Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80404
Title: | การพัฒนาเอนแคปซูเลชันน้ำมันหอมระเหย เพื่อใช้ในเครื่องสำอางสำหรับเส้นผม |
Other Titles: | The development of encapsulation of essential oil for hair-care cosmetics |
Authors: | ธันย์จิรา พุทธานรเศรษฐ์ |
Advisors: | รมย์ฉัตร ชูโตประพัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Subjects: | น้ำมันหอมระเหย เครื่องสำอาง Essences and essential oils Cosmetics |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ชีวิตประจำวันรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเส้นผม เช่น น้ำหอมฉีดผม อย่างไรก็ตามน้ำมันหอมระเหยเป็นสารที่มี โมเลกุลขนาดเล็กระเหยได้เร็วรวมถึงเสื่อมสลายได้ง่ายเมื่อเจอกับออกซิเจนในอากาศ ทำให้กลิ่นหอมที่ได้ไม่คงทน ดังนั้นจึงต้องหาเทคนิคที่เหมาะสมที่ช่วยลดอัตราการระเหยของ EO ให้กลิ่นสามารถอยู่บนเส้นผมได้นานขึ้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอนุภาคขนาดไมครอนเก็บกักน้ำมันหอมระเหย (microencapsulation of EO) เพื่อให้กลิ่นหอมคงอยู่นานขึ้น โดยใช้น้ำมันหอมระเหยเจอราเนียม (geranium oil) ความเข้มข้น 0.5% เป็น สารสำคัญ และใช้ไคโตชานเป็นสารห่อหุ้มซึ่งในการทดลองนี้จะใช้ไคโตซานทั้งหมด 3 ความเข้มขัน คือ 0.5, 1.0, และ 1.5 %w/w แล้วนำไปผ่านกระบวนการ homogenization 2 วิธี วิธีที่ 1 เตรียมโดยเครื่ อง rotor-stator homogenizer ด้วยความเร็วรอบ 15,000 rPm เป็นเวลา 4 นาที วิธีที่ 2 เตรียมโดยเครื่ อง rotor-stator homogenizer ด้วยความเร็วรอบ 15,000 rpm เป็นเวลา 4 นาที ตามด้วย high pressure homogenizer ที่ความ ดัน 100 - 120 MPa จำนวน 1 รอบ หลังจากนั้นทำการประเมินความคงตัวของอนุภาคที่เตรียมได้ โดยเก็บผลิตภัณฑ์ ที่เตรียมได้ไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 21 วัน และมีการติดตามผลทุก ๆ 7 วัน โดยสังเกตลักษณะภายนอก คือ ความ เป็นเนื้อเดียวกันและการแยกชั้น วัดค่าพืเอช ประเมินลักษณะสัณฐานวิทยาของอนุภาค (morphology) โดยใช้กล้อง จุลทรรศน์ Microscope (Nikon) กำลังขยาย 100x และวัดขนาดและการกระจายของขนาดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ Invert Microscope (Nikon TS2) กำลังขยาย 40x โดยสุ่มวัดขนาดอนุภาคจำนวน 100 อนุภาค จากนั้นทำการ คัดเลือกสูตรที่ดีที่สุด 3 สูตร เพื่อนำไปประเมินด้านความรู้สึก (sensory evaluation) โดยทดสอบกลิ่นหอมของ gera n ium oil ที่คงอยู่หลังสเปรย์อนุภาคที่เตรียมได้ลงบนเส้นผมนาน 120 นาที และทดสอบความสามารถในการเพิ่ม ความนุ่มลื่นและความเงางามของเส้นผม จากผลการทดลองที่ได้ พบว่าอนุภาคขนาดไมครอนที่เตรียมขึ้นโดยวิธีที่ 2 ทุกสูตรมีความคงตัวทางกายภาพ ไม่แยกชั้นเมื่อเก็บที่อุณหภูมิห้องนาน 21 วัน โดยสูตรที่มีการเติมสารกันเสียมีค่าพี เอชคงที่ เมื่อดูสัณฐานวิทยาของอนุภาคที่ได้ผ่านกล้องจุลทรรศน์ Microscope (Nikon) พบหยดน้ำมัน (oil droplet) กระจายอย่างสม่ำเสมอในวัฏภาคภายนอก โดยทั้ง 3 สูตรมีขนาดอนุภาคเฉลี่ยหลังเตรียมเสร็จทันที และหลังเก็บเป็นระยะเวลา 21 วัน เท่ากับ 0.14 + 0.06 [m และ 0.14 : 0.05 [m ตามลำดับ ซึ่งขนาดอนุภาคที่ได้ไม่มีความ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของ sensory test พบว่าอนุภาคที่เตรียมจากไคโตซาน 1.5% ให้กลิ่น หอมของ geranium oi ที่เวลา 120 นาทีหลังใช้สูงกว่าอนุภาคที่เตรียมจากไคโตซาน 0.5 และ 1.0% และสูตรที่ไม่มี การใส่ chitosan อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และอนุภาคที่เตรียมจากไคโตซาน 1.0 และ 1.5% ช่วยเพิ่ม ความนุ่มลื่นและความเงางามได้ดีกว่าอนุภาคที่เตรียมจากไคโตซาน 0.5% ดังนั้นอนุภาคขนาดไมครอนที่เตรียมขึ้นจาก ไคโตชาน 1.5% เก็บกักน้ำมันหอมระเหยเจอราเนียม เป็นสูตรที่ดีที่สุดที่อาจนำไปพัฒนาต่อเพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ น้ำหอมฉีดผมต่อไป |
