Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76170
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์-
dc.contributor.authorปรัชกร วันทา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:17:18Z-
dc.date.available2021-09-21T06:17:18Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76170-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractธุรกิจโรงแรมมีความสำคัญอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ โรงแรมในอุตสาหกรรมไมซ์ ที่นำแนวคิดท้องถิ่นนิยมมาใช้ ไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวแต่ยังเป็นการพัฒนาชุมชนไปด้วย ในจังหวัดเชียงใหม่มีโรงแรมอุตสาหกรรมไมซ์ขนาดใหญ่ที่นำแนวคิดท้องถิ่นนิยมมาใช้มี 4 แห่ง โดยโรงแรม ฮอริซัน วิลเลจ ได้รับการรับรองมาตรฐานสถานที่จัดงานในประเทศไทย (TMVS) จึงเป็นกรณีศึกษาด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจมาก โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา แนวคิด กระบวนการการพัฒนา และผลที่ได้รับ เพื่อวิเคราะห์ข้อดีและข้อจำกัดในการพัฒนาโรงแรมในอุตสาหกรรมไมซ์ ที่นำแนวคิดท้องถิ่นนิยมมาใช้ เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะ โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร การสำรวจ สังเกต และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และผู้ชำนาญการ ผลจากการศึกษาพบว่า การนำแนวคิดท้องถิ่นนิยมมาใช้กับอุตสาหกรรมไมซ์ของโรงแรม ฮอริซัน วิลเลจ รีสอร์ต ที่มีการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2549-2562 รวมทั้งหมด 13 ปี การพัฒนาตามกระบวนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีการพัฒนาทั้งหมด 6 ครั้ง และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทั้งหมด 4 ช่วง คือ 1) ก่อนการพัฒนาโครงการ (พ.ศ.2522-2549) ผู้ประกอบการใช้เวลาสะสมที่ดินตลอดเวลา 15 ปี เพื่อพัฒนาการเกษตร จนในปีพ.ศ.2546 ผู้ประกอบการได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์ทรงมีรับสั่งแนะนำแนวทางที่มีประโยชน์ในการพัฒนาหลายประการ ประกอบกับผู้ประกอบการมีความประสงค์ที่จะตอบแทนคุณแผ่นดิน จึงเป็นที่มาและแรงบันดาลใจสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาโครงการ 2) ช่วงก่อตั้งโครงการ (พ.ศ. 2549-2552) เป็นช่วงที่วางรากฐานแนวความคิดและกำหนดทิศทางในการพัฒนาโรงแรมในอุตสาหกรรมไมซ์โดยเริ่มนำแนวคิดท้องถิ่นนิยมมาใช้ 3) ช่วงการเติบโตของการท่องเที่ยว (พ.ศ. 2556-2557)  นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนเข้ามาจำนวนมาก ผู้ประกอบการตัดสินใจลงทุนพัฒนาโรงแรมเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ มีห้องประชุมรองรับได้ตั้งแต่ 20-800 คน ส่งผลให้โรงแรมได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดงานระดับสากล (TMVS) และต่อยอดการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น 4) ช่วงพัฒนาการบริหารภายในองค์กร (พ.ศ. 2560-2562) ทายาทของผู้ประกอบการ จบการศึกษาด้านการโรงแรม และกลับมาบริงานอย่างเต็มตัว และพัฒนาต่อยอดแนวความคิดท้องถิ่นนิยมด้วยการตลาดสมัยใหม่ แนวคิด และ เทคโนโลยี โดยนำเสนอความเป็นท้องถิ่นสู่ไมซ์ในระดับสากล ด้วยการร่วมมือกับภาครัฐฯ และเอกชน รวมถึงชุมชนโดยรอบ ผลจากการดำเนินงาน ฮอริซัน วิลเลจ พัฒนาโดยการปลูกฝัง และบ่มเพาะแนวความคิด ควบคู่ไปกับการดำเนินงานโดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และปัจจัยส่งเสริมในการตัดสินใจลงทุนที่เหมาะสม นำไปสู่การค้นหาตัวตนเพื่อสร้างจุดขายในความเป็นท้องถิ่น และนำเสนอสู่ความเป็นสากล โดยเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มคุณค่าให้กับโรงแรม ซึ่งกรณีศึกษาได้มีการนำแนวคิดยุทธศาสตร์เชิงท้องถิ่นมาใช้ครบทั้ง 7 ประการ แม้ผลตอบแทนทางด้านการเงินจะไม่ได้สูงมากนัก แต่โรงแรมสามารถเลี้ยงตนเอง พนักงานและครอบครัว อีกทั้งยังสามารถไปช่วยเหลือชุมชนตามกำลังของตนเอง รวมถึงการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาโรงแรมในอุตสาหกรรมไมซ์ ไปพร้อมกับชุมชนท้องถิ่น-
