกอบกับ ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เป็นเหตุทำให้ผู้ประกอบการหลายรายมีการปรับแผนกลยุทธทางธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน หนึ่งในนั้นคือการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคารชุดที่มีอยู่แล้วให้เป็นโรงแรมที่มีมาตรฐานตามข้อกำหนด อย่างไรก็ตามหลายโครงการประสบปัญหาเรื่องข้อจำกัดทางกายภาพที่เกิดขึ้น หรือดำเนินการโดยไม่ได้อ้างอิงข้อกฎหมาย จึงเกิดปัญหาที่ทำให้เป็นโรงแรมที่ไม่ได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการกิจการอย่างถูกต้อง รวมทั้งอาจเกิดปัญหาบานปลายภายหลัง เช่น ปัญหาด้านโครงสร้างที่ต้องปรับปรุง เพิ่มเติม ปัญหาด้านงานระบบต่างๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาด้านการใช้งานพื้นที่ส่วนกลางระหว่างแขกผู้เข้าพัก พนักงาน ดังนั้นแนวทางการปรับปรุงทางด้านกายภาพของโครงการอาคารชุดให้เป็นโรงแรมจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาว่ามีข้อกฏหมายใดบ้างที่เป็นหลักเกณฑ์ที่ต้อง ดำเนินการในการปรับปรุงโครงการ และทำให้เกิดผลอย่างไรต่อกายภาพโครงการ โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ คือ โครงการโรงแรมระดับ 4 ดาว จำนวน 2 แห่งในพื้นที่ พัทยา ที่เคยเป็นโครงการอาคารชุดมาก่อน และทั้ง 2 โครงการอาคารชุด ได้ทำการซื้อคืนห้องชุดทั้งหมดจากเจ้าของร่วมเดิมทั้งหมด เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงการใช้งานอาคารชุดให้เป็นโรงแรม ผลจากการศึกษาจำแนกข้อกฎหมาย รวมถึงแนวทางการปรับปรุงอาคารชุดให้เป็นโรงแรม ที่มีผลจากข้อกฎหมาย ข้อกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้ 1) ข้อกฎหมายผังเมืองรวมพื้นที่เฉพาะ เพื่อใช้ตรวจสอบว่าพื้นที่สามารถดำเนินกิจการโรงแรมได้หรือไม่ ควบคุมขนาดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร และพื้นที่ว่างภายนอกอาคาร 2) ข้อกฎหมายสิ่งแวดล้อมของเขตพื้นที่เฉพาะเพื่อควบคุมมิให้มีผลกระทบกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมต่างๆ รวมถึงข้อกำหนดพื้นที่สีเขียว 3) ข้อกฎหมายสำหรับควบคุมอาคารชุดในส่วนที่ยังคงบังคับใช้ในกรณีปรับปรุงการใช้งานเป็นโรงแรม เช่น สภาพแวดล้อม สถานที่ตั้งโครงการ พื้นที่ว่างนอกอาคาร ระยะร่นอาคาร ความสูงอาคาร ขนาดทางสัญจร ลิฟต์ บันไดหนีไฟ 4) ข้อกฏหมายสำหรับควบคุมโรงแรมที่จะต้องปรับปรุง เช่น ความชัดเจนของส่วนบริการโรงแรม สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับโรงแรม ระบบความปลอดภัยทางด้านอัคคีภัย ระบบพลังงานสำรอง รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ ได้แก่ ที่จอดรถ ห้องพัก ห้องน้ำสาธารณะ ทางสัญจร ลิฟต์ บันได ป้ายสัญลักษณ์ และ 5) ข้อกำหนดมาตรฐานโรงแรมที่เป็นตัวบ่งชี้ระดับของโรงแรม เช่น จำนวนที่จอดรถ ลักษณะโถงต้อนรับ แยกการใช้ทางสัญจรชัดเจน แยกการใช้งานลิฟต์ชัดเจน ห้องพักมีทางเลือกหลากหลายแบบ ห้องอาหาร ห้องครัว ห้องประชุม สระว่ายน้ำ ห้องน้ำสาธารณะ ส่วนพื้นที่บริการของพนักงาน ส่วนสันทนาการต่างๆ จากผลการศึกษาทำให้ทราบถึงแนวทางการปรับปรุงโครงการที่ใช้การอ้างอิงจากข้อกฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่แนวทางการปรับปรุง พัฒนาโครงการได้อย่าง เหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อโครงการที่ต้องการปรับปรุงการใช้งานอาคาร |
Other Abstract: | Pattaya is one of the most popular destinations in Thailand, and recently there has been a rise in the number of condominium projects, leading to increased competition and an oversupply situation in the market. As a result, many entrepreneurs have decided to adjust their business strategies in line with the current conditions. One such strategy is to modify an existing condominium to transform it into a standard hotel; however, many projects proceed without referring to legal requirements and operate as unlicensed hotels, which is a problem and may cause subsequent issues related to building structure and mechanical and engineering systems, including functionality for guests and staff. Accordingly, a study of the guidelines for physical modification of condominium projects into hotels was undertaking in order to identify which laws or regulations must be adhered to, and how this will affect the physical appearance of the building. Two case studies of four-star hotels in Pattaya were examined in this research. Both were originally developed as condominium projects, but all the rooms were subsequently repurchased from the co-owners for the purpose of converting the properties into hotels. The relevant laws involving the guidelines for project modification and relevant standards were categorized as follows: 1) The laws on town planning control in the specific area in order to ensure that a hotel business can be operated in a given area, and to control both outdoor space or Open Space Ratio, and utility space inside the building or Floor Area Ratio. 2) The environmental laws of a specific area designed to prevent negative impacts on the natural environments, including green area requirements. 3) The laws on condominium building control that are still enforced in case of modification to a commercial hotel; these laws relate to issues such as surrounding environment, project location, outdoor space, setback, building height, walkway circulation, elevators, and fire escapes. 4) The laws on hotel building control which require further improvement in areas such as clarity of hotel services area, hotel facilities, fire safety systems, backup power systems, and functions for disabled persons such as parking, guestrooms, public restroom, passages, elevators, stairs, and signage. 5) Thai hotel standard requirements that are used to classify hotel ratings, such as the number of the parking spaces, lobby characteristics, clearly separated public walkways, clearly separated elevator usage, options for guestroom types, restaurant quality, and other amenities and services including kitchens, meeting rooms, swimming pools, public toilets, staff areas, and various recreation areas. In conclusion, the results of the study identify guidelines for developing relevant projects properly in compliance with the law and standard references, leading to the appropriate development of the project. This research should prove beneficial to those seeking to undertake this type of building modification. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69907 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.682 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.682 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6173560925.pdf | 7.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.