Other Abstract: | Nowadays, essential oil (EO) is widely used in various products in daily life including products for hair, such as hair mist. However, EO is a substance that has small molecules which evaporate quickly and decay when exposed to oxygen in the air. These can cause a short-duration scent. Therefore, it is necessary to find a suitable technique to reduce the evaporation rate of EO so that the smell can last long on the hair. The objective of this study is to develop microencapsulation of EO to make the scent last longer by using geranium essential oil at 0.5% as the main substance and chitosan as a coating material. In this experiment, three concentrations of chitosan; 0.5, 1.0, and 1.5%w/w, were used for microencapsulation of EO by two different methods. Method 1, the microparticles were prepared by using the rotor-stator homogenizer machine at 15,000 rpm for 4 minutes. Method 2, the microparticles were prepared by using the rotor-stator homogenizer machine at 15,000 rpm for 4 minutes, and subsequently subjected to the high-pressure homogenizer with a pressure of 100-120 MPa for one cycle. The obtaining microparticles were kept at room temperature (RT) for 21 days and determined the physical appearance (homogeneity and phase separation), and the pH at every 7 days. The morphology was assessed by using a Microscope (Nikon) at 100x. The particle size was measured using an Inverted Microscope (Nikon TS2) at 40x and the randomly selected 100 particles were used for size determination. Three of the best formulations were selected for the sensory evaluation. The scent of geranium oil encapsulated in microparticles wastested after spraying on the hair for 120 minutes. The ability of obtaining microparticles to increase the smoothness and shine of the hair was also assessed. From the results, it was found that the microparticles produced by method 2 were physically stable after 21 days of storage. The formulas containing preservative had a constant pH value. The morphology of microparticles appeared as the oil droplets evenly distributed in the external phase. The particle sizes of three selected formulations immediately after preparation and after storage at RT for 21 days were 0.14+ 0.06 JUum and 0.14+0.05 Mum, respectively (p>0.05). The results from sensory evaluation demonstrated that the microparticles containing 1.5%chitosan gave higher scent of geranium oil at 120 minutes after use, than those containing 0.5 and 1.0%chitosan, and the chitosan-free formulations (p<0.05). The microparticles composed of 1.0 and 1.5% chitosan provided better hair softness and shine than 0.5% chitosan. Therefore, the microparticles with 1.5% chitosan might be a potential formula for further development and use as a hair mist product. |
Description: | โครงการปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80404 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Pharm - Senior projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pharm_SeniorProject_2.2_2564.pdf | ไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม | 5.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.