Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79444
Title: | วิเคราะห์คำว่า “เหยียดหยาม” ในประมวลกฎหมายอาญา |
Other Titles: | Analysis of the word "vilification" in the criminal code of Thailand |
Authors: | ชมนัส เหลืองไตรรัตน์ |
Advisors: | คณพล จันทน์หอม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Subjects: | กฎหมายอาญา หมิ่นประมาท Criminal law Libel and slander |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาที่มา ความสำคัญ การปรับใช้ของกฎหมายอาญาเรื่องเหยียดยหยาม เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มีความชัดเจน และเป็นเอกภาพ จากการศึกษาพบว่าในประมวลกฎหมายอาญาเรื่องเหยียดหยามมีการนำมาใช้ใน 2 รูปแบบ กล่าวคือ เป็นองค์ประกอบภายในแบบเจตนาพิเศษ ในมาตรา 118 ความผิดฐานเหยียดหยามธงชาติไทย และมาตรา 135 ความผิดฐานเหยียดหยามธงรัฐอื่น และเป็นข้อเท็จจริงประกอบความผิดในมาตรา 206 ความผิดฐานเหยียดหยามศาสนา และมาตรา 366/4 ความผิดฐานเหยียดหยามศพ ทำให้เกิดความสับสน และเหลื่อมล้ำในตัวบทกฎหมายอีกทั้งมีความคลุมเครือว่าการกระทำใดบ้างจึงเรียกว่าเหยียดหยาม ตามประมวลกฎหมายอาญา วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเรื่องเหยียดหยามให้เป็นองค์ประกอบความผิดในรูปแบบเดียวกันทุกมาตราโดยเป็นองค์ประกอบภายในแบบเจตนาพิเศษโดยบัญญัติว่า "เพื่อเหยียดหยาม..." และเพิ่มเติมคำว่า "โดยตรง" ในตัวบทกฎหมาย เนื่องจากเรื่องเหยียดหยามต้องเป็นการกระทำต่อสิ่งที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองตามมาตรานั้นโดยตรงซึ่งจะทำให้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเกิดความชัดเจนว่าการกระทำใดจึงจะมีความผิดเรื่องเหยียดหยามในประมวลกฎหมายอาญา ลดการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาหรืออาศัยความเห็นของคนทั่วไปในสังคมที่ไม่มีความแน่นอน เมื่อเกิดความชัดเจนว่าการกระทำใดผิดเหยียดหยามและมีความเป็นเอกภาพในประมวลกฎหมายอาญาแล้วจะเป็นไปตามหลัก "ความชัดเจนแน่นอนของกฎหมายอาญา" |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to explore the origin, significance, and application of the criminal law on vilify matters to improve clarity and unity. According to the study, there are two forms of vilification in the Criminal Code, namely as a specific intent, in Section 118 (offense of vilifying the Thai flag) and Section 135 (offense of vilifying another state flag) of the offense under Section 206 (offenses of vilifying religion) and Section 366/4 (offenses of vilifying a corpse). Those prouision cause confusion and ignorance in the law. They are also ambiguous as to what actions are called vilify according to the criminal code. This thesis proposes to amend the Criminal Code on vilification to be an element of the same form of offense in every section by being an internal component with the specific intention and to add the word "direct" in the prouision since vilification is an act that is directly aimed at the protection of the law under those sections. It clarifies the criteria for determining what would constitute an offense of humiliation in the Criminal Code. It will reduce the judges' discretion and rely on the opinions of the general public in an uncertain society. When it becomes clear which act is blasphemous and each of such offense is united in the Penal Code, it follows the principle of "nullum crimen sine lege certa". |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79444 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.689 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.689 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280110334.pdf | 6.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.