Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79612
Title: ทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลที่มีต่อตราสินค้าเครื่องสำอางที่มีบุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นเจ้าของในประเทศไทยและต่างประเทศ
Other Titles: Attitude and purchase intention of millennial consumers toward the cosmetic brands owned by Thai and international celebrities
Authors: สิรีธร ศิวายพราหมณ์
Advisors: ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: เครื่องสำอาง
ผู้บริโภค -- ทัศนคติ
การเลือกของผู้บริโภค
การเลือกชื่อตราผลิตภัณฑ์
Cosmetics
Consumers -- Attitudes
Consumers' preferences
Brand choice
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์เอกสารจากบัญชีผู้ใช้อย่างเป็นทางการของตราสินค้าเครื่องสำอางไทยและต่างประเทศ บนช่องทางเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม จำนวน 373 ชิ้น เพื่อวิเคราะห์การสื่อสารการตลาดของตราสินค้าเครื่องสำอาง และการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มมิลเลนเนียล อายุ 26-38 ปี จำนวน 400 คน เพื่อสำรวจ อธิบายความสัมพันธ์และความแตกต่างของลักษณะทางประชากร ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค ผลการวิเคราะห์เอกสารพบว่า ตราสินค้าเครื่องสำอางไทยและต่างประเทศมีการสื่อสารการตลาดที่มีเนื้อหาเพื่อแจ้งให้ทราบมากที่สุด นิยมใช้โทนสีแบบสดใส ฉากประกอบแบบสตูดิโอ และบุคคลที่มีชื่อเสียงในลักษณะถ่ายแบบ ทั้งนี้พบว่าตราสินค้าไทยจะมีลักษณะการให้ข้อมูลที่ละเอียดมาก ในขณะที่ตราสินค้าต่างประเทศจะมีการให้ข้อมูลที่ละเอียดน้อย ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับของทัศนคติในด้านเนื้อหาเพื่อให้ความรู้ และการให้ข้อมูลที่ละเอียดมากมากที่สุด โดยผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ และทัศนคติต่อตราสินค้าเครื่องสำอางไทยและต่างประเทศ มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งอายุและรายได้ ส่งผลต่อทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดออนไลน์ และเพศ อายุ และรายได้ ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ อีกทั้งทัศนคติต่อตราสินค้าเครื่องสำอางไทยและทัศนคติต่อตราสินค้าเครื่องสำอางต่างประเทศ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความชื่นชอบ ด้านความซื่อสัตย์ และด้านการรับรู้อำนาจ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: In this quantitative research, the method uses documentary analysis to analyze marketing communications, in total 373 posts, on Facebook and Instagram accounts of Thai and international cosmetics brands. And uses survey research method with online questionnaire to collect data from 400 Millennial participants aged between 26 to 38 years to examine, explain, and test the differences in demographic, attitude, and purchase intention. According to the study, Thai and international cosmetics brands mostly present the inform content and brilliant color tones, studio backgrounds, and celebrities in modeling positions. However, compared to international cosmetics brands, Thai cosmetics brands frequently present more information content. According to survey data, consumers have positive attitude toward the educational and more information content. The results show that attitude toward online marketing communications and toward Thai and international cosmetics brands are related with purchase intention. Age and income have an impact on attitude toward online marketing communications. Gender, age, and income have an impact on purchase intention. Moreover, there is difference in attitudes toward Thai and international cosmetics brands at statistically significant level of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79612
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.679
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.679
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380056728.pdf5.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.