Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74480
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์-
dc.contributor.advisorสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์-
dc.contributor.authorสมทัศน์ อย่างสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-07-13T03:21:34Z-
dc.date.available2021-07-13T03:21:34Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74480-
dc.descriptionสารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการนํานโยบายไปปฏิบัติของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ในด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ผลการศึกษาวิจัยพบว่า นโยบายด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร มีการดำเนินงานในรูปแบบคณะกรรมการระดับแห่งชาติ โดยใช้แผนเตรียมความพร้อมเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Contingency plan) และแนวทางเวชปฏิบัติของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (Clinical practice guideline) ตามแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติ (Disaster Risk Management: DRM) นโยบายยังเน้นความร่วมมือและบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่การผลิตสุกร การนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จเกิดจาก 1) การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายจากระดับล่างขึ้นบน (Bottom up approach) 2) การปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด 3) การจัดกลุ่มพื้นที่ตามระดับความเสี่ยงของโรคเพื่อกำหนดมาตรการและจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม 4) โครงสร้างการทำงานแบบบูรณาการที่ยืดหยุ่น คล่องตัวรวดเร็ว และมีลักษณะเครือข่ายเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ 5) รูปแบบการสื่อสารนโยบายแบบเชิงรุก (Pro-active) และมีกลยุทธ์สร้างการตื่นรู้ในภาคประชาชน (Public awareness)  6) การสร้างรับรู้ของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติและการพัฒนาบุคลากรที่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ 7) การส่งเสริมผลักดันให้เกษตรกรปรับระบบการเลี้ยงสุกรให้มีระบบป้องกันโรค (Biosecurity) ขั้นพื้นฐาน ตามมาตรา 7 ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ในระบบป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good farming management: GFM) 8) การติดตามและประเมินผลนโยบายร่วมกันในหน่วยงาน และ 9) การทำงานเชิงรุกในพื้นที่เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรตลอดห่วงโซ่การผลิตสุกร-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to describe and identify significant factors of implementation of African Swine Fever (ASF) surveillance and preventive policy in Surin provincial livestock office. This is a qualitative research based on document analysis and in-depth interview of 18 key informants who involved in African Swine Fever surveillance and preventive policy. It shows which surveillance and preventive African Swine Fever policy is operating in the form of a national committee, by using “Contingency plan of surveillance preventive and control African Swine Fever and Clinical practice guideline (CPG)” based on Disaster risk management (DRM). In addition, this policy values of the participation and integration between government sector and stakeholders in the pig production chain. The result also suggests, the key factors due to the successful policy implementation are followed: 1) participation by using bottom-up approach in the policy formulation process, 2) strict implementation of surveillance and preventive measures, 3) classification of areas by disease risk level to determine the feasible measures and allocate appropriate resources, 4) organizing the flexible and fast operating structure and also cooperating all sectors to create a strong network for disease surveillance in the area, 5) communication should be designed as pro-active policy and urging public awareness to the communities, 6) generating leader’s perception for the policy implementation and human resource development (HRD) should be also continuous and consistent, 7) promoting and encouraging farmers to adjust the pig farming system by having a disease prevention system (biosecurity) according to section 7 of the Animal Epidemic Act, B.E. 2558, especially the system for prevention disease in farming (Good farming management: GFM), 8) policy monitoring and evaluation of the organization are firmly requested and 9) active working on surveillance and prevention of African Swine Fever (ASF) throughout the pig production chain is necessary though.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.363-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectอหิวาต์แอฟริกาสุกร -- การป้องกัน-
dc.subjectSurin provincial livestock office-
dc.subjectAfrican swine fever -- Prevention-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการนำนโยบายด้านการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไปปฏิบัติกรณีศึกษาสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ -
dc.title.alternativeThe implementation of African swine fever surveillance and preventive policy: a case study of Surin provincial livestock office-
dc.typeIndependent Study-
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.363-
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6181094024.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.