Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80398
Title: | การศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณเชื้อในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเดงกี กับอาการทางคลินิก |
Other Titles: | The correlation of dengue viral load and clinical presentation in dengue patients |
Authors: | ธงชัย คุณช่างทอง ธนกร งามวงศ์เวชกุล อาทิตยา วรรคย์วทัญญู |
Email: | aramwit@gmail.com |
Advisors: | พรอนงค์ อร่ามวิทย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Subjects: | ไวรัสเดงกี ไข้เลือดออก |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โรคติดเชื้อเดงกี (Dengue illness) สาเหตุเกิดจากเชื่อไวรัสเดงกี ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2, DENV-3 และ DENV-4 โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการของโรคเป็นได้ทั้งไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ที่เรียกว่า ไข้เดงกี (DF) จนถึงมีอาการระดับรุนแรง คือไข้เลือดออกเดงกี (DHF หรือไข้เลือดออกช็อค (DSS) ในประเทศไทยมี การแพร่ระบาดทั่วประเทศ และพบการเกิดโรคได้ในทุกกลุ่มอายุ มีอัตราการเสียชีวิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาทันเวลา และเหมาะสม ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบกลไกการเกิด DHF และ DSS ที่แน่ชัด แต่พบว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น ปัจจัยจากตัวผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ โรคร่วม หรือปัจจัยจากไวร้ส ได้แก่ สายพันธุ์ของไวรัส ปริมาณเชื้อไวรัส ซึ่งจะ ส่งผลให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่ต่างกัน ดังนั้นเพื่อที่จะหาตัวบ่งชี้ในการเกิดโรคที่รุนแรง จึงทำการศึกษาหา ปริมาณเชื้อไวรัสเดงกี (via load) ในเลือดที่สัมพันธ์กับกรติดเชื้อที่เกิดอาการรุนแรง (ไข้เลือดออกเดงกี และ ไข้เลือดออกช็อค) ร่วมกับสังเกตปัจจัยอื่นที่มีผลร่วมด้วย การศึกษานี้เป็นการศึกษารูปแบบ prospective observation study โดยวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยจากศูนย์ความ เป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคตในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จากเก็บข้อมูล ณ โรงพยาบาลบ้านโป้ง และ โรงพยาบาลโพธาราม ได้แก่ ปริมาณไวรัส (viral load) ในรูปแบบปริมาณ RNA copies ชนิด serotype อายุ เพศ อาการร่วม ระหว่างกลุ่มที่มีอาการรุนแรงและกลุ่มที่ไม่มีอาการรุนแรงทั้งสิ้น 274 คน จัดเป็นกลุ่มที่อาการไม่รุนแรง (DF) 248 คน (ร้อยละ 90.55) และกลุ่มที่ มีอาการรุนแรง (DHF/DSS) 26 คน (ร้อยละ 9.45) จากกรวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ปัจจัที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ปริมาณไวรัสเดงก็ในเลือด (dengue viral load) (p-value = 0.037) และผู้ปวยที่มีโรคเบาหวานร่วม (p-value = 0.046) จากการศึกษา แสดงให้เห็นว่า การตรวจพบปริมาณไวรัสเดงก็ในเลือด (dengue viral load) มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการทาง คลินิกที่รุนแรง (DHF/DSS) แต่เนื่องจากการแจกแจงความถี่ของทั้ง 2 กลุ่มที่ไม่ต่างกันมาก ทำให้ไม่สามารถระบุจุดตัด ของปริมาณไวรัสที่บ่งบอกภาวะไข้เลือดออกรุนแรงได้ และโรคเบาหวานเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรง ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการศึกษาในอนาคตอาจศึกษาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเดงกีที่เกิดอาการรุนแรงจำนวนมากกว่านี้ และควบคุมลักษณะผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ให้มีลักษณะที่คล้ายกันมากขึ้น เช่น มี โรคประจำตัวเหมือนกัน เพื่อลดปัจจัย รบกวนที่อาจจะส่งผลต่อปริมาณไวรัส หรืออาการแสดงทางคสินิก |
Other Abstract: | Dengue is a viral disease caused by the dengue virus which has four serotypes, called DENV-1, DENV-2, DENV-3, and DENV-4, and Aedes mosquitoes are vectors. Clinical symptomns can be asymptornatic or mild symptorns including dengue fever (DF) or severe symptorns such as dengue hemorrhagic fever (DHF) or dengue shock syndrome (DSS). In Thailand, there is an epidernic all over the country that was found in all age groups. It has a high mortality rate If not given timnely and appropriate treatment. Currently, there is no explicit mechanism of how DHF or DSS happened but many factors either from host factors such as age and gender or viral factors such as serotype and viral load contribute to different immnune responses. Therefore, to find the viral load amount that can be an indicative factor for predicting severe symptoms of dengue patients, we are doing a prospective observational study to find a relationship between viral load and severe clinical symptoms, moreover, we also obsenved other factors that may be associated. Information of patients from Photharam Hospital and Banpong Hospital was collected from Excellence Center for Critical Care Nephrology Chulalongkorn University including viral load (in RNA copies form), virus serotype, gender, and co-morbidity of both mild and severe groups. From 274 data collected, 248 patients (90.55%6) were classified as mild (DF) and 26 (9.45%) were severe (DHF/DSS). From the statistical analysis, it was found that the factors that had a statistically significant effect were dengue viral load (p-value = 0.037) and patients with concomitant diabetes (p-value = 0.046). However, since the frequency distribution of the two groups is not very different, this makes it impossible to determine the cut-point of viral loads to indicate severe dengue fever. To conclude, this study shows the detection of higher blood dengue viral load and host factor that is diabetes mellitus may be associated with the occurrence of severe clinical symptoms (DHF/DSS). Further recommendations for future studies are to investigate more severe cases of dengue infection and control the characteristics of patients in both groups to have more similar characteristics, such as having the same chronic disease to reduce interference factors that may affect viral load or clinical symptorns. |
Description: | โครงการปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปีการศึกษา 2564 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80398 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Pharm - Senior projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pharm_SeniorProject_1.9_2564.pdf | ไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม | 2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.