Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76437
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วงอร พัวพันสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.author | ธนภูมิ เครื่องทิพย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-09-21T06:35:55Z | - |
dc.date.available | 2021-09-21T06:35:55Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76437 | - |
dc.description | สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | - |
dc.description.abstract | งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่า ผู้ผลิตและผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทต่าง ๆ มีความเชื่อมั่นในเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุใด และการพัฒนาเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีคุณภาพสูงขึ้นและแข่งขันได้มากขึ้นหรือไม่ อย่างไร โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานในฐานะเครื่องมือเชิงนโยบายของภาครัฐ และแนวคิดเกี่ยวกับการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และความสามารถในการแข่งขันในตลาดมาเป็นแนวทางการทำวิจัย งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ ข้อค้นพบของงานวิจัยชิ้นนี้คือ การได้มาซึ่งเครื่องหมาย มผช. เป็นประโยชน์ต่อการสร้างแบรนด์และกิจกรรมทางการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ต้องอาศัยหน้าร้าน ผู้ผลิตรายใหญ่ที่อยู่ในตลาดมานานแล้วมีแนวโน้มจะได้รับประโยชน์จากการขอ มผช. มากกว่าผู้ผลิตหน้าใหม่หรือผู้ผลิตรายเล็ก ในส่วนของผู้บริโภค แม้ว่าเครื่องหมาย มผช.จะไม่เป็นที่รู้จักหรือสนใจมากนัก เพราะผู้บริโภคสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนมักเลือกซื้อสินค้าจากความประทับใจในอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุมชนมากกว่าการดูเครื่องหมาย แต่ผู้บริโภคสินค้าบางชนิด เช่น ผ้าไหม เห็นว่าเครื่องหมาย มผช. จะช่วยให้ตัวเองเลือกซื้อสินค้าได้ดีขึ้น ในส่วนของกระบวนการขอมาตรฐาน พบว่า ผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองเครื่องหมาย มผช. พึงพอใจกับการให้บริการของภาครัฐในกระบวนการรับรองค่อนข้างมาก ซึ่งความพึงพอใจนี้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในเครื่องหมาย มผช. ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะคือ สมอ. ควรปรับระยะเวลาการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้สั้นลงเพื่อให้ทันต่อความต้องการของผู้ผลิตชุมชน เนื่องจาก เครื่องหมาย มผช.ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันและช่องทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น และควรดำเนินการด้านประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องหมาย มผช. เป็นที่รู้จัก ผู้บริโภคเชื่อมั่นและสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพสูงขึ้น | - |
dc.description.abstractalternative | The study aims to answer the questions about how confident the producers and customers are towards TCPS and the reasons behind it, including if TCPS Development improves Thai community products in competition and how it does. In which, using principles of standardisation as a policy tool of the public sector, marketing, product development, and capability of market competition as research guidelines. The research has been conducted with a qualitative research approach. The results of this study indicate that obtaining TCPS benefits in branding development and marketing activities, especially the on-site activities. In addition, major producers who have been in the market for a long time are likely to obtain more advantages than new or small producers. In terms of customers, although TCPS are not well-known or widely interesting since the customers purchasing community products often choose the products from their impression towards their identity rather than looking for a certified symbol, the customers who buy some types of products such as silk textiles find that TCPS symbol helpful for their shopping. In the standardisation request process, it is found that the producers whose TCPS verified have a very good satisfaction with the service provided by the public sector in which the satisfaction level affects the credibility of TCPS. For the future research suggestion, TISI should adjust the product testing time to be shorter. As TCPS impact on the capability of market competition | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.445 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Social Sciences | - |
dc.subject.classification | Business | - |
dc.title | มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) : ความเชื่อมั่นและผลลัพธ์ด้านการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ | - |
dc.title.alternative | Thai community product standards : public trust and impact on product improvement | - |
dc.type | Independent Study | - |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2020.445 | - |
Appears in Collections: | Pol - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280047924.pdf | 1.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.