Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74433
Title: คุณลักษณะที่สำคัญของรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน:  กรณีศึกษาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
Other Titles: Key attributes of a public private partnership: a case study of the mass rapid transit authority of Thailand
Authors: กุสุมา กุลัตถ์นาม
Advisors: สุธรรมา นิติเกษตรสุนทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Subjects: การร่วมลงทุน
สัญญาของรัฐ
Joint ventures
Public contracts
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะที่สำคัญ และทราบแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่สำคัญของรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ส่งผลต่อความคุ้มค่าของภาครัฐ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ในเชิงปริมาณรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม จำนวน 67 ชุด และเชิงคุณภาพใช้วิธีสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน โดยกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานฝ่ายปฏิบัติการ รฟม. ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะที่สำคัญของรูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ส่งผลต่อความคุ้มค่าของภาครัฐ ได้แก่ ด้านการลงทุนและด้านการออกแบบ และคุณลักษณะที่สำคัญของรูปแบบการร่วมลงทุนแบบ PPP Gross Cost ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ที่ส่งผลต่อความคุ้มค่าของภาครัฐ ได้แก่ ด้านการก่อสร้าง และความแตกต่างของคุณลักษณะที่สำคัญและความคุ้มค่าของภาครัฐภายใต้รูปแบบการให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้แก่ ด้านการลงทุน ด้านการออกแบบ และด้านการก่อสร้าง ข้อเสนอแนะด้านแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะที่สำคัญของรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้แก่ จัดทำแผนสำหรับการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารเพื่อหาแนวทางการเพิ่มรายได้ การผลักดันนโยบายการใช้ตั๋วโดยสารร่วม และการส่งเสริมแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (TOD) ให้เป็นรูปธรรม
Other Abstract: In this Independent study, the researcher studied and compared the key attributes of a public private partnership: A case study of the Mass Rapid Transit Authority of Thailand. Finally, the researcher proffers recommendations for the routes of all systems. The researcher adopted a mixed method research approach. In the quantitative phase of the investigation, data was collected from 67 members of a sample population from the Operations Department of the Mass Rapid Transit Authority of Thailand. In the qualitative phase of the inquiry, ten key informants were interviewed. Those interviewed represented academic technical specialists. Findings are as follows: The Blue Line uses the model of PPP Net Cost and at the highest level of investment worthiness, the state receives benefits in both investment and design. The Purple Line uses the model of PPP Gross Cost and at the highest level of investment worthiness, the state receives benefits in construction. The key attributes that demonstrate the differences between PPP Net Cost and PPP Gross Cost models fall under the rubrics of investment, design, and construction. Recommendations are as follows: Create a plan to increase the number of passengers and accelerate the implementation of a common ticketing system for the transit system in order to connect travel and transit oriented development.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74433
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.410
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.410
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6181043024.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.