Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80279
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีศึกษา โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย |
Other Titles: | Factors affecting online teaching and learning of the secondary school under the epidemic situation of the Coronavirus disease 2019 (COVID-19) : a case study Samsenwittayalai School |
Authors: | นัชชา จิตต์กูลสัมพันธ์ |
Advisors: | ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และเพื่อเสนอแนวทางหรือเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยการแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 210 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ 9 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า 1) ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า สถานะทางอาชีพ เศรษฐสถานะและสถานะทางการเงินมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับมากตามลำดับและผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนออนไลน์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างมีนัยสำคัญและ 2) แนวทางหรือเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ควรมีแนวทางหรือเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนคือ การใช้วิธีแบบผสมผสาน การกระชับหลักสูตรและปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด 19 การเรียนการสอนด้วยระบบ E-Learning การแบ่งระยะเวลาที่เหมาะสม การคิดค้นกระบวนการวิธีการสอนที่เหมาะสมและใช้แนวคิดในการสลับกันเรียนเพื่อลดการพบปะและยังเป็นไปตามมาตรการการป้องกันอย่างถูกวิธีซึ่งจะทำให้นักเรียนได้เปลี่ยนสถานที่ในการเรียนอีกทางหนึ่ง |
Other Abstract: | The purpose of this quantitative research were to analyze factors that influenced online study at primary education level and to recommend the guidelines or techniques in managing the study at primary education level under the COVID-19 pandemic situation. The research instruments used in collecting the data were a four-point Likert scale questionnaire responded by 210 samples and the in-depth interview form from 9 key informants. The data was analyzed using descriptive statistics and, the hypothesis was also examined using Pearson Correlation-Coefficient and content analysis. The results of the study revealed that the economic factor impacted online study at primary education level during the COVID-19 pandemic situation with an average at high level. This study confirmed earlier reported findings that the career status, the economic status, and financial status had an average at high level respectively. According to the test of hypotheses, it showed that the economic factor had a significant correlation with online study at primary education level during the COVID-19 pandemic situation and the guidelines in managing the study at primary education level was suggested to use the mixed methods, together with tightening curriculum and adjusting to be consistent with the situation of COVID-19 by using E-Learning, allocating time appropriately, conceiving appropriate teaching methods, and utilizing the concepts in alternating study so as to reduce interaction as well as to abide by preventive measures correctly, which can also allow students to change places of study alternatively. |
Description: | สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80279 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.415 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.415 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Pol - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6282024824.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.