Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76135
Title: | การปลูกผักไฮโดรโพรนิคโดยใช้พลังงานทดแทนเสริมบนดาดฟ้า |
Other Titles: | Hydroponic vegetables using alternative energy on rooftop |
Authors: | ประกาย คำภูศิริ |
Advisors: | วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Subjects: | การปลูกพืชในน้ำยา การทำสวนบนหลังคา พลังงานแสงอาทิตย์ในเกษตรกรรม Hydroponics Roof gardening Solar energy in agriculture |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเทคโนโลยีและระบบการปลูกผักไร้สารพิษที่ใช้พลังงานทดแทน 2) เพื่อศึกษาการออกแบบพื้นที่สำหรับปลูกผักไร้สารพิษให้เหมาะสมกับพื้นที่ในอาคารพาณิชย์หรือทาวน์เฮาส์ และ 3) เพื่อศึกษาผลที่ได้จากการปลูกผักไร้สารพิษทั้งจากแปลงที่ใช้พลังงานทดแทนจากแผงโซล่าเซลล์ และแปลงที่ไม่ใช้พลังงานทดแทนจากแผงโซล่าเซลล์ หน่วยวิเคราะห์ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ต้นผักกรีนโอ้ค จำนวน 60 ต้น แบ่งเป็น 2 แปลง คือ แปลงที่ใช้แผงโซล่าเซลล์ และแปลงที่ไม่ใช้แผงโซล่าเซลล์ แปลงละ 30 ต้น แปลงผักตั้งอยู่บนอาคารพาณิชย์ ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยเก็บผลการปลูกเป็นเวลา 45 วัน โดยเก็บสภาพภูมิอากาศทั่วไป ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณแสงแดด และความเร็วลม พบว่า สภาพภูมิอากาศทั่วไปของแปลงทั้งสองแตกต่างกัน จึงนำมาเป็นตัวแปรร่วม (covariate variable) ในการวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบพหุ (MANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า แปลงผักถูกออกแบบให้สามารถตั้งอยู่บนพื้นที่จำกัดเช่นกัน คือ บ้านพักอาศัยและสถานที่ทำงานบนอาคารพาณิชย์ แปลงผักทั้งสองแปลงถูกออกแบบให้มีปัจจัยในการเจริญเติบโตของพืชครบถ้วน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ อากาศ น้ำ ธาตุอาหาร และที่ค้ำจุนลำต้น นอกจากนี้ แปลงผักทั้งสองยังถูกออกแบบให้เป็นการปลูกพืชในน้ำแบบน้ำไหล โดยใช้ท่อพลาสติกให้เป็นรางน้ำอยู่ด้านบน และมีถังพักน้ำ ซึ่งมีปั้มน้ำอยู่ด้านในถังน้ำเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของน้ำ แปลงทั้งสองแตกต่างกันเพียงแปลงที่ 1 ได้เชื่อมต่อแผงโซล่าเซลล์ ส่วนแปลงที่ 2 ใช้พลังงานไฟฟ้าจากอาคารตามปกติ นอกจากนี้ แปลงผักทั้งสองยังถูกออกแบบให้มีความสวยงามเพื่อเป็นพื้นที่สีเขียวสำหรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจได้อีกด้วย ผลที่ได้จากการปลูกผักพบว่า การใช้แผงโซล่าเซลล์ของแปลงที่ 1 มีระยะเวลาคืนทุน 9 เดือน แปลงที่ 1 ได้ผลผลิต 3.2 กิโลกรัม ใช้เวลาในการปลูกและพลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าแปลงที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และแปลงที่ 2 ได้ผลผลิต 2.7 กิโลกรัม ส่วนปริมาณปุ๋ยและปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชไม่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | The study aimed to 1) investigate the use of alternative energy technology in a toxic-free vegetable hydroponic system 2) to explore designing a space suitable for growing toxic-free vegetables in a shophouse or a townhouse and 3) to examine the results of growing green oak lettuce between the hydroponic system powered by solar cells and the system without the use of alternative energy. The unit of analysis in the study was a total number of 60 green oak lettuce plants. Two hydroponic systems were used: the one powered by solar cells and the other one without the use of solar cells. Each system grew 30 plants. The systems were set up in shophouse located in Sriracha District in Chonburi. The researcher harvested the lettuce after growing the plants for 45 days. By collected data concerning general environmental conditions such as temperature, relative humidity, sunlight exposure and wind speed, it was found out that general climate conditions of the two hydroponic systems differed. The differences were used as covariate variables for data analysis. Statistics for data analysis included content analysis and MANCOVA. The results found that the hydroponic systems were designed to locate in a confined space such as a house or a shophouse. Both of the systems in the study were designed to provide all of the 4 necessities for growing vegetables: air, water, nutrients and the stem supports. Moreover, both systems were designed to grow vegetables using a water circulation in plastic pipe trays on top of a water tank with a water pump inside to generate a water circulation. The only difference was that the first system was powered by solar cells and the second system was powered by electricity of the building. Additionally, both of the systems were beautifully designed to be a green area for resting and pleasure. The results of the produce showed that using solar cells payback in 9 months. the first system yields 3.2 kg. and took less time and energy than the second system with statistically significant difference. The second system yields 2.7 kg. As for the amount of nutrient usage and pesticide, no difference was found. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76135 |
URI: | http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1215 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1215 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6073351025.pdf | 5.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.