Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78065
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วีรพล แสงปัญญา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-02-15T04:53:03Z | - |
dc.date.available | 2022-02-15T04:53:03Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78065 | - |
dc.description | แนวคิดเกี่ยวกับจิตลักษณะการสร้างสรรค์ -- ตัวแปรที่ส่งผลต่อจิตลักษณะการสร้างสรรค์ -- แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย -- การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยและสมมุติฐานการวิจัย | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับจิตลักษณะการสร้างสรรค์ (CD) ของนักพัฒนานวัตกรรมชาวไทยและตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยการสนับสนุนความเป็นอิสระจากครอบครัวในการพัฒนานวัตกรรม(FS) ปัจจัยการสนับสนุนความเป็นอิสระด้านการทำงานในการพัฒนานวัตกรรม(WS) และปัจจัยแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรม(MO) จำแนกตามกลุ่มสิทธิบัตร 9 กลุ่มของนักพัฒนานวัตกรรมชาวไทย และเพื่อพัฒนาโมเดลและประมาณค่าขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยเชิงสาเหตุต่อจิตลักษณะการสร้างสรรค์ของนักพัฒนา นวัตกรรมชาวไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักประดิษฐ์และนักพัฒนานวัตกรรมชาวไทยที่มีผลงานนวัตกรรมซึ่งได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพานิชย์ ประเทศไทย ในช่วง 15 ปีย้อนหลัง(2547-2561) จำนวน 243 ตัวอย่าง ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลเบื้องต้น 1 ฉบับและแบบวัด อีก 4 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ทั้งสถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิง ประกอบด้วย การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ระดับของการสนับสนุนความเป็นอิสระจากครอบครัวในการพัฒนานวัตกรรม อยู่ในระดับมาก (M=3.61) การสนับสนุนความเป็นอิสระด้านการทำงานในการพัฒนานวัตกรรมมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง (M=3.53) แรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.36 ) จิตลักษณะการสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก (M=4.13) 2) ผลการเปรียบเทียบจิตลักษณะการสร้างสรรค์และตัวแปรปัจจัยเชิงสาเหตุตามกรอบแนวคิดการวิจัยจำแนกตามกลุ่มสิทธิบัตรของนักพัฒนานวัตกรรมชาวไทยทั้ง 9 กลุ่ม พบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 3) โมเดลเชิงสาเหตุจิตลักษณะการสร้างสรรค์ของนักพัฒนานวัตกรรมชาวไทยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีลักษณะอิทธิพลที่สำคัญคือ แรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรมส่งผลทางตรงต่อจิตลักษณะการสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (β = .74, p < .001) และผลการวิจัยนี้เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นบทบาทสำคัญของแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรมในฐานะตัวแปรที่มีอิทธิพลโดยตรงและยังมีบทบาทในฐานะตัวแปรส่งผ่านของการสนับสนุนความเป็นอิสระด้านการทำงานในการพัฒนานวัตกรรม (WS) และการสนับสนุนความเป็นอิสระจากครอบครัวในการพัฒนานวัตกรรม (FS) ต่อจิตลักษณะการสร้างสรรค์ของนักพัฒนานวัตกรรมชาวไทย | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were as follow: to study and compare the level of creativity disposition (CD) of Thai innovation developers in nine group of patents licensed and the causal factor variables consisting of family autonomy support for innovation development (FS), working autonomy support for innovation development (WS) and motivation for innovation development (MO) and to develop models and estimate the direct and indirect effect size of causal factors influencing CD of Thai innovation developers. Stratified random sampling technique were used to obtained the 243 samples of Thai innovation developers who licensed the patent for the past 15 years (2004-2018), department of intellectual property, inventions and innovations, ministry of commerce, Thailand. The instrument used in the research consisted of 1 preliminary questionnaire and 4 tests. Data were analyzed by both descriptive statistics and reference statistics consisting of a basic statistical analysis, One-way ANOVA and path analysis. The results are summarized as follows. 1) The level of FS is at a high level (M = 3.61). The level of WS is at a medium level (M = 3.53). The level of MO is at a medium level (M = 3.36) and the level of CD is at a high level (M = 4.13). 2) The comparison of the variable level in the model classified by the patent groups of Thai innovators found that they were not statistically different at the .05 level. 3) Causal model of CD of the Thai innovators developed by the researcher consistent with the empirical data. The main effect was the CD obtained direct effect from only MO (β = .74, p < .001) at the .05 level of statistical significance. These results are evidence which indicate an important role of MO as both direct effect and moderator variables of WS and FS through CD of the Thai innovators. | en_US |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดย เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ ปี 2561 | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ความคิดสร้างสรรค์ | en_US |
dc.subject | พัฒนากร | en_US |
dc.title | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุจิตลักษณะการสร้างสรรค์ของนักพัฒนานวัตกรรมชาวไทย : รายงานการวิจัย | en_US |
dc.title.alternative | The development of creativity disposition causal model of Thai innovation developers | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Weeraphol_Sa_Res_2564.pdf | รายงานวิจัยฉบับเต็ม (Fulltext) | 2.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.