Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79596
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดนุพล อริยสัจจากร-
dc.contributor.advisorพงษ์สันธ์ บัณฑิตสกุลชัย-
dc.contributor.authorสิริวัฒน์ วงศ์ประเสริฐผล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-07-23T04:24:55Z-
dc.date.available2022-07-23T04:24:55Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79596-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractงานศึกษานี้เป็นการจัดทำตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตแบบไฮบริด ของอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2562 โดยใช้ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ปีพ.ศ. 2558 ขนาด 180 สาขาการผลิต และข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อใช้ในการประเมินผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจด้วยแบบจำลองปัจจัยการผลิตและผลผลิต และประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยผ่านแบบจำลองปัจจัยการผลิตและผลผลิตแบบผสม ซึ่งผลจากการจัดทำตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตของอุตสาหกรรมพลาสติก แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทยมีมูลค่าผลผลิตรวม 9.16 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.27 ของมูลค่าผลผลิตรวมทั้งหมด ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายขั้นกลาง 6.86 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.95 ของค่าใช้จ่ายขั้นกลางรวมทั้งหมด และมูลค่าเพิ่มรวม 2.3 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.35 ของมูลค่าเพิ่มรวมทั้งหมด และจากผลการคำนวณค่าดัชนีตัวทวีคูณผลผลิต พบว่า สาขาการผลิตที่มีค่าดัชนีความเชื่อมโยงผลผลิตไปข้างหน้าของ Ghosh และค่าดัชนีความเชื่อมโยงผลผลิตข้างหลังของ Leontief สูงที่สุดและต่ำที่สุด คือ การผลิตและการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ และการผลิตเครื่องจักรแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติก ตามลำดับ ในขณะที่สาขาการผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำอยู่ในกลุ่มของการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ การผลิตเม็ดพลาสติก และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก นอกจากนี้ หากทำการพิจารณาในมิติทางด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า เมื่อมีการดำเนินนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับการลดละเลิกใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทต่าง ๆ จะส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของประเทศไทยลดลงร้อยละ 0.05 จากสถานการณ์ปกติ ขณะที่เมื่อภาครัฐมีการสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติก จะส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมของประเทศไทยลดลงร้อยละ 0.20 จากสถานการณ์ปกติ ซึ่งหากต้องการที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมพลาสติกให้เกิดการพัฒนาและสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภาครัฐควรที่จะมีการดำเนินนโยบายที่มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมปริมาณการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ประกอบกับสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น-
dc.description.abstractalternativeThis study aimed at constructing a hybrid input-output table for the plastics industry in Thailand in 2019, using the 2015 input-output tables of 180 manufacturing sectors, and the secondary data relating to plastic industrial entrepreneurs for the economic assessment with the input-output model and the environmental impact assessment. The construction of the hybrid input-output table of the plastics industry revealed that Thailand’s plastics industry had a production value totaling THB 916 billion, or 2.27% of the total production value, which included THB 686 billion, or 2.95% of the intermediate cost and THB 230 billion, or 1.35% of the total intermediate cost. According to the output multiplier index, it was found that the manufacturing sectors that had Ghosh’s forward linkage index and Leontief’s backward linkage index, at maximum and minimum levels respectively, were natural gas drilling and production and plastic processing machinery manufacturing, respectively. Simultaneously, the downstream industries were synthetic fiber production, plastic resin production, and plastic product manufacturing. An additional concern of the environmental dimension was when the state’s policy was associated with the reduction of plastic products, it would affect the reduction of Thailand’s greenhouse gas emissions by 0.05% from the normal situation. When the government policy supported plastic resin technological development, it impacted the reduction of Thailand’s greenhouse gas emissions by 0.20% from the normal situation. To encourage the plastics industry to develop and stimulate the economy in combination with environmental conservation, policy maker should proceed with a policy that would relate to the reduction of single-use plastics and support more research and developments of environmentally-friendly technologies in the plastic products manufacturing process. -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.475-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectอุตสาหกรรมพลาสติก -- ไทย-
dc.subjectปัจจัยการผลิต-
dc.subjectการวางแผนการผลิต-
dc.subjectPlastics industry and trade -- Thailand-
dc.subjectFactors of production-
dc.subjectProduction planning-
dc.subject.classificationEconomics-
dc.titleการจัดทำตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตเเบบไฮบริด และศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทย-
dc.title.alternativeThe construction of hybrid input-output table and economic impact of plastic industry in Thailand-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.475-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380027829.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.