Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80278
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนสำนักทะเบียนอำเภอสู่ศูนย์ราชการสะดวก :กรณีศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ |
Other Titles: | Factors effecting driving the district registration offices to the Government Easy Contact Centers : a case study of Nakhon Sawan province |
Authors: | นฤดล กลันทกพันธุ์ |
Advisors: | วันชัย มีชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาถึงการนำนโยบายการขับเคลื่อนสำนักทะเบียนอำเภอสู่ศูนย์ราชการสะดวกไปปฏิบัติ โดยใช้กรณีศึกษาของจังหวัดนครสวรรค์ ที่ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 2 ปี (พ.ศ. 2563 – 2564) ซึ่งมีสำนักทะเบียนผ่านการรับรองศูนย์ราชการสะดวก 14 แห่ง จาก 878 แห่งทั่วประเทศ และจังหวัดนครสวรรค์ ยังไม่มีสำนักทะเบียนใดผ่านการรับรอง ผู้วิจัยในฐานะเป็นผู้ปฏิบัติงานทะเบียนจึงสนใจในปรากฏการณ์ดังกล่าวเนื่องจากเป็นนโยบายที่ผู้บริหารของกรมการปกครองให้ความสำคัญ ว่ามีปัจจัยปัญหาอุปสรรคอย่างไรในการดำเนินงาน และควรมีแนวทางอย่างไรเพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายได้สำเร็จ ด้วยหวังดีเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยสะท้อนมุมมองของผู้ปฏิบัติงานทะเบียน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งการศึกษาจากเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งต่อผลการนำนโยบายการขับเคลื่อนสำนักทะเบียนอำเภอสู่ศูนย์ราชการสะดวกไปปฏิบัติ คือ รูปแบบของบริการสาธารณะมีวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายของนโยบาย ทัศนะคติของผู้ปฏิบัติงานที่กลัวการรับผิด กระบวนการเข้ารับการประเมินที่มีความยุ่งยาก ทรัพยากรไม่เพียงพอ และผู้นำระดับพื้นที่ไม่ได้ให้ความสำคัญ รวมถึงได้มีข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย ถือเป็นการสร้างข้อสรุปย่อยไปสู่ข้อสรุปทั่วไปที่เชื่อว่าจะนำไปใช้กับสำนักทะเบียนอื่นๆ ได้ต่อไป เนื่องจากอยู่ภายใต้บริบทของกฎหมาย และรูปแบบของกระบวนการเข้ารับการประเมินที่เหมือนกัน |
Other Abstract: | This thesis studied about implementing the policy in driving Nakhon Sawan’s district registration offices to the Government Easy Contact Center (GECC). During the past two years from 2020-2021 (B.E. 2563-2564), there are 14 GECCs out of 878 district registration offices countrywide. None of the Nakhon Sawan’s district registration offices have been certified as the GECC. The researcher was interested in this phenomenon because it related to the policy that the administrators of the Department of Provincial Administration were concerned. The objectives aimed to (1) identify factors in the operations and (2) identify guidelines for driving the policy successfully. The qualitative method was utilized. The data were collected by studying the evidentiary documents and conducting the in-depth interviews. The research findings showed the factors affecting the implementation of the policy in driving Nakhon Sawan’s district registration offices to the GECC which were the inconsistency between the objectives of the public service categories and the policy goals, the officers’ attitude of liability fear, the inconvenient evaluation process, the insufficient resources, and the unconcerned regional leaders. The guidelines were suggested for driving the policy which can be generalized and applied in other district registration offices under the same laws and evaluation process |
Description: | สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80278 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.418 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.418 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Pol - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6282023124.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.