Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76454
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติการคงอยู่ของข้าราชการชั้นสัญญาบัตร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 
Other Titles: Factors affecting persistence attitude of commissioned government officials of the office of the permanent secretary for defense
Authors: พิชญา แสงแก้ว
Advisors: ชฎิล โรจนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสถานภาพส่วนบุคคลที่มีผลต่อทัศนคติการคงอยู่ของข้าราชการชั้นสัญญาบัตร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจและปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนจากหน่วยงานที่มีต่อทัศนคติการคงอยู่ของข้าราชการชั้นสัญญาบัตร ของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยเป็นการวิจัยแบบผสมในเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการศึกษาเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างข้าราชการชั้นสัญญาบัตร จำนวน 360 คนพบว่าปัจจัยสถานภาพส่วนบุคคลด้านชั้นการศึกษาและชั้นยศมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ ปัจจัยแรงจูงใจด้านความรับผิดชอบและปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนจากหน่วยงานด้านการเห็นคุณค่าการปฏิบัติงานเป็นปัจจัยภายในที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติการคงอยู่ ทั้งนี้ ผลการศึกษาเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรที่ลาออกจำนวน 3 คน พบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมต่อการคงอยู่ส่วนใหญ่เป็นปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยแรงจูงใจด้านการมีส่วนร่วมและด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา และปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนด้านสภาพแวดล้อมภายในหน่วยงาน ส่วนปัจจัยที่ไม่เกื้อกูลต่อการคงอยู่ ได้แก่ ปัจจัยแรงจูงใจด้านกฎระเบียบที่เข้มงวด ปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนด้านการประเมินผลภายใต้ระบบอุปถัมภ์ ทั้งนี้ ระบบการคัดเลือกกำลังพลที่มีความสามารถและทัศนคติเชิงบวก ถือเป็นกลไกสำคัญที่มีต่อการส่งเสริมปัจจัยแรงจูงใจและปัจจัยการรับรู้การสนับสนุนที่มีต่อทัศนคติการคงอยู่ในองค์กร
Other Abstract: The objectives of this research were: 1. to study personal status affecting persistence attitudes of commissioned civil servants; 2. to study the relationship between motivation factors and perceived factors of support from agencies and persistence attitudes in the Office of the Permanent Secretary for Defense. The research is mixed in terms of quantitative and qualitative. The results of a quantitative study from a sample of 360 commissioned civil servants showed that the personal status factors in terms of education and rank were different. The motivation factors for responsibility and the perceived factor of support from the performance appraisal agency were internal factors, which were related to persistence attitude. The results of a qualitative study from three resigned commissioned civil servants showed that most of the factors contributing to persistence were external factors, such as motivation factors for participation and relationships with supervisors and also factors of perception of environmental support. Meanwhile, factors that are not conducive to persistence include strict regulatory incentives and recognition factors from assessment support under patronage system. However, the system of recruiting competent personnel with a positive attitude is the important mechanism for promoting the motivation factor and the perceived support factor towards organizational persistence attitude.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76454
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.434
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.434
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280091424.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.