Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72063
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนทร บุญญาธิการ | - |
dc.contributor.author | อโณทัย ธนะเจริญกิจ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-02-03T05:13:26Z | - |
dc.date.available | 2021-02-03T05:13:26Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741313187 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72063 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en_US |
dc.description.abstract | ประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและมีสภาพภูมิอากาศส่วนใหญ่ตลอดทั้งปีอยู่นอกโซนสบาย การปรับสภาพแวดล้อมภายในของอาคารเพื่อทำให้มนุษย์รู้สึกสบายมากขึ้นสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของมนุษย์ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคืออุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโดยรอบ (MRT) หรืออุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ประการแรกคือเพื่อศึกษาค้นคว้าตัวแปรที่มีผลต่ออุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย ประการที่2 คือนำตัวแปรดังกล่าวมาศึกษาและวิเคราะห์ถึงผลที่มีต่ออุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย สุดท้ายนำผลจากการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1 คือ การศึกษาตัวแปรที่มี ผลต่ออุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยโดยการทดลอง ขั้นตอนที่2 คือการศึกษาอิทธิพลของตัวแปรในสภาพแวดล้อมจริงและขั้นตอนที่ 3 คือการวิเคราะห์ผลการวิจัย ในขั้นตอนการศึกษาตัวแปร ตัวแปรที่นำมาทดสอบคือ มวลสารของผนังทิศทางของผนัง การถ่ายเทอากาศของอาคารทดลอง อิทธิพลของรังสีดวงอาทิตย์ มุมเอียงของหลังคา และสัดส่วนของอาคาร ผลการวิเคราะห์ตัวแปรที่มีผลต่ออุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยจากการทดลอง โดยแยกเป็นช่วงเวลากลางวันและช่วงเวลากลางคืนพบว่า ในเวลากลางวัน เมื่อเปรียบเทียบมวลสารของผนัง ในช่วงที่อุณหภูมิอากาศสูงสุดอาคารที่มีผนังมวลสารมากมีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยตํ่ากว่าอาคารที่มีผนังมวลสารน้อยประมาณ 13 องศาเซลเซียส ในส่วนของทิศทางของผนังปรากฏว่าผนังทางทิศเหนือจะมีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยตํ่ากว่าผนังทิศทางอื่นๆ ในขณะที่การทดลองเรื่องอิทธิพลจากรังสีดวงอาทิตย์พบว่าผนังที่ไม่ได้รับรังสีดวงอาทิตย์โดยตรงมีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยลดลงประมาณ 6 องศาเซลเซียส ในกรณีที่มีการถ่ายเทอากาศ การถ่ายเทอากาศจะทำให้อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยลดลงในอาคารที่มีผนังมวลสารน้อยและมากขึ้นในอาคารที่มีผนังมวลสารมาก ผลจากมุมเอียงของหลังคา ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยจะลดลงเมื่อหลังคามีมุมเอียงมากขึ้น ในเรื่องอิทธิพลของความสูง ถ้าอาคารมีความสูงเพิ่มชื้นจะทำ ให้อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยลดลง ใน เวลากลางคืน เมื่อพิจารณามวลสารของผนัง อาคารที่มีผนังมวลสารน้อยมีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยตํ่ากว่าอาคารที่มีผนังมวลสารมาก ในเรื่องทิศทางของผนัง ปรากฏว่าในอาคารที่มีผนังมวลสารน้อยทิศทางจะไม่มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ย ในขณะที่การถ่ายเทอากาศจะทำให้อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยลดลงในอาคารที่มีผนังมวลสารมาก แต่ไม่มีอิทธิพลในอาคารที่มีผนังมวลสารน้อย จากการทดลองเรื่องมุมเอียงของหลังคา พบว่าหลังคามุมเอียงมากขึ้นจะสูญเสียความร้อนให้ท้องฟ้าได้น้อยลงและส่งผลให้มีอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยตํ่าลง ผลการวิจัยสรุปว่าในการลดอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยในอาคารที่ไม่มีการปรับอากาศสามารถทำได้โดย 1) การเพิ่มมวลสาร 2) การใช้หลังคามุมเอียงมาก 3) การใช้การถ่ายเทอากาศ 4) การลดอิทธิพลจากรังสีดวงอาทิตย์ 5) การใช้หลังคาที่มีเพดานสูง ผลสรุปจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการใช้งานและปรับสภาวะแวดล้อมภายในให้อยู่ใกล้โซนสบายมากที่สุด | en_US |
dc.description.abstractalternative | Thailand has a hot-humid climate. The climate is considered out of thermal comfort zone almost all year round. เท order to achieve an inside environment thermal comfort, the Mean Radiant Temperature (MRT) can be modified. The objectives of this research are, firstly, to find the factors that have influences on the MRT, secondly, to study and analyze the effects of these factors on the MRT and, finally, to use the research results as architectural design guidelines. The research is divided into 3 stages: first, studying the factors that have effects on the MRT by using simulated buildings, second, studying the influences of these factors in actual environments and third, analyzing the research results obtained for the study process. The variables used in the experimental process include the wall mass, wall direction, ventilation, influences of the sun radiation, roof angle and proportion of the building. Having analyzed the factors that have effects on the MRT from the simulated buildings. In daytime and nighttime condition are discussed separately. During the daytime, the results can concluded as follows. Considering the wall mass, when the ambient air temperature is higher, a high-massed wall can reduce the MRT by 13 ℃ when comparing with the low-massed condition. เท respect to the wall orientation, it is found that the wall on the north side has lower MRT than the others. While the wall, which exposed to diffuse radiation, can reduce the MRT by 6 ℃. In case of the ventilation impact, the ventilation can reduce the MRT in the low-massed building but increase the MRT in the high-massed building. When studying the roof angle, it revealed that if the roof angle is increased, the MRT will decrease. While considering the building height, it is found that the high building can reduce the MRT. During the nighttime, the wall with different in thermal mass, the low-massed building has lower MRT than the higher one, In the wall orientation study in low-massed building, the orientation has less effect on the MRT. While Ventilation reduce the MRT เท high-massed building but no effect on low-massed building. About roof angle, it is found the high roof angle will increase the MRT. In conclusion, this study revealed that in the building without air conditioning, the MRT can be reduced by 1) using the thermal mass 2) increasing the roof angle 3) providing the good ventilation 4) reducing the influences of direct radiation 5) increasing the ceilling height. The finding of this research can be used in architectural design in order to modify the interior environment and make it more appropriate for using the passive system. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อูณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโดยรอบ | en_US |
dc.subject | อุณหภูมิโลก | en_US |
dc.subject | สถาปัตยกรรมกับการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ | en_US |
dc.title | การศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโดยรอบกับโซนสบาย | en_US |
dc.title.alternative | A study of mean radiant temperature for thermal comfort | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีอาคาร | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anothai_th_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 965.3 kB | Adobe PDF | View/Open |
Anothai_th_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 712.33 kB | Adobe PDF | View/Open |
Anothai_th_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anothai_th_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anothai_th_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anothai_th_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 660.81 kB | Adobe PDF | View/Open |
Anothai_th_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 618.95 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.