Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74467
Title: ภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกรณีศึกษาสายงานการไฟฟ้า ภาค 3
Other Titles: Job burnout among employees of provincial electricity authority: a case study of electricity authority function region 3
Authors: พฤกษา พฤทธิสาริกร
Advisors: วันชัย มีชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Subjects: ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา)
ความเครียดในการทำงาน
Burn out (Psychology)
Job stress
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการของงาน ระดับทรัพยากรในงานและระดับภาวะหมดไฟในการทำงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความต้องการของงานและทรัพยากรในงานกับภาวะหมดไฟในการทำงานของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรณีศึกษาสายงานการไฟฟ้าภาค 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในสังกัดสายงานการไฟฟ้าภาค 3 จำนวน 1,010 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มตัวอย่าง (Independent t-test)  การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแปรปรวน (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation) ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความต้องการของงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีระดับทรัพยากรในงานโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดไฟในการทำงานต่ำ ซึ่งเมื่อพิจารณาภาวะหมดไฟในการทำงานเป็นรายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงที่เกิดภาวะหมดไฟในการทำงานต่ำ ทั้ง 3 ด้าน ; ด้านความรู้สึกอ่อนล้า ด้านการเมินเฉย และด้านการลดคุณค่าความสำเร็จในตนเอง 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ระดับตำแหน่ง 3) ความต้องการของงานโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะหมดไฟในการทำงาน 4) ทรัพยากรในงานโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะหมดไฟในการทำงาน
Other Abstract: This research aims to study the levels of following subjects: 1) job demands 2) job resources 3) job burnout and to study the relationship between job burnout of Provincial Electricity Authority employees and personal factors, job demands and job resources. The samples of the study were 1,010 people who were employees of Electricity Authority Function Region 3. The research tool was a questionnaire. The statistical data analysis were descriptive and inferential statistics using the Independent t-test, One-way ANOVA and the Pearson’s Correlation Coefficient. The results indicate that: 1) The sample group had a moderate level of overall job demands, a relatively high level of overall job resource and the risk of job burnout is low. . In this regard, when considering the job burnout in each aspect, it has shown that the sample group had low risk of job burnout in all three dimensions; exhaustion, cynicism, and reduced personal accomplishment. 2) The personal factors related to job burnout were age, duration of employment and position level. 3) Job demands (overall and each aspect) were positively correlated with job burnout. 4) Job resources (overall and each aspect) had a negative correlation with job burnout.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74467
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.443
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.443
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6181078024.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.