Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71272
Title: | การใช้ประโยชน์พื้นที่โล่งในย่านพาณิชยกรรมของกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษาบริเวณถนนสาทร-สีลม-สุรวงศ์ |
Other Titles: | The utlization of urban open space in commercial district of Bangkok : a case study of Satorn-Silom-Surawongse area |
Authors: | สราวุธ ฉัตรเดชา |
Advisors: | ขวัญสรวง อติโพธิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Subjects: | พื้นที่โล่ง -- ไทย -- กรุงเทพฯ การพัฒนาเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ ภูมิสถาปัตยกรรม -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2543 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พื้นที่โล่งเป็นองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญต่อเมืองในหลายด้าน ภายใต้การพัฒนาที่เข้มข้นในย่านพาณิชยกรรม พื้นที่โล่งจึงเป็นทรัพยากรที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกเบียดบัง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงข่ายพื้นที่โล่งในย่านพาณิชยกรรมศึกษาบริเวณถนนสาทร-สีลม-สุรวงศ์อันเป็นเสมือนหัวใจของเมืองในปัจจุบัน มีประชากรและกิจกรรมที่หนาแน่นภายใต้อุปทานพื้นที่โล่งที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งนี้โดยมุ่งเน้นในการสืบค้นและการขยายความเข้าใจในประเด็นสภาพการใช้ประโยชน์ที่เกิดข้นึ ภายใต้สภาพทางกายภาพของโครงข่ายพื้นที่โล่งของย่านฯ โดยพื้นฐานแล้วการศึกษานี้เป็นการศึกษาในเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสำรวจและสังเกตการณ์ พร้อมทั้งการค้นคว้าในส่วนของวิวัฒนาการและสภาพทั่วไปของย่านฯในปัจจุบัน เพื่อนำมาเชื่อมโยงในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรพื้นที่โล่งดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่า ย่านฯมีวิวัฒนาการมากว่า 100 ปี โดยเปลี่ยนแปลงบริบทจากพื้นที่เกษตรกรรมสู่ย่านพักอาศัยชั้นดี จนกลายมาเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมระดับประเทศ ส่งผลให้ในปัจจุบันย่านฯมีความเข้มข้นและหลากหลายในทุกทางทั้งในด้านการใช้ที่ดิน กายภาพ ประชากร รวมทั้งลักษณะทางกายภาพของโครงข่ายพื้นที่โล่งด้วย แม้ในปัจจุบันย่านฯ จะมีสัดส่วนของพื้นที่โล่งในระดับสูง แต่นอกเหนือจากพื้นที่เขตทางแล้ว ส่วนใหญ่ก็เป็นพื้นที่โล่งที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ที่ดินพักอาศัยซึ่งถูกกั้นออกจากพื้นที่โดยรอบ โดยส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่โล่งที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ที่ดินพาณิชยกรรมก็มีขนาดเล็กและมีอยู่อย่างจำกัด โดยสรุปแล้ว โครงข่ายพื้นที่โล่งของย่านฯไม่สามารถเอื้อต่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ในการรองรับอุปสงค์ในระดับสูงและหลากหลายอันเกิดจากประชากรกลุ่มต่างๆ ภายในย่านฯ ทั้งนี้การใช้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมจำเป็น มีรูปแบบที่ไม่หลากหลาย จำกัดอยู่ในช่วงเวลากลางวันของวันทำงานและในพื้นที่ทางตอนเหนือของย่านฯเป็นสำคัญ สภาพการใช้ประโยชน์ดังกล่าว่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ โดยมีปัจจัยในด้านสภาพที่ตั้ง ความต่อเนื่องของพื้นที่ องค์ประกอบดึงดูดหลัก ขนาดพื้นที่ ร่มเงาและแสงสว่าง เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ในการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่โล่งของย่านฯในอนาคต ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้พิจารณาถึงการพัฒนาโครงข่ายกิจกรรมที่สมบูรณ์ทั้งในมิติของพื้นที่และเวลา มากกว่าที่จะมุ่งเน้นในการพัฒนาลักษณะทางกายภาพเพียงผิวเผิน ทั้งนี้โดยแบ่งออกเป็นการพัฒนาใน 3 ส่วน คือ การพัฒนาพื้นที่รองรับกิจกรรมหลัก พื้นที่รองรับกิจกรรมรองในรูปแบบของ "ห้องนั่งเล่น กลางแจ้ง'’ และระบบการเชื่อมโยงโครงข่ายที่ดี สัมพันธ์กับแหล่งป้อนประชากรหลักภายในย่านฯ ทั้งนี้การพัฒนาต้องอาศัยทั้งการดำเนินการพัฒนาของรัฐโดยตรง การแสวงหาความร่วมมือกับเอกชน ตลอดจนการชี้นำการพัฒนาของเอกชนด้วย |
Other Abstract: | Urban open space is a major part with great importance in a city. As a crucial resource, urban open space is now risking a decreasing trend under the aggressive development in the commercial district. This study concerns the urban open space network in Satom-Silom-Surawongse Commercial District, which is recently the heart of this city, with highly dense population and activity but limited supply of urban open space. The aim is to explore and explain the issue, relating the utilization of the existing physical structure of urban open space network in the district. Basically, this is a qualitative study, mainly through survey and observation methods. It also carries a research on the evolution and the general data of the district in the present time, as to lead to a more comprehensive analysis of such phenomenon, and finally, the more effective development of the urban open space resource. The results show that the district has undergoing a more-than-100-year evolution, under the changing context from agriculture land to a prime residential district and finally, the national business center. This causes the intensity and variety of the district in various ways, namely, land use, physical structure, population, as well as physical character of the urban open space network. Presently, the open space ratio of the district is quite high. However, besides from the right-of-ways, most supplies are in the residential-related land use grounds, with lowest connection with the adjacent areas. The other supplies are commercial-related, which appears to be small in size and limited m amount. In conclusion, the network cannot enable the utilization with favorably quality and efficiency, in order to support various and massive demand of the population. In the present, the utilization mainly occurs as necessary activities and with monotony appearance, limited in the daytime of the working days and in the northern part of the district. To direct the future development of the district urban space network, to develop a complete activity network, both in the time and space dimensions, shall be of the main concern, rather than to stress on the cursory development of the physical network done. The development includes three main parts, which are the development of the main activity spaces, the secondary activity spaces as “outdoor urban living rooms" ,and the good linkage system, with close relation to the main generators in the district. This requires the direct government development, joint investments with the private sector and regulations to direct private development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71272 |
ISBN: | 9741305958 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sarawoot_ch_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 918.27 kB | Adobe PDF | View/Open |
Sarawoot_ch_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sarawoot_ch_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sarawoot_ch_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 5.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sarawoot_ch_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 14.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sarawoot_ch_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 3.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Sarawoot_ch_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 784.76 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.