Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70435
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของมาตรการ Paperless ในกิจกรรม Back-office ของภาครัฐไทย: ศึกษาเปรียบเทียบกรณีการประชุมคณะกรรมการ 2 หน่วยงาน
Other Titles: Success factors for paperless in the back-office of the Thai government agencies: a comparative case study of 2 boards of committee
Authors: ธมลวรรณ เกิดจั่น
Advisors: วงอร พัวพันสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้ต้องการตอบคำถามที่ว่าปัจจัยใดส่งผลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านการประชุมคณะกรรมการไปสู่การประชุมแบบไร้กระดาษ โดยศึกษาหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่าน และศึกษาหน่วยงานที่ยังคงใช้กระดาษในการประชุมคณะกรรมการ เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรค หากมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่การประชุมคณะกรรมการแบบไร้กระดาษ โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) เนื่องจากมาตรการไร้กระดาษและรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เป็นการเปลี่ยนกระบวนการทำงานโดยอาศัยเทคโนโลยี งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา โดยเลือกคณะกรรมการของหน่วยงานภาครัฐในระดับสำนักงานมาศึกษา 2 หน่วยงาน โดยหน่วยงานแรกจัดเป็นหน่วยงานที่เปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบไร้กระดาษได้สำเร็จ ส่วนหน่วยงานที่สองยังอยู่ในรูปแบบใช้กระดาษ โดยมีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและกรรมการในคณะกรรมการ ประกอบการศึกษาเอกสารประกอบการประชุมและเข้าสังเกตการณ์ในการประชุมคณะกรรมการด้วย ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยที่เคยเป็นอุปสรรคต่อการใช้เทคโนโลยี เช่นกฎหมายและความเชื่อมั่นของคนที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยี เป็นปัญหาน้อยลง ในด้านกฎหมาย เพราะมีกฎหมายออกมารองรับมากขึ้น โดยเฉพาะพระราชกำหนดว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2563 แต่ในทางปฏิบัติ พบว่าในกระบวนการประชุมคณะกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งสามารถมอบหมายผู้แทนเข้าร่วมประชุม โดยอาศัยหลักการปฏิบัติราชการแทนจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งระบุว่าในการมอบอำนาจจะต้องทำเป็นหนังสือ และในด้านความเชื่อมั่นของคนที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยี เนื่องจากวิถีชีวิตที่พึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น ทำให้ทัศนคติที่มีต่อการใช้งานเทคโนโลยีของคนเปลี่ยนไป นอกจากนั้น ยังพบว่าการมีผู้นำองค์กรที่มุ่งผลักดันการเปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนผ่านที่สำเร็จ และงานวิจัยนี้ยังค้นพบปัจจัยเพิ่มเติมอีกหนึ่งปัจจัย ได้แก่ ผู้ช่วยด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผู้ใช้งานเทคโนโลยีมือใหม่มีทัศนคติอันดีต่อการใช้ และยอมรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่การประชุมคณะกรรมการในรูปแบบไร้กระดาษได้ในที่สุด    
Other Abstract: This study aims to present factors that accommodate the success in transitioning to paperless board meetings. In order to understand the factors accommodating or hindering the implementation of paperless policies, the study observes two agencies: one that have successfully implemented paperless policy in its board meetings; and one that have yet to achieve paperless meetings by adapting the theory of e-government since paperless policies and e-governments are technological changes in the process of work. This study adopts a qualitative case study as its methodology. Two office-level government agencies are chosen as case studies. The first office is categorized as a successful case in transitioning to paperless meetings while the second office is in the category of offices that paperless policies have not yet been achieved. To satisfy the study’s objectives, semi-structural interviews are conducted with relevant staffs and board members, meeting documents of the board are studied, and board meetings are observed. The result reveals that factors once hindering the implementation of technology, namely the issues of legality and the staffs’ confidence in using technological devices, are becoming less problematic to the implementation of paperless policies. On the aspect of regulation, the Emergency Decree on Electronic Meetings, B.E. 2563 (2020) has passed to accommodate paperlessness in meetings. Though in practice, members whose membership are granted by their position can assign representative to the meeting, the authorization must be written in paper form according to the notion of representation postulated in the Government Administration Act, B.E. 2534 (1991). On the aspect of staffs’ confidence, the common usage of technology have increased confidence among users. Furthermore, the study reveals that the heads of the department’s enthusiasm contributes to the success of the transition. It also finds that another factor is technological assistants who are significant as they shape new technology users’ favorable opinions on the usage of technology and their acceptance of transitioning to paperless board meetings.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70435
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.228
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2019.228
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6180948924.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.