Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73273
Title: โครงการวิจัยนำร่องการพัฒนาการดูแลการใช้ยาต่อเนื่องตามแนวทางผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Pilot project of development of patient-centered pharmaceutical care
Authors: พรรณทิพา ศักดิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: การใช้ยา
ผู้ป่วย -- การดูแล -- วิจัย
Drug utilization
Care of the sick
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นโครงการนำร่องของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยด้านการใช้ยาที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน 1) ประสบการณ์การใช้ยาของผู้ป่วย ได้แก่ ทัศนคติ ความเข้าใจในการใช้ยา ความคาดหวัง ความวิตกกังวล และความสะดวกหรือความร่วมมือในการใช้ยา และ 2) คุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาโดยใช้วิธีการประเมินคุณภาพชีวิตแบบรายบุคคลชนิดที่เรียกว่า Patient-Generated Index (PGI) โดยรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยให้การดูแลการใช้ยาที่คลินิกเฉพาะโรค MTM (Medication Therapy Management) ที่โอสถศาลา ซึ่งเป็นบริการใหม่ของร้านยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างเดือนกันยายน 2553-เมษายน 2554 โดยมีผู้เข้าร่วมการวิจัยทั้งหมด 25 คน ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้ คือ มีการใช้ยาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป เข้าใจภาษาไทยและสื่อสารได้ และยินยอมเข้าร่วมการวิจัย โดยวิธีการเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อผู้ป่วย 1 ราย และลักษณะของข้อมูลที่เก็บมีทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และคุณลักษณะของผู้ป่วยมีดังนี้ อายุเฉลี่ย 56.9±13.5 (ต่ำสุด-สูงสุด: 24-79) เป็นเพศหญิง 13 คน (52%) และผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง 21 คน (84%) ไขมันในเลือดสูง 13 คน (52%) และเบาหวาน 4 คน (16%) และจำนวนยาและวิตะมินที่ใช้เฉลี่ย 4.6±2.6 (ต่ำสุด-สูงสุด: 1-13) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ไม่ชอบการรับประทานยา แต่ต้องรับประทานยาด้วยความจำเป็น เหตุผลที่ต้องรับประทานยาเพราะมีอาการของโรคแล้วและอยากให้อาการดีขึ้นหรือหายไปหรือกลับมาเป็นปกติ และเหตุผลที่ไม่ชอบรับประทานยาเพราะกลัวแพ้ยา กลัวยาสะสมที่ตับไต เป็นต้น และมีผู้ป่วยประมาณครึ่งที่ชอบใช้ทางเลือกอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากยา เช่น การใช้สมุนไพรหรือวิตะมินหรืออาหารเสริมเป็นต้น สำหรับความเข้าใจในการใช้ยาผู้ป่วยส่วนใหญ่รทราบวิธีการใช้ยาและเหตุผลของการใช้ยา แต่ไม่ทราบชื่อยาเป้าหมายของการใช้ยา ผลข้างเคียงและความแรงของยา และสิ่งที่ผู้ป่วยคาดหวังจากการใช้ยา คือ ควบคุมอาการให้ดีขึ้นหรือหายขาดเพราะไม่อยากรับประทานยาไปตลอดชีวิต ไม่มีผลข้างเคียง และราคาของยามีความสมเหตุสมผล สำหรับความวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้ยามากที่สุด คือ ผลข้างเคียงของยา สำหรับปัญหาความร่วมมือในการใช้ยาที่ประเมินโดยแบบสอบถาม Morisky Medication Adherence Scale (MMAS) ที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ การลืมรับประทานยา 18 คน (72%) รองลงมาคือ การลดขนาดยาหรือหยุดยาเนื่องจากรู้สึกแย่เวลารับประทานยา 11 คน (44%) และแบ่งเป็นผู้ที่มีความร่วมมือในการใช้ยาระดับต่ำ (คะแนน MMAS<6) จำนวน 11 คน (44%) และระดับปานกลาง (6<คะแนน MMAS<8) จำนวน 13 คน (52%) และมีผู้ป่วยที่คะแนนความร่วมมือในการใช้ยาที่สูงคือได้คะแนน MMAS เต็ม 8 คะแนน จำนวน 1 คน (4%) สำหรับคุณภาพชีวิตด้านการใช้ยาพบว่า มิติที่ถูกเลือกว่าเป็นผลกระทบจากการใช้ยามากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การได้รับข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ใช้ ความวิตกกังวล/ความกลัว/ความเครียดเกี่ยวกับการใช้ยา ความมั่นคง/ปลอดภัยในชีวิต การพึ่งพิงการใช้ยา/กลัวติดยา ความเจ็บปวด/ความสบายทางร่างกาย ค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพชีวิตด้านยาของผู้ป่วยที่ประเมินโดยวิธี PGI เท่ากับ 0.57±0.24 (ต่ำสุด-สูงสุด: 0-0.83) โดยคะแนน 0.57 หมายถึงการใช้ยาทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงไป 43% จากภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจไป (คะแนนเต็ม 1) สรุปผลการวิจัย: โครงการวิจัยนำร่องการพัฒนาการดูแลการใช้ยาต่อเนื่องตามแนวทางผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางทำให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาที่มาจากมุมมองของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นอันจะนำไปสู่การวางแผนแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยรวมทั้งการพัฒนาขบวนการและเครื่องมือในการดูแลผู้ป่วยด้านการใช้ยาในอนาคต
