Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70459
Title: | นโยบายการส่งออกยุทโธปกรณ์ไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับการเสริมสร้างความมั่นคงของญี่ปุ่น |
Other Titles: | Japan’s policy of defense equipment export to Southeast Asia and its implication to Japan’s security |
Authors: | แพรวพฤกษ์ จิตสกุลชัยเดช |
Advisors: | ธีวินท์ สุพุทธิกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Teewin.S@chula.ac.th |
Subjects: | ความมั่นคงแห่งชาติ -- ญี่ปุ่น การควบคุมอาวุธ National security -- Japan Arms control |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การอนุมัติ "หลักสามประการว่าด้วยการถ่ายโอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ" ค.ศ. 2014 เกิดขึ้นสืบเนื่องจากการประกาศแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติโดยรัฐบาลอาเบะ เพื่อผ่อนปรนข้อจำกัดและขยายขอบเขตการส่งออกถ่ายโอนยุทโธปกรณ์ให้สอดรับกับนโยบายสันติภาพเชิงรุก และตอบสนองต่อสภาวการณ์ความมั่นคงปัจจุบัน สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อตอบคำถามว่า การปรับนโยบายการส่งออกยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศของญี่ปุ่นไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการอนุมัติหลักสามประการฯ ค.ศ. 2014 นั้นตอบสนองต่อเป้าหมายยุทธศาสตร์ความมั่นคงของญี่ปุ่นอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า การส่งออกยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นการผสมผสานทั้งการถ่ายโอนแบบให้เปล่าและการเสนอขายตามปกติ ควบคู่ไปกับการกระชับความสัมพันธ์ผ่านโครงการเสริมสร้างศักยภาพ และการแลกเปลี่ยนทางการทหารที่เกี่ยวเนื่องกับยุทโธปกรณ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นนัยยะในการเสริมสร้างความมั่นคงของญี่ปุ่นด้วยการดำเนินนโยบาย "การประกันความเสี่ยง" หรือ Hedging โดยใช้การส่งออกยุทโธปกรณ์เป็นช่องทางหนึ่งในการขยายบทบาททางทหาร และสร้างเครือข่ายหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศที่มีแนวคิดทางความมั่นคงร่วมกัน เพื่อเป้าหมายในการถ่วงดุลอิทธิพลจีนไม่ให้สั่นคลอนสภาวะที่เป็นอยู่ในภูมิภาค และเป็นการเพิ่มทางเลือกในการรับมือกับความไม่แน่นอนของพันธมิตรสหรัฐฯ-ญี่ปุ่น |
Other Abstract: | In 2014, the "Three Principles on Transfer of Defense Equipment and Technology" was adopted in accordance with the Abe Administration's National Security Strategy, significantly easing Japan's self-imposed restrictions on the overseas transfer of defense equipment in order to promote its policy of a proactive contribution to peace and set out clear principles which match the security environment. The aim of the study is to answer the question: "How Japan's policy of defense equipment export to Southeast Asia through the 2014 Three Principles serves its purpose vis-à-vis national security strategy?". The results showed that Japan's defense equipment export policy to Southeast Asia combines both donations and sales, also integrating with its defense capacity-building assistance program and other equipment-related military cooperation. It reflects Japan's "hedging strategy" which aims at counterbalancing Chinese influence to maintain the regional status quo as well as dealing with the uncertainties of the U.S.-Japan alliance, by enhancing military activities and building a network of strategic partnerships with like-minded Southeast Asian countries through the policy of defense equipment export. |
Description: | สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70459 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.202 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2019.202 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Pol - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6180993024.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.