Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76186
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุวดี ศิริ-
dc.contributor.authorสุปรีดิ์ เปียถนอม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:17:31Z-
dc.date.available2021-09-21T06:17:31Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76186-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการศึกษารูปแบบที่พักอาศัยชั่วคราวที่ทางบริษัทรับเหมาก่อสร้างจัดหาให้กับพนักงาน และแรงงานก่อสร้างนั้น ส่วนใหญ่บริษัทรับเหมาก่อสร้างรับหน้าที่ในการจัดเตรียมที่พักให้เป็นแหล่งพักอาศัย บริษัทมักเลือกพื้นที่ใกล้กับหน่วยงานก่อสร้าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน และเป็นสวัสดิการให้กับแรงงานในหน่วยก่อสร้าง โดยในปัจจุบันบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาที่พักอาศัยชั่วคราวสร้างใหม่เป็นรูปแบบที่ใช้วัสดุสำเร็จรูปแบบถอดประกอบในการก่อสร้างทั้งหมดโดยจัดที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับพนักงานประจำ คนงานก่อสร้าง และผู้รับเหมาช่วงคือ วิศวกร พนักงาน โฟร์แมน คนงานก่อสร้างของบริษัท และคนงานก่อสร้างของผู้รับเหมาช่วง เพื่อคุ้มทุนในระยะยาว และสะดวกในการเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ก่อสร้างอื่น แต่อย่างไรก็ดีจากการศึกษาเบื้องต้นการนำรูปแบบสำเร็จรูปแบบถอดประกอบเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำนั้นไม่ได้มากเท่าที่ควร โดยพบว่าผู้พักอาศัยมักต่อเติมดัดแปลงพื้นที่พักอาศัยบริเวณของตนเอง ซึ่งการพักอาศัยจะอยู่เป็นเวลา 1-2 ปีขึ้นไปย่อมต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องต่อวิถีการดำเนินชีวิต ส่งผลให้ที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปเกิดการเสียหายขึ้นจากการต่อเติมดัดแปลงดังกล่าว งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบทางกายภาพ และวิเคราะห์ปัญหาการนำที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบมาใช้สำหรับเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว โดยการรวบรวมข้อมูลด้านกายภาพของที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูป ให้ทราบถึงรูปแบบการพักอาศัย ปัญหาในการพักอาศัย และสาเหตุในการดัดแปลงที่พักอาศัย ซึ่งมีวิธีการวิจัยคือศึกษาที่พักอาศัยชั่วคราวเชิงลึก 1 พื้นที่โดยการสำรวจสภาพกายภาพ จำนวน 147 ห้องพัก และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้พักอาศัยในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 ห้องพัก กลุ่มตัวอย่างละ 5 ห้องพัก ครอบคลุมตั้งแต่ระดับหัวหน้างานถึงคนงานก่อสร้าง ประกอบไปด้วยผู้พักอาศัยระดับวิศวกร พนักงาน โฟร์แมน คนงานก่อสร้างชาวไทยของบริษัท คนงานก่อสร้างชาวเมียนมาของบริษัท คนงานก่อสร้างชาวไทยของผู้รับเหมาช่วง และคนงานก่อสร้างชาวกัมพูชาของผู้รับเหมาช่วง หลังจากนั้นจึงนำผลสรุปมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอแนวทางการจัดการปัญหา และการต่อเติมที่พักอาศัยให้เพียงพอต่อผู้พักอาศัย ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่ลักษณะการใช้งานของผู้พักอาศัยจะกระทบต่อที่พักอาศัยชั่วคราวในระยะยาวกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่อื่นโดยวิธี เจาะ ยึด เชื่อมเข้ากับแผ่นสำเร็จรูปหรือโครงสร้างของที่พักอาศัยสำเร็จรูปคิดเป็นร้อยละ 74 คือ การต่อเติมดัดแปลงกันสาด ราวตากผ้า ทำFlashingกันน้ำบริเวณรอยต่อแผ่นผนังภายนอก การปิดช่องแสงบริเวณหน้าต่าง การติดตั้งชั้นวางของภายในห้องพักเข้ากับแผ่นผนังและติดตั้งวัสดุกั้นห้องบริเวณเหนือแผ่นผนังภายในแต่ละห้องพัก ซึ่งสาเหตุในการดัดแปลงที่พักอาศัยคือ 1.เพื่อเพิ่มพื้นที่พักอาศัยทั้งภายใน และภายนอกห้องพักคิดเป็นร้อยละ 50 2.เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพกายภาพเดิมซึ่งเกิดจากธรรมชาติคือแดด ฝน และแก้ปัญหาจากพฤติกรรมการใช้งานพื้นที่ไม่สอดคล้องต่อความต้องการของผู้พักอาศัยคิดเป็นร้อยละ 50 เมื่อศึกษาปัญหาทางกายภาพ และสังคมพบว่าการแก้ปัญหาของผู้พักอาศัยเกิดขึ้นจากความจำเป็น ที่ต้องดัดแปลงแก้ไขกายภาพ เพื่อให้ความเป็นอยู่ของผู้พักอาศัยเองดีขึ้น ซึ่งเกิดจากการใช้งาน และความต้องการของผู้พักอาศัย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้งานในระยาวของที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปให้เกิดความเสียหายก่อนจะถึงจุดคุ้มทุนตามที่ผู้ประกอบการวางแผนไว้ จากการสรุปผลด้วยลักษณะการใช้งาน รูปแบบ ปัญหา และสาเหตุในการดัดแปลงพื้นที่มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้นผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างที่ต้องการนำที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปมาใช้งานเพื่อความสะดวก รวดเร็วในการก่อสร้าง และคุ้มทุนในระยะยาวควรคำนึงถึงพฤติกรรมการใช้งานรวมทั้งความต้องการของผู้พักอาศัย และในหน่วยงานก่อสร้างจะมีวัสดุเหลือใช้ หรือ วัสดุเสียหายจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างหลักได้ ผู้ประกอบการสามารถนำวัสดุดังกล่าวมาประยุกต์ใช้สำหรับที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาที่พักอาศัยชั่วคราว และเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานภาครัฐในการออกระเบียบ ข้อบังคับในการพักอาศัยชั่วคราว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงาน และแรงงานก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้ทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ และส่งผลทางอ้อมในการยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างต่อไป-
