Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79436
Title: ข้อจำกัดทางกฎหมายของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา : ศึกษาเปรียบเทียบกรณีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
Other Titles: Legal limitations of the equitable education fund: a comparative study of the student loan fund
Authors: พสกร เขมะจารุ
Advisors: เอื้ออารีย์ อิ้งจะนิล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
ความเสมอภาคทางการศึกษา
กฎหมายการศึกษา
การศึกษากับรัฐ -- ไทย
Student loans
Educational equalization
Educational law and legislation
Education and state -- Thailand
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นปัญหาที่ถูกกล่าวถึงกันมาอย่างยาวนาน โดยล่าสุดได้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาขึ้นเพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสทางการศึกษาให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานของกองทุนดังกล่าวมีข้อพึงพิจารณาว่า อาจจะมีความซ้ำซ้อนกับการดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นทุนหมุนเวียนที่เกี่ยวข้องกับการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศเช่นเดียวกัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงข้อจำกัดทางกฎหมาย รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จากการศึกษา พบว่า กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษากับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่างก็เป็นทุนหมุนเวียนขนาดใหญ่ที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายเฉพาะและมีฐานะนิติบุคคลเช่นเดียวกัน แต่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจะจัดสรรเงินช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบทุนให้เปล่าจึงมีลักษณะเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อการสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม ในขณะที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจัดสรรเงินช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบทุนให้กู้ยืมจึงมีลักษณะเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืม โดยกองทุนทั้งสองมีกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องให้ความช่วยเหลือบางส่วนซ้ำซ้อนกัน และจากการศึกษาเปรียบเทียบกองทุนทั้งสองเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พบว่า กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาอาจมีปัญหาอันเนื่องมาจากการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินการไม่ชัดเจน ส่งผลทำให้ไม่สามารถกำหนดขอบเขตการดำเนินงานของกองทุนได้อย่างแน่ชัด และมีกลุ่มเป้าหมายที่ต้องให้ความช่วยเหลือหลายกลุ่ม ทำให้การจัดสรรงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมีปัญหาเกี่ยวกับแหล่งที่มาของรายได้ที่มีลักษณะไม่ต่อเนื่องและแน่นอนทำให้กองทุนน่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงทางการเงิน รวมทั้งปัญหาความไม่สอดคล้องของแนวทางการประเมินผลที่กำหนดไว้แตกต่างจากแนวทางของกรมบัญชีกลาง จึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยให้แก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายในส่วนที่กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของกองทุนให้ชัดเจน และควรกำหนดแหล่งรายได้ที่มั่นคงและแน่นอนให้แก่กองทุน รวมทั้งควรกำหนดวงรอบการประเมินผลกองทุนให้สอดคล้องกับแนวทางของกรมบัญชีกลาง ทั้งนี้ เพื่อให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามความมุ่งหมายของการจัดตั้ง
Other Abstract: Education inequality has been a controversial problem. Recently, in order to endow equal educational opportunities for the educational underprivileged people, Equitable Education Fund has been established. However, a redundancy of operation with Student Loan Fund should be concerned. The objective of this comparative study is to investigate possible legal limitations, problems, and obstacles in Equitable Education Fund comparing with Student Loan Fund. The findings illustrate that both Equitable Education Fund and Student Loan Fund share the same status as a large revolving fund established by specific laws and being a juristic person. The Equitable Education Fund allocates its financial aids to the target group as scholarship, considered as a revolving fund for social welfare. While the Student Loan Fund allocates its financial aids to the target group as loan fund, considered as a revolving fund for loan. The target group of both funds is overlapping. The analysis of possible problems and obstacles in Equitable Education Fund reveals that there is a problem caused from ambivalent objective determination. Therefore, operation scope could not be lucidly determined. In addition, since there are various target groups that must be concerned, the limited budget could not be effectively allocated to satisfy all target groups. There are problems in regard to discontinuous and uncertain sources of income which resulted in financial instability, and also an inconsistency assessment that determined differently from a guideline of the Comptroller General's Department. For the Education Equality Fund to operate effectively in accordance with the objective of its establishment, there are certain amendments of the provisions of the law that could be suggested. First, the operational objectives could be lucidly determined. Second, the sources of income could be specified in more continuous and certain approaches. Third, the fund assessment cycle could be scheduled in accordance with the guidelines of the Comptroller General's Department.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79436
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.701
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.701
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6085989434.pdf3.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.