Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69913
Title: พฤติกรรมด้านการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า ในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : พาต้า ปิ่นเกล้า, เอ็มบีเค เซ็นเตอร์, จัตุรัสจามจุรี และเทสโก้ โลตัส พระราม 1
Other Titles: Area using behavior in department store of the elderly in Bangkok case study : Pata Pinklao, MBK Center, Chamchuri Square and Tesco Lotus Rama 1
Authors: ภัสร์นลิน เลิศดำรงค์ไชย
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุ นำไปสู่การจัดการพื้นที่ภายในห้างสรรพสินค้าที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ ผ่านการใช้วิธีสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้สูงอายุภายที่มาใช้พื้นที่ในห้างสรรพสินค้า สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในด้านการจัดการพื้นที่ภายในห้างสรรพสินค้า (ผู้ประกอบการ) จากผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้สูงอายุเลือกใช้พื้นที่ของห้างสรรพสินค้าเป็นสถานที่ที่มานอกเหนือจากบ้านหรือ Second place โดยพฤติกรรมการมาใช้พื้นที่แตกต่างกันตามจุดเด่นและจุดขายของแต่ละสถานที่ ปัจจัยเรื่องทำเลที่ตั้งของห้างฯ มีผลต่อรูปแบบการเดินทางมาของผู้สูงอายุ ทำให้วัตถุประสงค์ของการมาใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุแตกต่างกันออกไปตามแต่ละสถานที่ 2) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เห็นว่าควรจัดให้มีพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า โดยจัดให้เป็นพื้นที่สำหรับนั่งมากที่สุด และเป็นพื้นที่ทางสังคมรองลงมาเพื่อลดความเหงา และโดดเดี่ยว ดังนั้นการจัดการพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้าควรพิจารณาประเด็นของพฤติกรรมและความต้องการของผู้สูงอายุควบคู่ไปกับจุดเด่น จุดขายของสถานที่นั้นๆ ผู้ประกอบการตระหนักถึงประเด็นการมาของสังคมสูงวัยและพฤติกรรมนิยมมาใช้พื้นที่ในห้างสรรพสินค้าของผู้สูงอายุ แต่ยังไม่เห็นถึงความสำคัญหรือแรงจูงใจในการพัฒนาพื้นที่ ทั้งนี้ภาครัฐจึงควรออกนโยบายผลักดันและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเห็นถึงความสำคัญ สร้างแรงจูงใจในการจัดเตรียมพื้นที่ให้เป็นสวัสดิการพื้นที่ทางสังคมในเมือง ด้วยการรณรงค์ขอความร่วมมือ ลดอัตราภาษีแก่ห้างสรรพสินค้าที่พัฒนาพื้นที่บางส่วนให้เป็นพื้นที่สำหรับผู้สูงอายุ ให้รางวัล เพื่อดึงดูดให้พื้นที่ห้างสรรพสินค้าอื่นๆ นำไปปฏิบัติตาม เพื่อสวัสดิการด้านพื้นที่ทางสังคมนี้จะได้ครอบคลุมทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน
Other Abstract: This project aimed to study and analyze the area used and the behavior of elderly persons in department stores, with the aim of creating suitable area management for them in the future. A structured interview method was used to interview elderly customers while the persons who were responsible for area management in department stores or entrepreneurs were interviewed by using an in-depth interview method. From the study, first, interviewing showed that the department store was the second most popular place that elderly people chose to visit. Behavior and the purpose of visiting the area depended on the strength and the selling point of each place. Meanwhile, the transportation available for the location was also a consideration. Second, most elderly persons required a senior zone, so that they could firstly rest and also socialize so that they were not lonely. Therefore, the area management for elderly persons should be considered alongside usage behavior, customer needs, and the selling point of that place. Entrepreneurs and the private sector realized the importance of an aging society and the behavior of department store area usage by elderly persons. Even so, they were not aware or motivated enough to develop their areas. Thus, the government should declare a policy that can raise awareness and encourage them to establish areas that have adequate and helpful social welfare in society. For example, launching a campaign to ask for cooperation from private sectors, tax deduction and awarding department stores that have developed a part of their area for senior citizens may entice other department stores to follow the policy. Eventually, a beneficial social welfare in terms of the space provided for the elderly population can be covered by both the government and private sector.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69913
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.690
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.690
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6173571825.pdf10.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.