dc.description.abstractalternativeIn general, construction companies are responsible for the provision of temporary housing for construction workers. Companies usually select housing areas near construction sites in order to facilitate their employees and provide welfare benefits for them. Nowadays Italian-Thai Development Public Company Limited has developed prefabricated knockdown temporary housing and used it for full-time employees, construction workers, and subcontractors including engineers, staff, foremen, the company’s construction workers, and the subcontractor’s construction workers to reduce expenses in the long run and to relocate easily. Nonetheless, according to the preliminary study, it has been found that temporary housing is not fully or effectively used. Moreover, many workers also remodel their places. As the length of general temporary stay is over 1-2 years, it is common for them to remodel their places according to their lifestyle and work environment. This causes damage to temporary housing.This research aims to study the physical changes of temporary housing in order to understand the types of accommodation, related problems, and reasons for remodelling. The research methodology is to thoroughly study one particular temporary housing area by surveying physical changes of 147 units and collecting data by interviewing sampling residents of 35 units. Each sample group consisted of five units covering supervisors and construction workers. The sampling residents included engineers, staff, foremen, the company’s Thai construction workers, the company’s Burmese construction workers, the subcontractor’s Thai construction workers, and the subcontractor’s Cambodian construction workers. Data were analysed in order to propose solutions.The results show that physical changes that affected temporary housing when moved to new locations, accounting for 74%, included expanding awning, clotheslines, roof flashing, and skylight covers, installing shelves on the walls, and adding partitions in each room. The reasons for remodelling included 1) to expand internal and external room space (50%) and 2) to solve issues related to physical surroundings, such as sunlight and rainfall, and the use of areas in temporary housing that is not suitable for the residents’ needs (50%). When examining physical and social problems, it was found that the ways that the residents dealt with those issues caused by the need to modify and remodel the temporary housing in order to improve their living conditions. This caused damage to temporary housing before the break-even point was reached. Based on the conclusion concerning the use of temporary housing, patterns, problems, and reasons for modifications which were different among each sample group, construction companies that need to efficiently use temporary housing for the long-term benefits should take residents’ needs and lifestyles as well as the ways they use their temporary housing into consideration. This research is beneficial to both business and enterprise. The findings can be used for developing temporary housing. Additionally, governmental organisations can also use this research as a guideline to impose the rules and regulations regarding temporary housing to increase the quality of life of construction workers. This can contribute to an increase in work efficiency and an upgrade to the construction industry.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.586-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectคนงานก่อสร้าง -- ที่อยู่อาศัย-
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- การออกแบบและการสร้าง-
dc.subjectConstruction workers -- Dwellings-
dc.subjectDwellings -- Design and construction-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleรูปแบบทางกายภาพที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบสำหรับพนักงานหน่วยงานก่อสร้าง และคนงานก่อสร้าง : กรณีศึกษาที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)-
dc.title.alternativeThe physical format of prefabricated knockdown temporary housing for staff in construction sites and construction workers : a case study of Italian Thai development public company limited-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.586-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6272022125.pdf25.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.