Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77783
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์ | - |
dc.contributor.author | ปภินวิช ปวินท์วรกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-11-16T02:12:59Z | - |
dc.date.available | 2021-11-16T02:12:59Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77783 | - |
dc.description | สารนิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | - |
dc.description.abstract | การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดของจีนในศตวรรษที่ 21 ส่งผลให้จีนกลายเป็นผู้ปล่อยมลพิษมากที่สุดในโลก หลายประเทศมีข้อกังวลเรื่องการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของจีนและเรียกร้องให้จีนหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หากจีนจะรักษาบทบาทในฐานะมหาอำนาจของโลกในยุคปัจจุบัน จีนจำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบต่อประชาคมโลกขณะที่ผลจากการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศทำให้จีนเผชิญปัญหามลพิษทางอากาศที่เลวร้ายส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบด้านสุขภาพอย่างรุนแรง ดังนั้น งานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้มาตรการทางนโยบายสาธารณะ โดยวิเคราะห์ว่าผู้นำจีนให้ความสำคัญในการออกกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างไร การศึกษาครั้งนี้ จะมุ่งเน้นศึกษาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในจีน โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) อธิบายแนวทางการจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศจีน 2) วิเคราะห์กระบวนการการออกฎหมายและการบังคับใช้ในการจัดการปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศจีน และ 3) ประเมินผลสำเร็จของการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในจีนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่าจีนมีความพยายามในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในประเทศเพื่อรักษาความชอบธรรมของการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ที่เป็นอำนาจการผูกขาดในบริหารประเทศ จากนโยบาย Green China ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง โดยมีการออกกฎหมายและมาตรการในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ และมีการสร้างการรับรู้ให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการจัดการขยะอย่างจริงจังทำให้ปริมาณขยะภายในประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของจีนในต่างประเทศยังไม่มีการความร่วมมืออย่างจริงจัง และการห้ามนำเข้าขยะของจีนส่งผลให้ขยะเหล่านั้นถูกส่งมายังประเทศในอาเซียนแทนทำให้การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในบริบทระหว่างประเทศของจีนยังถือว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน | - |
dc.description.abstractalternative | China's explosive economic growth in the 21st century has driven China to be the world's largest pollution emitter. Many countries have raised concerns about China's coping with environmental problems and urged it to take more serious measures to tackle environmental issues. To remain as one of the most powerful countries at the present era, China has to show its accountability to the world. As a result of its domestic industrial development, China faces severe air pollution problems, causing serious health repercussions for its own people. Therefore, this research has studied the management of environmental problems and the deployment of public policy measures in China by analyzing how the government takes serious concerns on the importance of legislation to solve environmental problems and the implementation of relevant agencies. This study focused on the study of electronic waste management in China. The objectives were as follows: 1) Described the guidelines for managing the electronic waste problem in China; 2) Analyzed the process of legislation and enforcement of electronic waste management in China; and 3) Evaluate the achievements of electronic waste management in China at the national and local levels. The study found that China has made significant efforts to manage the domestic environment to maintain its legitimacy of the communist regime as a monopoly of political power. President Xi Jinping's Green China policies enacted legislation and measures on electronic waste management, raised public awareness of environmental issues, and provide strong cooperation of government agencies and private sectors in waste management. These policies have made a significant reduction in the number of wastes in the country. However, China's environmental management activities have not been fully cooperated. Moreover, China's ban on the import of waste has resulted in the more waste being sent to other ASEAN countries instead. Therefore, the electronic waste management of China is not considered to be sustainable management in the context of international level. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.257 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Environmental Science | - |
dc.title | การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในจีน | - |
dc.title.alternative | The management of electronic waste in China | - |
dc.type | Independent Study | - |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2020.257 | - |
Appears in Collections: | Pol - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6180964924.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.