Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79379
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนราพงษ์ จรัสศรี-
dc.contributor.authorวิราณี แว่นทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T03:53:15Z-
dc.date.available2022-07-23T03:53:15Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79379-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการแสดงและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อกระตุ้นความสนใจของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารเชิงวิชาการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยการสังเกตการณ์ การสัมมนาวิชาการ เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์งานเป็นการนำปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในงานแห่เทียนเข้าพรรษามาสร้างสรรค์เพื่อกระตุ้นความสนใจของคนรุ่นใหม่ให้เกิดความตระหนักและภาคภูมิใจในงานประเพณี แสดงสาระสำคัญถึงเรื่องความศรัทธาในพุทธศาสนา สังคมเกิดความผูกพัน สามัคคี การสำนึกรักบ้านเกิดของคนคืนถิ่น การสืบทอดงานช่างแกะสลักเทียนและบุญประเพณี สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่นำเสนอขบวนแห่เทียนในรูปแบบการแสดงละครภาพนิ่งตาโบลวิวังต์ ดังองค์ประกอบการแสดงทั้ง 8 ประการ คือ 1) บทการแสดงที่เล่าถึงขบวนแห่เทียนในอดีต ปัจจุบัน อนาคต ได้แก่ องก์ 1 ภาพจำงานเทียนในอดีต องก์ 2 ความสนใจของคนรุ่นใหม่ที่ถดถอยในปัจจุบัน และองก์ 3 การกระตุ้นความสนใจของคนรุ่นใหม่ในอนาคต 2) ลีลานาฏยศิลป์ นำเสนอศิลปะแนวเรียบง่ายมินิมอลลิสส์ ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ การแสดงนาฏยศิลป์พื้นบ้านอีสาน ลีลาท่าทางในชีวิตประจำวัน การด้นสด การเคลื่อนไหวแบบพลวัต นำมาสู่การสร้างสรรค์งานที่เป็นแบบนาฏยศิลป์เพื่อการแสดงละคร มานำเสนอเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวตามบทการแสดง 3) นักแสดง เป็นอาสาสมัครของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ได้แก่ นักแสดงที่ไม่เคยได้รับการฝึกฝน นักร้อง นักดนตรี และศิลปินศิลปะสื่อผสม 4) การออกแบบเครื่องแต่งกาย ใช้รูปแบบมินิมอลลิสม์ 5)  เสียง ใช้เพลงพื้นบ้านอีสานวงโปงลาง บรรเลงร่วมกับดนตรีสากลสร้างสรรค์ประกอบบทร้องทำนองหมอลำที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ 6) พื้นที่การแสดง จัดแสดงในพื้นที่แบบเปิดที่กลุ่มคนรุ่นใหม่เข้าถึงได้โดยง่าย 7) แสง เป็นการใช้แสงธรรมชาติของพื้นที่ เพื่อลดทอนรูปแบบการนำเสนอให้เรียบง่ายที่สุด ดังปรากฏแสงหลากสีที่เปรียบเสมือนแสงไฟในงานวัด 8) อุปกรณ์การแสดง ใช้แนวคิดมินิมอลลิสม์ ที่เน้นการใช้สัญลักษณ์ ความเรียบง่าย ประหยัด เข้าใจง่าย นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้คำนึงถึงแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ได้แก่ 1) ความคิดสร้างสรรค์ในการเลือกหัวข้อเพื่อสร้างสรรค์ผลงานการแสดง 2) อัตลักษณ์และการสืบทอดเทียนพรรษา 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสนใจของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อเทียนพรรษา 4) การกระตุ้นความสนใจของคนรุ่นใหม่ 5) ผลงานการแสดง 6) ความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 7) การใช้สัญลักษณ์ 8) ความหลากหลายของรูปแบบการแสดง และ 9) แนวคิดทางด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์และทัศนศิลป์ ซึ่งผลการวิจัยทั้งหมดนี้มีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยทุกประการ-
dc.description.abstractalternativeThis doctoral dissertation aimed to find the performance style and the concept after the creation of the dance to stimulate the interest of the new generation towards the candle crafts in Lent ceremony of Ubon Ratchathani Province. Qualitative research methods and creative research were used in this study. The tools used in this research consisted of analysis of data from academic papers, electronic media, interviews from experts and people related to the research, observation, academic seminar, criteria of creating standards for recognizing role models in the dance, and personal experience of the researcher as a guideline for analyzing, synthesizing, and creating works in the dance. The results showed that the creation of the work was the use of the phenomenon in the Candle Festival to stimulate the interest of the new generation to create awareness and pride in the tradition which showed the essence of faith in Buddhism. For the society, it created a bond, unity, and the love for the hometown of the returnees. The inheritance of candle carving and the tradition reflected the cooperation of the new generation who presented the candle parade in the form of Tableau Vivant as shown in eight performance elements. 1) The performances telling about the candle parade in the past, present, and future were: Act 1 The reminiscent of the Candle Festival in the past, Act 2 The decreasing interest of the new generation in the present, and Act 3 The stimulation of the interest of the new generation in the future. 2) The dance style was presented in minimalism with the body movement of postmodern dance, folk dance, everyday movement, improvisation, and dynamic, which led to the creation of dance theatre presented to convey the story according to the script of the show. 3) Performers were volunteers from the new generation, including untied dance performers, singers, musicians and mixed media artists. 4) For the costume design, minimalism was applied. 5)  For the music, Isan folk songs from Pong Lang band were played together with creative international music and newly composed Molam lyrics and melodies. 6) The performance was displayed in an open space that was easily accessible to the new generation. 7) Natural light in the area was used to simplify the presentation style as the multicolored light represented the light in a temple fair. 8) For the performance equipment, the concept of minimalism, which emphasized the use of symbols, simplicity, economy, comprehensibility, was applied. In addition, the concepts obtained after the creation of the dance were considered, including: 1) Creativity in choosing a topic to create a performance, 2) Identity and inheritance of Buddhist Lent candles, 3) Factors affecting the interest of Buddhist Lent candles of the new generation, 4) The stimulation of the interest of the new generation, 5) The result of the performance, 6) The creativity in the dance, 7) The use of symbols, 8) The variety of performance styles, and 9) The concepts of dance, music and visual arts. All these research results were consistent and met the research objectives in every aspect.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1027-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectนาฏยประดิษฐ์-
dc.subjectอุบลราชธานี -- ความเป็นอยู่และประเพณี-
dc.subjectChoreography-
dc.subjectUbon Ratchathani -- Social life and customs-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อกระตุ้นความสนใจของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี-
dc.title.alternativeThe creation of a dance to stimulate interest in the young generation towards Ubon Ratchathani's candle crafts in lent ceremony-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.1027-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6281037735.pdf16.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.