Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7922
Title: | การประดิษฐ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ภาระงานพยาบาล : รายงาน |
Other Titles: | Computer program for nursing workload |
Authors: | ประพิม ศุภศันสนีย์ สุวิณี วิวัฒน์วานิช |
Email: | Prapim.S@Chula.ac.th suvinee@hotmail.com |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Subjects: | สารสนเทศทางการพยาบาล การพยาบาล -- การประมวลผลข้อมูล ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ -- การพยาบาล |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย |
Abstract: | โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาแบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะแก่การป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ และประมวลผลเป็นสารสนเทศด้านภาระงานพยาบาลโดยตรงที่บุคลากรพยาบาลให้กับผู้ป่วยและสารสนเทศเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยได้รับ โดยกระบวนการพัฒนาแบ่งเป็นกระบวนการพัฒนาแบบบันทึกกิจกรรมการพยาบาล และกระบวนการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนในทั้ง 2 กระบวนการประกอบด้วยการออกแบบทดลองใช้ และประเมินผลการทดลองใช้ แบบบันทึกข้อมูลที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบบันทึกที่ใช้เขียนลงบนแบบสำหรับกรอกข้อมูลที่ติดไว้ในเวชระเบียนผู้ป่วยทุกรายตั้งแต่เริ่มรับใหม่ ประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ป่วย กิจกรรมการพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับ วัน-เวลา ที่ได้รับ และรหัสประจำตัวผู้ให้การพยาบาล โดยให้พยาบาลผู้ปฏิบัติเป็นผู้กรอกข้อมูลทันทีที่ปฏิบัติเสร็จ เมื่อจำหน่วยผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล จึงมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบป้อนข้อมูลลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นชื่อ CU-NURSE เป็นโปรแกรมที่ใช้บน Microsoft Access 95 ส่วนของการป้อนข้อมูลนำเข้ามีลักษณะเป็นแบบกระดาษทำการที่ออกแบบให้ป้อนข้อมูลลงในส่วนที่กำหนด การค้นหาสารสนเทศที่ต้องการใช้ วิธีพิมพ์ข้อความหรือรหัส ร่วมกับการใช้ menu-driven กลุ่มตัวอย่างผู้ทดลองใช้แบบบันทึกเป็นพยาบาลประจำการจำนวน 14 คน ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกในโรงพยาบาลระดับศูนย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ภายหลังการทดลองใช้เป็นเวลา 1 เดือน ได้ขอให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อแบบบันทึก พบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยใช้แบบบันทึกกับผู้ป่วยมาแล้วโดยเฉลี่ย 36 ราย และส่วนใหญ่เป็นพยาบาลผู้มีความรู้ระดับปริญญาตรีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นด้วยในระดับสูงในประเด็นที่ว่าด้วยรูปแบบและวิธีการบันทึก แต่มีความเห็นด้วยกับการเลือกใช้กับผู้ป่วยบางรายเท่านั้นมากกว่าความเห็นด้วยกับการที่จะใช้กับผู้ป่วยทุกราย กลุ่มตัวอย่างผู้ทดลองใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นผู้บริหารทางการพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐและเอกช 8 แห่ง รวม 54 คน ภายหลังการทดลองใช้แล้วได้ตอบแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์ 52 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 96.3 กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าสารสนเทศที่ได้จากโปรแกรมทุกรายการมีประโยชน์ในระดับค่อนข้างสูง ส่วนความคิดเห็นต่อคุณสมบัติด้านการใช้การได้ของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยระดับค่อนข้างสูง โดยเฉพาะประโยชน์ต่อการบริหารการพยาบาล การทดลองใช้แบบบันทึกและการทดลองใช้โปรแกรมดำเนินการเป็นอิสระจากกันจึงอาจไม่พบปัญหาหรือข้อจำกัดที่อาจมี ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้มีการทดลองใช้ทั้งระบบ พร้อมทั้งศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น และนำมาเป็นแนวทางป้องกันปัญหาต่อไป และเสนอให้ขยายขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาด้วย |
Other Abstract: | The project aims at development of nursing activity recording form for manual computer entry and computer program for the processing of the nursing activities data. Designed outputs are informatics in terms of hours of nursing workload and hours of nursing care that individual patient received. Development processes are divided into development of nursing activity recording form and development of computer program. Steps in both development pecesses include designing, try-out and evaluation. The nursing activity recording form was designed to be a part of patient’s record. Required data composted of patients and nurses identification, type, date-hour and duration of nursing activity delivered. Data should be recorded by nurses right after the care was given and enter to the computer after the patient was discharged. The computer program designed was named the CU-NURSE program and designed to use on the Microsoft Access 95. The data entry forms are pre-defined spread sheet. Information are retrieved through DOS and/or menu-driven system. Fourteen staff nurses from an orthopedic ward in a medical center in Bangkok are try-out samples of the recording form. After one month of try-out, the samples were asked to answer the rating scale questionnaire regarding using of the recording form. Findings reveal that an average number of recording form that an individual sample used to use is 36 cases. The majority of samples earned bachelor degree or higher. They agree with the format and the method of recoding of the form. But degree of agreement on the using of records for some patients is higher than the using for all patients. Fifty-four nurse administrators were randomly sampled from 8 government and private hospitals to test the program and answer the rating scale questionnaire. Fifty-two completed questionnaire or 96.3 percent were obtained. The samples agreed in high degree with usefulness of all items of informatics derived from the program. Similarly, they agree with the usability of the program, especially the value for nursing administration. The try-out of recording form and the program were performed independently. The operation of the whole system may face some counstraint. Therefore, the try-out should be conducted for further investigation and prevention of problems. Expansion of sample size is also suggested. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7922 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Nurse - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapim.pdf | 6.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.