Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79165
Title: Translation of humor in "เนปาลประมาณสะดือ" by New-Klom (นิ้วกลม): a translation project
Authors: Tithinun Phoraksacharoen
Advisors: Crabtree, Robert Michael
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Arts
Advisor's Email: No information provided
Subjects: Thai wit and humor -- Translations
Translating and interpreting
Issue Date: 2010
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This translation project aims to study the translation of humor in the travel book "เนปาลประมาณสะดือ" by New-Klom (นิ้วกลม) from Thai to English, by applying translation theories and other theories and concepts of humor for the most approppriate application to the analysis of the source text and the translation of humor.
Other Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการแปลอารมณ์ขันในหนังสือบันทึกการเดินทางเรื่อง "เนปาลประมาณสะดือ" ของนิ้วกลม จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยผู้วิจัยได้นำทฤษฎีการแปล และทฤษฎีและแนวคิดอื่นๆที่เกี่ยวกับอารมณ์ขันมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ตัวบทต้นฉบับและการแปลอารมณ์ขัน ทฤษฎีทางการแปลที่นำมาใช้ในโครงการแปลนี้มีสามทฤษฎี คือ ทฤษฎีวัจนกรรม (Speech Act Theory) ของเฮอนิกซ์และคุสเมาส์ (Hönig/ Kußmual) และจอห์น เซิร์ล (John Searle) ทฤษฎีสโคโพส (Skopostheorie) ของไรส์และแฟร์เมียร์ (Reiß/ Vermeer) วาทกรรมวิเคราะห์ (Discourse Analysis) ของคริสเตียนเน นอร์ด (Christiane Nord) นอกจากนี้ผู้วิจัยยังนำทฤษฎีและแนวคิดอื่นๆที่เกี่ยวกับอารมณ์ขันอันรวมไปถึง ทฤษฎีความไม่เข้ากัน (Incongruity Theory) ทฤษฏีความเหนือกว่า (Superiority Theory) ทฤษฎีความผ่อนคลาย (Relief/Release Theory) ทฤษฎี SSTH (Semantic Script Theory of Humor) ทฤษฎี GTVH (the General Theory of Verbal Humor) องค์ประกอบและประเภทของเรื่องขำขัน และแนวคิดและกลวิธีอื่นๆของเรื่องขำขันในภาษาไทย มาใช้ศึกษาด้วย ขณะที่ทฤษฎีการแปลช่วยกำหนดแนวทางในการแปลโดยรวม ทฤษฎีและแนวคิดอื่นๆเกี่ยวกับอารมณ์ขันนำมาใช้วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน เพื่อให้ผู้แปลสามารถรักษา หรือเลียนแบบปัจจัยเหล่านั้นในตัวบทแปล และสร้างอารมณ์ขันขึ้นใหม่ในภาษาปลายทางและวัฒนธรรมปลายทาง หลังจากได้ศึกษาตามขั้นตอนการศึกษาวิจัยแล้ว ได้ผลสรุปว่า แม้ทฤษฎีการแปลทั้งสาม และทฤษฎีและแนวคิดอื่นๆที่เกี่ยวกับอารมณ์ขันที่นำมาใช้ จะช่วยในกระบวนการแปลได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง แต่ผู้แปลเองก็ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และมีแหล่งค้นคว้าข้อมูลเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาการแปลอย่างเพียงพอด้วย กล่าวคือ ผู้แปลจำเป็นต้องปรับกลวิธีการแปลให้เข้ากับปริบทที่เปลี่ยนไประหว่างอารมณ์ขันในตัวบทต้นฉบับ และในฉบับแปล ต้องค้นคว้าทั้งวัฒนธรรมต้นทางและวัฒนธรรมปลายทางอย่างละเอียด และต้องปรับบทแปลเมื่อจำเป็น เพื่อสร้างอารมณ์ขันขึ้นใหม่ในบทแปลและรักษาสมมูลภาพของปัจจัยที่ทำให้เกิดอารมณ์ขันนั้นให้เหมือนกับในต้นฉบับ
Description: Thesis (M.A.) -- Chulalongkorn University, 2010
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Translation and Interpretation
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79165
Type: Independent Study
Appears in Collections:Arts - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tithinun Ph_tran_2010.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.