Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74452
Title: | คุณภาพชีวิตในการทำงาน : กรณีศึกษา บุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง |
Other Titles: | Quality of work life : a case study of workers in Ranong provincial administrative organizations |
Authors: | นรินทร์ อบแพทย์ |
Advisors: | วันชัย มีชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Subjects: | คุณภาพชีวิตการทำงาน |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการในทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง จำนวนทั้งสิ้น 206 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ตามสัดส่วนของจำนวนประชากร โดย มีรายละเอียดการคำนวณขนาดตัวอย่าง โดยใช้วิธีการของ ยามาเน่ (Yamane, 1973) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติ Independent Sample T-test และ One Way-ANOVA และ Pearson Correlation ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรทั้ง 8 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านเรียงจากมากไปน้อยพบว่า ด้านสิทธิส่วนบุคคลและประชาธิปไตยในองค์การ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตการทำงานตัวแปรทุกตัวมีผลต่อคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้ Pearson Correlation ตัวแปรทุกตัวมีค่า Sig. (2-tailed) น้อยกว่า 0.05 ทุกตัว 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานตัวแปรทุกตัวมีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นคุณภาพชีวิตของการทำงานของบุคลากรในองค์การในปัจจุบันไม่ว่าจะอยู่ในสาขาอาชีพ ใดก็ตาม ยังอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลางเท่านั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่แต่ละองค์การ/หน่วยงาน ควรต้องหันมาให้ความสนใจว่าจะมีแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงาน และความมั่นคงในการทำงานได้อย่างไรบ้าง ซึ่งควรจะต้องพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับ สภาพการทำงาน ความเสี่ยง และความต้องการของบุคลากรในหน่วยงาน/องค์การนั้น |
Other Abstract: | The purposes of this study were to: 1) study the quality of working life of Ranong Provincial Administrative Organization personnel 2) study the relationship between personal factors and working life quality of Ranong Provincial Administrative Organization personnel 3) study the relationship between factors Job description and working life quality of personnel of Ranong Provincial Administrative Organization Sample group Including personnel under the Ranong Provincial Administrative Organization. The sample, obtained by sample random sampling, was comprised of 206 personnel. According to the proportion of the population with details of the sample size calculation Using Yamane's method (Yamane, 1973), data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. The relationship between the variables was tested by Independent Sample T-test and One Way-ANOVA and Pearson Correlation. The results of the study were as follow: 1) The level of quality of work life of all 8 aspects of personnel was at the average level. When considering each aspect in descending order, it was found that personal rights and democracy in the organization there is a high average. Opportunities for the development of personal abilities there is a high average. In terms of a safe working environment there is a high average. Progress and stability have a moderate mean, the nature of work that is beneficial to society have a moderate mean, social integration or collaboration have a moderate mean, the balance between work and personal life have a moderate mean, and the compensation that is sufficient and fair the mean was moderate. 2) The relationship between personal factors and quality of work life. All variables had statistically significant differences in quality of life at 0.05 level of relationship between personal factors using Pearson. Correlation of all variables had a Sig. (2-tailed) of less than 0.05 for all variables. 3) The relationship between work factor and work life quality of all variables had statistically significant differences in quality of work life at the level 0.05 Therefore, the quality of life of the personnel in the organization at present, regardless of their career field, is still at a low to moderate level. Which is a problem that each organization / department It should be noted that there are guidelines for the development and improvement of the quality of work life. And stability at work Which should be developed and improved in accordance with working conditions, risks and needs of personnel in that department / organization. |
Description: | สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74452 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.409 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2020.409 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Pol - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6181063624.pdf | 1.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.