Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74486
Title: | ความพึงพอใจของพนักงานภายในองค์การต่อนโยบายขององค์การสายการบินในช่วงประสบปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีศึกษา บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด |
Other Titles: | Employee Satisfaction towards Organization Policy during Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Pandemic: A Case Study of Thai Smile Airways Company Limited |
Authors: | อุไรพรรณ สถานานนท์ |
Advisors: | สุธรรมา นิติเกษตรสุนทร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Subjects: | พนักงานสายการบิน -- ความพอใจในการทำงาน อุตสาหกรรมการบิน Airlines -- Employees|xJob satisfaction Aerospace industries |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษานโยบายขององค์การในช่วงประสบปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทราบถึงความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อนโยบายขององค์การในช่วงประสบปัญหาโควิด-19 และศึกษาแนวทางการพัฒนานโยบายขององค์การสายการบิน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานภายใน บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด จำนวน 300 คน ผลการวิจัยพบว่า พนักงานมีความพึงพอใจต่อนโยบายขององค์การในช่วงประสบปัญหาโควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าด้านลักษณะงาน มีความพึงพอใจต่อการมีโอกาสร่วมแสดงความคิดเพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานในช่วงประสบปัญหาโควิด-19 ด้านนโยบาย มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานตามนโยบายที่ได้กำหนดไว้ของผู้บังคับบัญชาอยู่ในระดับมาก แต่ความพึงพอใจต่อนโยบายการลดค่าตอบแทน/ค่าเบี้ยขยันรายเดือนอยู่ในระดับน้อย ด้านค่าจ้างและสวัสดิการ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสภาพแวดล้อม มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในการจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน การใช้เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัยและถุงมือ กับการจัดสภาพแวดล้อมของหน่วยงานที่เอื้อต่อการทํางาน การส่งเสริมอาชีวอนามัยสุขภาพและความปลอดภัย อาทิ การเช็ดทำความสะอาดจุดสัมผัส การอบฆ่าเชื้อห้องโดยสาร ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน มีความพึงพอใจต่อความมั่นคงในหน้าที่การงานอยู่ในระดับมาก รวมถึงความพึงพอใจที่มีต่อการสนับสนุนให้บุคลากรได้นำความรู้มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพงานที่รับผิดชอบ การทำกิจกรรมกลุ่มประจำสัปดาห์ การใช้ทักษะในการทำงานใหม่ๆอยู่เสมอ และด้านพฤติกรรมในการทำงาน มีความพึงพอใจทุกข้ออยู่ในระดับมาก |
Other Abstract: | The objectives of this paper are studies the organizational policy during Coronavirus Disease 2019 pandemic, know the satisfaction of employees with their policy during the infectious disease (COVID-19) problem and study the guidelines for policy development of the organization. The data was collected from 300 Thai Smile Airways internal employees by the questionnaires. The research results were found that the employees were satisfied with the organization policy during the COVID-19 pandemic in overall at a high level. It was found that Job description were satisfied with the opportunity to share ideas to solve problems in the operation during the COVID-19 problem. Policy was satisfied with the management of the policy set by the supervisors at a high level. But satisfaction with the policy of reducing compensation / monthly allowance is low. Wages and benefits overall satisfaction at the moderate level. Environment Overall satisfaction at the highest level. In the allocation of facilities and equipment for operation daily uses of alcohol gel, masks and gloves. Organizational environment is conducive to work with promoting occupational health and safety, such as cleaning contact points, sterilization of the cabin stability and career advancement. At the last, the behavior of staff at work is a high level in every item of satisfaction. |
Description: | สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74486 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.404 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2020.404 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Pol - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6181100124.pdf | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.