dc.description.abstractalternativeThe hotel business is especially important for the travel industry in Chiang Mai province. Hotels in the MICE industry, which adopt the concept of localization, do not only generate income for the travel industry, but they also develop the community simultaneously. In Chiang Mai, there are four large-sized hotels in the MICE industry which adopt the concept of localization. Horizon Village Hotel was certified by Thailand MICE Venue Standard (TMVS). The hotel was, therefore, an interesting case study for real estate development. The objectives were to study its concept, developmental process, and outcomes. These were used to analyze advantages and limitations of development of hotels, which adopted the concept of localization in the MICE industry for future suggestions. The study was conducted using documentation, survey, observation, and interviews with entrepreneurs and experts. The results showed that the concept of localization was applied by the MICE industry to Horizon Village Resort, which was operational from 2006-2019, or 13 years altogether. There were six stages of development using the real estate development process with four major phase changes as follows. 1) During the pre-developmental phase (1979-2006), the entrepreneur accumulated the land for 15 years consecutively for agricultural development. In 2003, the entrepreneur invited Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Her recommendations for development guidelines, which were beneficial, together with the entrepreneur’s willingness to give thanks to the country, laid the groundwork and inspired the project’s development. 2) The project establishment phase (2006-2009) was the period of laying down the concept foundation and establishing the directions to develop hotels in the MICE industry using the concept of localization. 3) During the tourism’s phase of expansion (2013-2014), international travelers, especially Chinese travelers, entered the country. The entrepreneurs, therefore, invested in expanding their hotels to large sizes with conference rooms which could hold 20-800 people. These allowed the hotels to be certified with TMVS and further developed local workforces. 4) For the internal organizational management development phase (2017-2019), the successors of the entrepreneurs, who graduated with hospitality management degrees, returned to manage and develop the concept of localization through modern marketing concepts and technology by presenting the concepts to international MICE by cooperating with the public and private sectors, including local communities. The operational results showed that Horizon Village was developed by instilling and fostering the concept of localization and by operating with knowledge, experience and factors promoting appropriate investment decisions. These led to identity searching for localization selling points and international presentation while lowering costs and adding values to the hotel. Although the financial return was not significant, the hotel was self-sufficient, and supported staff, families, and helped communities within its ability. Incorporating community participation in a range of events was also a key component for the development of hotels in the MICE industry along with the local community.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.578-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectอุตสาหกรรมโรงแรม -- ไทย -- เชียงใหม่-
dc.subjectการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ -- ไทย -- เชียงใหม่-
dc.subjectHotel industry -- Thailand -- Chiang Mai-
dc.subjectReal estate development -- Thailand -- Chiang Mai-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleการพัฒนาที่พักประเภทโรงแรมในอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ภายใต้แนวคิดท้องถิ่นนิยม (Localization): กรณีศึกษา ฮอริซัน วิลเลจ รีสอร์ต จังหวัดเชียงใหม่-
dc.title.alternativeThe development of a mice industry hotel with the concept of localization: a case study of Horizon village and resort, Chiang Mai-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.578-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270018325.pdf10.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.