Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73153
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์-
dc.contributor.authorเฉลิมชัย ภิรมย์รักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-04-22T02:36:28Z-
dc.date.available2021-04-22T02:36:28Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73153-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องการขึ้นลอยในการแสดงโขน เป็นการแสดงความสามารถในการต่อตัวขึ้นเหยียบบริเวณลำตัวของคู่ต่อสู้ และยกลำตัวให้ลอยขึ้นจากพื้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขึ้นลอยในการแสดงนาฏยศิลป์และเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ด้านการขึ้นลอยในการแสดงโขน โดยการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย การสัมภาษณ์ และทดลองออกแบบสร้างสรรค์เพื่อหารูปแบบใหม่ตามแนวความคิดและการเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นการวิจัยแบบพหุวิทยวิธีที่เน้นกระบวนการวิจัยทดลองผสมผสานนวัตกรรมการค้นคิดและแสดงผลลัพธ์ด้านคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การขึ้นลอยในการแสดงโขน เป็นกระบวนการที่สำคัญซึ่งผู้แสดง ตัวพระ ตัวยักษ์ ตัวลิง และตัวนาง ได้แสดงความสามารถในการต่อตัวและแสดงท่าทางด้านนาฏยศิลป์ไทย โดยผู้แสดงต้องมีความรู้ ทักษะและความชำนาญ ในการทรงตัว การถ่ายน้ำหนัก และการจัดวางโครงสร้างท่ารำตามรูปแบบนาฏยศิลป์ไทย ผู้ที่ทำการขึ้นลอยจะเป็นตัวละครที่สำคัญในบทบาทตัวละครที่ดีและเป็นผู้มีชัยชนะ ผู้วิจัยได้ทำการทดลองออกแบบสร้างสรรค์ องค์ความรู้ใหม่ด้านรูปแบบการขึ้นลอยในการแสดงโขนลักษณะอื่น ๆ โดยนำแนวคิดจากงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม นาฏกรรม วรรณกรรมและกีฬา ศึกษาจากวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์และการแสดงโขนในปัจจุบัน ที่จะสามารถนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบสร้างสรรค์การขึ้นลอยในการแสดงโขนและให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องเพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ชม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาที่มีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ไทย จำนวน 16 คน ทดลองสร้างสรรค์การขึ้นลอยแบบคู่ และการขึ้นลอยแบบกลุ่ม โดยใช้แนวทางหลักวิธีการขึ้นลอยแบบดั้งเดิมโดยออกแบบท่าทางและจัดรูปทรงใหม่จำนวน 8 แบบ วิธีการออกแบบเขียนภาพร่างแล้วนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างจากนั้นนำไปทดสอบการถ่ายเทน้ำหนักด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และนำเสนอให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย มีมติเห็นชอบการขึ้นลอยแบบคู่ 2 แบบ และการขึ้นลอยแบบกลุ่ม 2 แบบ ด้วยเหตุผลทางด้านขนบจารีต เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ อาวุธ บุคลิกของตัวละครและสุนทรียทางด้านนาฏยศิลป์ไทย การขึ้นลอยในการแสดงโขนถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ การทดลองหรือพัฒนาสร้างสรรค์จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้เกิดการยอมรับ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบูรณาการองค์ความรู้สาขานาฏยศิลป์ไทยเข้ากับศาสตร์สาขาอื่นๆ และเผยแพร่องค์ความรู้ในเชิงวิชาการ สามารถนำไปใช้ในการแสดงอันจะเป็นประโยชน์แก่วงการศิลปะและสาธารณชนในวงกว้าง เป็นการทดลองสร้างสรรค์และพัฒนารูปแบบนาฏยศิลป์ไทยในลักษณะอื่น ๆ ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeA thesis on “Acrobatic Performance in Khon” is a display of the performance capability by lifting ones’ body up using the other actor’s body as a platform. The objectives of this thesis are to study the Lifting-up posture in the acrobatic of “Khon” the Thai masked dance drama, and to create a new series of knowledge through the study of the literature review, interviews, and the analysis of the experimental design based on the traditional plays of the researcher’s experience in comply to an integrated research and display the results. The results indicate that acrobatic performances in Khon is an important process which allows the 4 leading roles which are male, female,monkeys, and ogre character to demonstrate their acting proficiency in Thai acting art. The actors must have knowledge, skills and strength in balance and shifting one’s body weight both during the upward and downward movements and maintaining the pose according to the form of traditional dances.The actors who perform acrobatic moves are usually takeing the role of important characters on the victorious side. The researcher has designed a new form of acrobatic performances in Khon by combining concepts from Thai painting arts, sculpture arts, dance moverments, literature arts and sports, as well as dissecting the traditional elevation style in Ramayana play with an aim to inspire an impressive enjoyment in the audiences. Sixteen students who are proficient in performing arts were selected as actors/actresses.Novel duet and group acrobatic styles were created based on the conventional style adapted with new poses 8 acrobatic styles.Body weight shifting were analyzed by scientific instruments.The designed styles were performed for experts in Thai dance arts for evaluation based on traditional norm,outfits,ornaments,weapons and the personality of the characters and Thai artistic appeal.The experts approved 2 duet acrobatic styles and 2 group acrobatic styles. However, all should be based within the frame of the traditional norm, artistic appeal as well as traditional style of the outfits, ornaments, weapons, personality of the characters. Acrobatic performances in Khon is considered an important identity. There are more creativity in dance forms towards new designs in the elevation styles created in the play.However, it is likely to take time to gain understanding and acceptance. To the performance.This research could integrate the knowledge in Thai Classical Dance with many relevant fields of studies.In addition, this study could be applied as a guiding methodology to create other new insights into Thai Classice dance and their developments in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.813-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโขน-
dc.subjectKhon (Dance drama)-
dc.subjectเครื่องแต่งกายโขน-
dc.titleการขึ้นลอยในการแสดงโขนen_US
dc.title.alternativeKhuen Loy in Khonen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.813-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fin_5986806035_Thesis_2018.pdf11.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.