Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79433
Title: การกำกับดูแลการก่อหนี้สาธารณะของประเทศไทยภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง : ศึกษากรณีรายงานการก่อหนี้สาธารณะต่อรัฐสภา
Other Titles: The administration of public debt under the fiscal disciplinary framework in Thailand : the study of public debt report to the parliament
Authors: ดวงกมล สังสกุลณีย์
Advisors: ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: หนี้สาธารณะ
การคลัง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Debts, Public
Finance, Public -- Law and legislation
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงการจัดทำรายงานการก่อหนี้สาธารณะต่อรัฐสภา ซึ่งเป็นกรอบวินัยทางการคลังประการหนึ่งในการกำกับดูแลการก่อหนี้สาธารณะของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์ทางกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องดังกล่าวยังคงมีข้อจำกัดที่สำคัญ คือ ความไม่ครบถ้วนของข้อมูลการก่อหนี้สาธารณะที่ปรากฏอยู่ในเอกสารงบประมาณและรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยในส่วนของเอกสารงบประมาณ ยังขาดการประมาณการหนี้สาธารณะและการแสดงถึงกลยุทธ์ในการบริหารจัดการหนี้สาธารณะในระยะกลาง (Medium -Term Debt Management Strategy) ทำให้รัฐสภาไม่ทราบถึงทิศทางการดำเนินงานและตัวชี้วัด ที่รัฐบาลใช้ในการประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากหนี้สาธารณะ สำหรับรายงานการดำเนินการตามมาตรา 17 ยังไม่ปรากฏข้อมูลการคาดการณ์ปริมาณหนี้สาธารณะและการประเมินความเสี่ยงของหนี้สาธารณะ รวมถึงยังมีข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการไม่มีกฎหมายกำหนดให้รัฐสภาทำหน้าที่ในการกำกับดูแลหรือรับทราบมาตรการแก้ไข ในกรณีที่สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นจริงไม่เป็นไปตามกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะที่รัฐบาลกำหนดไว้ ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้จะกระทบต่อความโปร่งใส ความน่าเชื่อถือในการดำเนินงาน และประสิทธิภาพในการรักษาเป้าหมายสัดส่วนที่ใช้เป็นกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะของรัฐบาลได้ จากข้อจำกัดดังกล่าว ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) เสนอแผนการคลังและกลยุทธ์การบริหาร หนี้สาธารณะระยะปานกลางพร้อมไปกับเอกสารงบประมาณที่เสนอต่อรัฐสภา 2) นำเสนอข้อมูลการคาดการณ์ปริมาณหนี้สาธารณะและการประเมินความเสี่ยงของหนี้สาธารณะไว้ในรายงานผลการดำเนินการฯ และ 3) กรณีที่สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นจริงไม่เป็นไปตามกรอบสัดส่วนที่กำหนด ให้รัฐบาลรายงานเหตุผล วิธีการ และระยะเวลาในการทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะกลับมาอยู่ภายในสัดส่วนที่กำหนดเสนอต่อรัฐสภาเพื่อทราบ ซึ่งจะช่วยให้รัฐสภามีข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอต่อการกำกับดูแลการก่อหนี้สาธารณะและจะช่วยให้เกิด ความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาวต่อไป
Other Abstract: This thesis focused on the study of the public debt report to the Parliament which is one of the fiscal disciplinary frameworks established for administrating public debt in Thailand. The study found that the principle of law regarding the public debt report is substantially limited, for instance, the lack of information regarding the public debt in the budget documents and report specified in Article 17 of Public Debt Management Act, B.E. 2548 (2005) and Amendments. With regard to the budget documents, the absence of the public debt estimation and Medium -Term Debt Management Strategy has obstructed the Parliament from recognizing the operational approaches and indexes which are used by the Government to assess the risks of the public debt. Moreover, the implementation report under the said Article 17 also lacks the public debt estimation and public debt risk assessment. On the subject of the law, there is no provision of law stating the duty of the Parliament concerning the administration or perception of the corrective measures in case the actual proportion of the public debt is not conformed with the public debt management framework proposed by the Government. Because of the limit within the law, the Government's reliability and efficacy in maintaining the target of the the public debt management framework regarding the proportion of the public debt is significantly tarnished. According to the above-mentioned restrictions, the author suggested as follows; 1) proposing the fiscal plan and Medium -Term Debt Management Strategy, including budget documents, to the Parliament; 2) introducing the public debt estimation information and public debt risk assessment to the implementation report; 3) In case the actual proportion of the public debt is not conformed with the public debt management framework, the Government must provide the cause, corrective measures, and period of time required to rectify such anomaly and report to the Parliament, which will equip the Parliament with the adequate information in order to administrate the public debt and will benefit the fiscal sustainability in the long term.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79433
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.691
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.691
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6085971034.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.