Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77481
Title: แนวทางการแปลบทเพลงเพื่อการขับร้องประกอบภาพยนตร์เรื่อง Tangled และ Brave
Authors: ทัศนีย์ กีรติรัตน์วัฒนา
Advisors: สารภี แกสตัน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Subjects: การแปลและการตีความ
ภาพยนตร์การ์ตูน
Translating and interpreting
Animated films
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทำนองและเสียงวรรณยุกต์ไทยที่ใช้ในบทเพลงเพื่อ การขับร้องประกอบการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่อง Tangled และ Brave โดยเลือกศึกษาเพลง When Will My Life Begin, Mother Knows Best และ Touch The Sky ผู้วิจัยตั้งสมมุติฐานในการวิจัยไว้ว่า การแปลเพลงเพื่อการขับร้องต้องยึดความหมายและลีลาทำนองเป็นหลักในการคัดสรรคำแปล ทั้งนี้ระยะห่างและทิศทางของขั้นคู่เป็นปัจจัยที่ช่วยกำหนดกรอบการสรรคำแปลให้มีเสียงวรรณยุกต์สอดคล้องกับลีลาทำนองของต้นฉบับ 1 ทฤษฎีและแนวคิดหลักที่นำมาใช้ในการวิจัยได้แก่ ทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ของคริสติอาเน่ นอร์ด แนวคิดเรื่อง Singability ในหลักการแปลเพลงห้าประการ (Pentathlon Approach to+ translating song) ของ ปีเตอร์ โลว สัทลักษณะวรรณยุกต์ไทยเรียบเรียงโดย ธีระพันธ์ ล. ทองคำและคณะ และ แนวคิดเรื่องขั้นคู่ เรียบ เรียงโดยณัชชา พันธุ์เจริญ ผู้วิจัยใช้วิธีการแจกแจงความถี่ในการปรากฎเสียงวรรณยุกต์ทั้งห้าตามทิศทางทำนองจากโน้ตตั้งต้นไปยังโน้ตตัวถัดไป (ทิศทางเดิม ทิศทางขึ้น ทิศทางลง) และ ตามขั้นคู่ (1-8) ก่อนดำเนินการ สัมภาษณ์เพื่อพิสูจน์สมมุติฐานในเชิงปฎิบัติ 1 จากการวิจัย พบว่าขั้นคู่ และทิศทางขั้นคู่ ไม่ใช้ปัจจัยในการคัดสรรคำแปลเพียงประการเดียว แต่ต้อง คำนึงหน่วยคำแปลและเสียงวรรณยุกต์ที่จะใช้ไปพร้อมๆ กันจึงจะสามารถแปลได้อย่างมีสมมูลภาพ อย่างไร ก็ตาม พบว่าปัจจัยทั้งสองส่งผลต่อการคัดสรรคำแปลบางประการดังนี้ 1.) ในทิศทางเดิมวรรณยุกต์สามัญและ วรรณยุกต์โทได้รับการคัดสรรในคำแปลมากที่สุด ผู้แปลใช้วิธีการซ้ำวรรณยุกต์เดิมหรือใช้กลุ่มวรรณยุกต์ที่มีระดับ เสียงกลุ่มเดียวกันในการคัดสรรคำแปล เช่น วรรณยุกต์ตรี-จัตวา-โท, สามัญ-โท หรือ เอก-โท 2.) ในทิศทางขึ้น ขั้น คู่ 2-3 สามารถใช้วรรณยุกต์ได้ทุกหน่วยเสียง แต่วรรณยุกต์สามัญและวรรณยุกต์โทได้รับการคัดสรรในคำแปล สูงสุด ในทิศทางขึ้น ขั้นคู่ 4-8 วรรณยุกต์ตรีมีความถี่ในการปรากฎสูงสุด 3.) ในทิศทางลง ขั้นคู่ 2-3 สามารถใช้ วรรณยุกต์ได้ทุกหน่วยเสียง แต่วรรณยุกต์สามัญและวรรณยุกต์โทได้รับการคัดสรรในคำแปลสูงสุด ในทิศทางลง ขั้นคู่ 4-8 วรรณยุกต์เอกมีความถี่ในการปรากฎสูงสุด และไม่พบวรรณยุกต์จัตวาในทิศทางลงเลย
Other Abstract: This study has been conducted to examine the relationship between the melody and the five tones of Thai language used in three songs: When Will My Life Begin (from Tangled), Mother Knows Best (from Tangled) and Touch the Sky (from Brave). The researcher hypothesized that in lyrics translation, translators need to consider the meaning of lyrics and its given melody. Meanwhile, the original melodic movement and melodic intervals would have a substantial impact on choosing appropriate tones that fit the given melody. 1 The theories and principles used in this study include Christiane Nord’s Discourse Analysis, Peter Low’s Pentathlon Approach to translating song, Phonetic features of Thai’s five tones arranged by Therapan Thongkum, and Intervals arranged by Natcha Pancharoen. Thai tones are collected from each syllable in the translated lyrics. Melodic directions are collected from the movement of the tonic note to the adjacent one in a linear line (Ascending, Descending, Undulating). Melodic intervals are categorized into 1st to 8th. All data were analyzed by using frequency pivot table. The researcher finalized the study by conducting an individual interview with the translator.1 1 The study shows that melodic movement and melodic intervals are not the only factors that effect the Thai Tone choice in song translation. Translators need to consider translation unit and its Tone all at once to create a singable song with semantic equivalence. However, both melodic movement and melodic intervals have shown some impact on the usage of the five tones as follows: I.) In undulating movement, Tone 1 and Tone 3 are the most frequently used Tones in translation. The translator tended to use the same tones first. If it proved unavailable, he opted for Tones with similar tonal features such as T4-T5-T4, T1-T4 or T2-T3 II.) in descending movement, 2nd and 3rd intervals, all Tones can be used in translation but Tone 1 and Tone 3 are the most frequent ones. On the 4th up to the 8th interval, the most frequently used Tone is Tone 4 III.) In descending movement, 2nd and 3rd interval, all Tones can be used in translation but Tone 1 and Tone 3 are the most frequent ones. On the the 4th up to the 8th interval, Tone 2 is the most frequent one. Tone 5 doesn’t appear in descending movement with 4th-8th interval.
Description: สารนิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การแปลและการล่าม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77481
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1817
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1817
Type: Independent Study
Appears in Collections:Arts - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tasanee K_tran_2012.pdfสารนิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)5.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.