Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77454
Title: ดีเอ็นเอบาร์โค้ดของพืชสกุลกระท่อมและการประยุกต์ใช้
Other Titles: DNA barcode of plants in the genus Mitragyna and applications
Authors: ณัฐพัชร์ สุขศรี
บุศรา เหลืองภัทรวงศ์
Advisors: สุชาดา สุขหร่อง
Other author: คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: suchada.su@chula.ac.th
Subjects: กระท่อม
กระท่อม (พืช)
DNA fingerprinting
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
Issue Date: 2557
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระท่อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mittagymaspeciosa(Korth.) Havil.เป็นพืชในวงศ์ Rubiaceaeพบได้ทั่วไปในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ใบกระท่อมนิยมใช้ในกลุ่มคนใช้แรงงานเพื่อเพิ่มกำลัง ทำให้ทนต่อการทำงานกลางแดดเป็นระยะเวลานาน การแพทย์แผนไทยใช้เป็นยาแก้อาการท้องเสีย แก้ไอ และแก้ปวด การแพทย์แผนปัจจุบันใช้ บำบัดผู้ป่วยที่ติดมอร์ฟื้นสารหลักที่ตรวจพบในใบกระท่อมคือ mitagynine ซึ่งเป็นสารในกลุ่มอัลคาลอยด์แต่เนื่องจากกระท่อมมีคุณสมบัติทำให้เกิดการเสพติดได้ประเทศไทยจึงประกาศห้ามใช้กระท่อม และจัดว่าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 พืชสกุล Miragya ที่พบในประเทศไทยมี 4 ชนิด ได้แก่ กระท่อม [M. speciosa(Korth) Havil ], กระทุ่มโคก [M. hirsuaHavil], กระทุ่มนา [M. diversifolia(Wall. ex G. Don) Havil.] และกระทุ่มขี้หมู[M. rotundifoia(Roxb.) Kuntze.] ปัจจุบันพบการใช้สับสนกันของพืชในสกุลนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพิสูจนัเอกลักษณ์ เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยและประสิทธิผลในการใช้ การสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง นอกจากนี้ดีเอ็นเอจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ เช่นแหล่งที่อยู่ ฤดูกาล และระยะการเจริญเติบ โตของพืชลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่เลือกใช้ ได้เก่ ลายพิมพ์ดีเอ็นเอชนิดเอเอฟแอลพี ( PLFA-Amplified Fragment Length Polymorphism) ซึ่งเป็นลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่สร้างจากจีโนมพืช และลายพิมพ์ดีเอ็นเอชนิดบาร์โค้ด (DNsedocrab A) ซึ่งสร้างจากดีเอ็นเอ 4 บริเวณ คือ matK, rbcL, trnH-psbA spacer และ ITSในการศึกษานี้ประสบความสำเร็จในการสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอ โดยลายพิมพ์ดีเอ็นเอทั้งสองชนิดนี้สามารถใช้พิสูจน์เอกลักษณ์ของพืชในสกุล Mxag๓aได้ รวมถึงใช้แยกกระท่อมออกจาก Minagฑa ชนิดอื่นได้ชัดเจน ซึ่งข้อมูลที่ได้เหล่านี้สามารถนำไปพัฒนาหรือประยุกต์ใช้ในงานตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสมุน ไพรต่อไปในอนาคต
Other Abstract: Mitragyna Speciosa(Korth.) Havil, known as Kratom, is an evergreen tree in the Rubiaceae family native to the central and southern region of Thailand. Kratom leaves are often used by the labourers to enhance tolerance for working in long periods of time under the scorching sun. In Thai traditional medicine, the extract from the leaves are used for the treatment of diarrhea, cough and pain. Conventional medicine also uses it as a substitute when treating morphine withdrawals. The main constituent in Kratom leaves is mitragynine, an alkaloid. Because of the addiction effects, possession of Kratom leaves in Thailand is illegal according to the narcotic drug list relating to category S of the narcotic drug law. There are 4 Mitragyna species which are indigenous in Thailand; M. speciosa(Korth.) Havil. (Kratom], M. hirsuta Evil.,M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. and M. rotundifolia(Roxb.) Kuntze. Nowadays, many confused usages among Mitragyna species were found. Therefore, identification is needed for safe and effective use of Mitragyna. DNA fingerprint is one alternative method because of its high accuracy and precision. Moreover, DNA is not affected by habitat, season and the development of plants. In this study, the method used for creating DNA fingerprints areAFLP (Amplified Fragment Length Polymorphism) and DNA barcoding. AFLP method generates DNA fingerprints from the whole genome while DNA barcoding creates DNA fingerprints from 4 1oci: matK, rbcL, trnH-psbA spacer and ITS.The study was successful in DNA fingerprints creation. Both techniques are used not only for authentication of the Mitragyna species but also to differentiate Kratom from the other Mitragyna species. The data received from the study can be developed or applied to authenticate and control the quality of herb in the future.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาการค้นพบและพัฒนายา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77454
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_3.31_2557.pdfไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม3.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.