Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69922
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์-
dc.contributor.authorเมธาวี อื้ออารีย์กุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T12:58:44Z-
dc.date.available2020-11-11T12:58:44Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69922-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการศึกษาแนวคิดสุขภาวะทางใจหรือความสุขเป็นสิ่งที่อยู่ในความสนใจมายาวนาน    แต่การศึกษาเรื่องสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัยนั้นยังมีการศึกษาไม่มากนัก ในปัจจุบันการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยมีจํานวนอาคารชุดที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ประเด็นเรื่องสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัยในอาคารชุดจึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับการคํานึงถึงอย่างยิ่ง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุดและสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัย เพื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบทางกายภาพที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัย และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนารูปแบบองค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุด โดยใช้การรวบรวมแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม ในการพัฒนาเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้อยู่อาศัยในรูปแบบห้องชุด 1 ห้องนอนของโครงการลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา, ลุมพินี เพลส รัชโยธิน และลุมพินี เพลส พระราม4 – กล้วยน้ำไท รวมจํานวน 146 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติร่วมกับการวิเคราะห์ผังห้องชุด ผลการศึกษาพบว่า (1) ลักษณะทางกายภาพของรูปแบบห้องชุด 4 รูปแบบ ในรูปแบบ B1 จากโครงการลุมพินี เพลส รัชโยธินและรูปแบบ C1 จากโครงการลุมพินี เพลส กล้วยน้ำไท มีรูปแบบการวางผังเหมือนกัน ส่วนในรูปแบบ A1 และ A2 จากโครงการลุมพินี เพลส พระราม 9-รัชดา มีความแตกต่างกันที่รูปแบบ A2 มีระเบียงบริเวณส่วนนอน   ทั้งนี้รูปแบบ A1 และ A2 นั้นจะแตกต่างจากรูปแบบ B1 และ C1 อย่างชัดเจนในลักษณะการวางผัง, ลำดับการเข้าถึง, การกำหนดขอบเขตและการเชื่อมต่อในแต่ละพื้นที่  (2) ลักษณะครัวเรือน ลักษณะการอยู่อาศัยและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัย จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 รูปแบบห้องชุด พบว่ามีความแตกต่างกันในบางหัวข้อ ได้แก่ อาชีพหลัก ในรูปแบบ B1 ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา ส่วนรูปแบบอื่น ๆ เป็นพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน, ระดับรายได้ มีความหลากหลายในแต่ละรูปแบบ โดยจะอยู่ในช่วง ต่ำกว่า 20,000 – 60,000 บาท, ผู้อยู่อาศัยร่วมกัน ในรูปแบบ C1 ส่วนใหญ่อยู่อาศัยคนเดียว ส่วนรูปแบบอื่น ๆ อยู่อาศัยร่วมกับครอบครัว และลักษณะที่อยู่อาศัยเดิม ในรูปแบบ A1 ส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียม ส่วนรูปแบบอื่น ๆ เป็นบ้านเดี่ยว  ทั้งนี้ในส่วนของหัวข้ออื่น ๆ จะมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน (3) ลักษณะครัวเรือนและลักษณะการอยู่อาศัยของผู้อยู่อาศัยในห้องชุดทั้ง 4 รูปแบบมีความแตกต่างกัน แต่มีค่าเฉลี่ยสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัยที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (4) ระดับสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัยของกลุ่มตัวอย่างจากรูปแบบห้องชุดทั้ง 4 รูปแบบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (5) องค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุดที่สัมพันธ์และส่งผลทางบวกต่อสุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัย มี 4 ตัวแปรจาก 56 ตัวแปร เรียงอันดับจากมากไปน้อย คือ บริเวณส่วนนอน, ตำแหน่งส่วนรับประทานอาหาร, ความกว้างระเบียง และห้องชุดโดยรวม  (6) ปัจจัยภายนอกห้องชุดที่สัมพันธ์และส่งผลทางบวกต่อสุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัยมี 2 ตัวแปร จาก 9 ตัวแปร เรียงอันดับจากมากไปน้อย คือ การบริหารจัดการที่ดีของนิติบุคคล และรูปแบบสถาปัตยกรรมของโครงการ (7) ตัวแปรองค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุดมีความสัมพันธ์และส่งผลทางบวกต่อสุขภาวะทางใจ มากกว่าปัจจัยภายนอกห้องชุด และ (8) องค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุดและปัจจัยภายนอกห้องชุด ที่ได้รับระดับความสำคัญต่อสุขภาวะทางใจสูงที่สุด 3 อันดับแรก เรียงอันดับจากมากไปน้อย คือ การป้องกันการโจรกรรม, การป้องกันอัคคีภัย และทำเลที่ตั้งโครงการ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าองค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุด และปัจจัยภายนอกห้องชุดโดยส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ต่อสุขภาวะทางใจในการอยู่อาศัย โดยองค์ประกอบทางกายภาพที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางใจนั้นเป็นส่วนที่ควรให้ความสำคัญและเน้นพัฒนาการออกแบบ อย่างการจัดสรรพื้นที่ที่มีอยู่จำกัดให้มีขนาดเหมาะสม มีขอบเขตบริเวณชัดเจนและสามารถยืดหยุ่นการใช้งานได้ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของผู้อยู่อาศัยได้หลากหลาย ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรให้ความสําคัญกับองค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุดร่วมกับปัจจัยภายนอกและพัฒนาไปร่วมกัน รวมถึงควรศึกษาต่อยอดในเชิงรายละเอียดในการออกแบบ หรือศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างอื่น ๆ ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนควรมีการวางแผนในการพัฒนาและคํานึงถึงการกําหนดแนวทางในการออกแบบห้องชุดให้ตอบสนองสุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างสุขภาวะทางใจที่ดีให้กับผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThe issue of ‘mental well-being’ or, simply, ‘happiness’ has been long studied. But not many studies are focused on mental well-being associated with dwelling units. As the development of the real estate industry, especially condominiums, continues to expand, it is worthwhile researching the topic of mental well-being in condominiums. The objectives of this research are to study and analyze the physical components of condominium units that affect the mental well-being of dwellers and to recommend ways to develop these physical components.  The research is conducted by reviewing related literature and intensive interviews of experts, including an entrepreneur, psychological specialist, and an architect. Data is collected through structured interviews of 168 condominium dwellers of Lumpini Place Rama 9-Ratchada, Lumpini Place Ratchayothin, and Lumpini Place Rama4-Kluaynamthai, which is then statistically analyzed. The study reveals that: (1) in terms of physical characteristics of condominium units, type B1 of Lumpini Place Ratchayothin has the same room layout as type C1 of Lumpini Place Rama4-Kluaynamthai. In contrast, type A1 of Lumpini Place Rama9-Ratchada is different from type A2 in the position of the balcony in the bedroom. However, type A1 and A2 are obviously different from type B1 and C1 due to the room layout, sequential access, boundaries, and connecting areas; (2) Household characteristics, living behaviors, and other factors related to mental well-being from the sample groups of 4 room types are different in some aspects. Students are the most common occupation for the sample group of type B1 followed by private employees, with an income which varies according to each type between lower than 20,000 baht and 60,000 baht. Moreover, the occupants of sample group in type C1 mostly are alone but other types are live as a family, and the previous residences of sample groups in type A1 are both condominiums and single houses, which differs from the other types who previously lived in single houses.  However, there were similarities for other issues: (3) in terms of statistics, different household characteristics and living behaviors do not significantly yield different mean values of mental well-being; (4) the mean values of the mental well-being of all sample unit types are statistically non-significant; (5) physical components of condominium units that correlate and affect the mental well-being of dwellers include 4 of 56 variables, ranging from most-to-least affective as a sleeping area, location of the dining area, the width of the balcony, and the entire unit itself; (6) environmental factors that correlate and affect the mental well-being of dwellers include 2 of 9 variables, ranging from most-to-least affective as systematic management of the concerned legal entity and architectural design; (7) the physical components of condominium units correlate more and affected the mental well-being than environmental factors; and (8) The first three physical components and environmental factors which are significant to mental well-being are burglary prevention, fire prevention, and project location. The research suggests that the physical components and environmental factors correlate mostly to the mental well-being of dwellers. The physical components which affect the mental well-being should emphasize and develop the design to meet the demands of dwellers, such as space allocation and flexible space. Entrepreneurs should place more emphasis on the physical components of condominium units and environmental factors. Moreover, they should study and develop these in other sample groups. It is necessary that both governmental and private sectors jointly plan to develop design guidelines for condominium units to help promote dwellers’ quality of life and, consequently, mental well-being.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.669-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleองค์ประกอบทางกายภาพของห้องชุดพักอาศัยแบบ 1 ห้องนอนที่ส่งผลต่อสุขภาวะทางใจของผู้อยู่อาศัย: กรณีศึกษาโครงการอาคารชุด บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)-
dc.title.alternativePhysical components of one-bedroom condominium units affecting mental well-being of dwellers : case study of condominium projects of L.P.N. Development PCL.-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.669-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270032025.pdf8.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.