Other Abstract: This study is a pilot project of development of patient-centered pharmaceutical care (PC). The objectives were to explore patients’ medication experiences including attitude, understanding, expectation, concern and convenience or medication adherence and to assess medication therapy-related quality of life (MRQOL) using an individualized approach: the Patient-Generated Index (PGI). The research design is a practice research which provided PC at the MTM (Medication Therapy management) clinic at the community pharmacy, Osotsala, at the Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University between September 2010 and April 2011. Twenty-five participants joined the study. Eligible criteria were taking a medication at least one month, age ≥ 20 years old, understanding Thai and able to communicate, and willing to participate in the study. The data collection method was interview each of which took about 1-2 hours. The data were both qualitative and quantitative data. For patient characteristics, average age was 56.9±13.5(range: 24-79); females were 52% (N=13). Most patients had hypertension (84%), hyperlipidemia (52%), and diabetes (16%). Average number of medications and vitamins was 4.6±2.6 (range: 1-13). Results: As for the patients’ attitude toward medication therapy, they did not like to take it but took it necessarily. The reasons of taking medications included wanting their symptoms to be improved or cured or back to normal. The reasons that they did not like to take medications were fear of drug allergy and drug accumulation in liver and kidney, etc. In addition, half of the sample liked to use alternative treatments such as herbs, vitamins and food products, etc. Regarding the understanding, most patients knew how to take medications and its uses but did not know medication names and strengths, goals of medication therapy, and side effects. What they expected from taking medications were improving or curing their symptoms, not wanting to take medication lifelong, without side effects, and reasonable drug prices. What they concerned most was medications’ side effects. The problems of medication adherence assessed by the Morisky Medication Adherence Scale (MMAS) were forgetting to take (72%), followed by reducing medication doses or stopping when feeling worse about taking it (44%). Based on the MMAS scores, it could be classified as low adherence (MMAS<6)(44%), moderate adherence (6<MMAS<8)(52%), and high adherence (MMAS=8)(4%). Regarding the MRQOL, the most selected 5 domains were getting medication information fear of medication side effects, security/safety in life, medication dependence, and pain/discomfort. The MRQOL index score determined by the PGI was 0.57±0.24(range: 0.00-0.83). This MRQOL score means that taking medications reduce their quality of life from perfect physical and mental health (score=1). In conclusion, this pilot project of development of patient-centered PC made health care providers understand more about medication therapy-related problems from patients’ perspectives. This will lead to develop a solution plan as well as process and tools in providing PC in the future.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73273
Type: Technical Report
Appears in Collections:Pharm - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phantipa Sa_b19314619.pdfรายงานการวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext)10.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.