Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80403
Title: | การศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์คีเลชัน ของโลหะของแอสตาแซนธินใน Haematococcus pluvialis |
Other Titles: | Evaluation of the anti-tyrosinase, antioxidant, and metal chelating activities of astaxanthin in Haematococcus pluvialis |
Authors: | ภัทรสุดา พงศ์ภัทรานนท์ พิมพ์สรวง ยิ้มละมัย |
Advisors: | รมย์ฉัตร ชูโตประพัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Subjects: | เอนไซม์ Enzymes อนุมูลอิสระ Free radicals (Chemistry) |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สารแอสตาแซนธิน คือ สารในกลุ่มแคโรที่นอยด์ มีสีแดง ละลายได้ในไขมัน แหล่งจากธรรมชาติที่ พบสารแอสตาแซนธินได้มากที่สุดคือ Hgematococcus pluvialis โดยสารแอสตาแซนธินนี้ได้รับความสนใจ จากนักวิจัยทั้งทางอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอางเนื่องจากประโยชน์ที่หลากหลายของแอสตาแซนธิน อาทิ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ตามยังไม่พบงานวิจัยที่ศึกษาผลของรูปแบบที่ต่างกันของสารสกัต แอสตาแชนธิน เช่น ในรูปน้ำมันและเรชินต่อฤทธิ์ทางชีวภาพที่ได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ คีเลชันของโลหะและการยับยั้งเอนไชม์ ไทโรชิเนสของสารสกัดแอสตาแซนธินในรูปของน้ำมัน (oil) และโอลีโอเรซิน (oleoresin) ที่มีจำหน่ายใน ท้องตลาด โดยมีการพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารสกัดแอสตาแซนธินทั้ง 2 ชนิด โดยใช้เครื่อง UV spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น 300-700 กm ในการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทำโดยวิธี DPPH และใช้อัลฟาโทโคฟีรอลเป็นกลุ่มควบคุมผลบวก ส่วนการศึกษาฤทธิ์คีเลชันของโลหะทำโดยวิธีการคีเลชันของ เฟอร์รัสไอออนและใช้ EDTA เป็นกลุ่มควบคุมผลบวก ในการศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสจะใช้แอล ไทโรซีนเป็นสารตั้งต้นปฏิกิริยากับเอนไซม์ทโรชิเนสจากเห็ดเพื่อให้เกิดเม็ดสีเมลานิน โดยใช้กรดโคจิกเป็น กลุ่มควบคุมผลบวก จากผลการศึกษาที่ได้ พบว่าสารสกัดแอสตาแซนธินในรูปของ oil และ o(eoresin มี ลักษณะการดูดกลืนแสงที่คล้ายกัน โดยความยาวคลื่นที่สารสกัดดูดกลืนแสงได้มากที่สุด คือ 476 กm สารสกัด แอสตาแชนธินในรูปของ oil มีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระโดยมีค่า ICso เท่ากับ 0.4981 t 0.17 m/mL นอกจากนี้ สารสกัดแอสตาแชนธินในรูปของ ๑i! ที่ความเข้มข้น 500 ug/mL มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่า ในรูปของ oleoresin ถึง 3 เท่า ส่วนอัลฟาโทโคฟีรอลแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้โดยมีค่า ICs เท่ากับ 19.25 + 0.08 ug/mL ในส่วนของฤทธิ์คีเลชันของโลหะพบว่าสารแอสตาแซนธินทั้งในรูป oil และ oleoresin ไม่มีฤทธิ์คีเลชันของโลหะ อย่างไรก็ตามสารแอสตาแชนธินในรูปของ oeoresin ที่ความเข้มขันต่ำ ๆ พบเกิด การคีเลชันของโลหะเพิ่มขึ้น ส่วน EDTA แสดงฤทธิ์คีเลชันของโลหะได้โดยมีค่า ICso เท่ากับ 20.65 + 0.98 19/mLในส่วนของฤทธิ์ยับยั้งเอนซม์ไทโรชิเนสไม่สามารถทดสอบได้เนื่องจากพบปัญหาเกี่ยวกับเอนไซม์ไทโร ซิเนส การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารแอสตาแซนธินในรูปของ oil และ leoresin มีความสามารถในการออก ฤทธิ์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าสารแอสตาแชนธินในรูปของ oil มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นสาร ออกฤทธิ์ทางยาและเครื่องสำอางเพื่อหวังผลในด้านฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ |
Other Abstract: | Advisor/Co-advisor : Romchat Chutoprapat, Ph.D. Field/Department : Pharmaceutical Technology/ Pharmaceutics and Industrial Pharmacy Astaxanthin, a xanthophyll carotenoid, a red fat-soluble pigment, is naturally found in marine organisms. The richest source of natural astaxanthin is H. pluvialis. Astaxanthin from H. pluvialis has attracted researchers' attention in the pharmaceutical and cosmetic industries as its potential benefits, especially its potent antioxidant activity. However, there was no research had been conducted on the effect of the different forms of Astaxanthin extract such as oil and resin on its biological activity. This study investigated three activities, including antioxidant, metal chelating activity, and the anti-tyrosinase (whitening potential, of commercially available astaxanthin extracts from H. pluvialis in oil and oleoresin forms. Characterization of astaxanthin oil and oleoresin was examined by UV spectrophotometry at the 300-700 nm wavelength. The antioxidant activity was measured using the DPPH assay with Q-Tocopherol as a positive control. The metal chelating activity was determined by the ferrous ion chelating activity method with EDTA as a positive control. The anti-tyrosinase activity was determined by using L-Tyrosine as a substrate together with mushroom tyrosinase to form melanin pigment. Kojic acid was used as a positive control. Astaxanthin oil and oleoresin had similar light absorbance characteristics with Amx at 476 nm. Astaxanthin oil showed an excellent antioxidant with the half maximal inhibitory concentration (ICso of 0.4981 + 0.17 mg/mL. The radical scavenging activity of astaxanthin oil, at the concentration of 500 Hg/mL, was 3 times higher than that of oleoresin. The Q-Tocopherol gave a radical scavenging activity with ICso of 19.25 + 0.08 ue/mL. Both astaxanthin oil and oleoresin demonstrated no metal chelating activity, but oleoresin at the low concentrations increased a metal chelation. The EDTA showed a metal chelating activity with ICso of 20.65 + 0.98 pe/mL. Unfortunately, anti-tyrosinase activity was not conducted in this study due to a problem with mushroom tyrosinase (degradation of enzyme). These findings indicated that the different forms of the extract, astaxanthin oil and oleoresin, could give significant different effect on their biological activities. Astaxanthin oil from H. pluvialis can be preferably used as an active ingredient in pharmaceutical products and skincare or cosmetic formulation because of its antioxidant property. |
Description: | โครงการปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80403 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Pharm - Senior projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pharm_SeniorProject_2.1_2564.pdf | ไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม | 2.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.