Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80476
Title: การศึกษากลวิธีการแปลหน่วยสร้างกริยาเรียง (serial verb construction) ในนวนิยายเรื่อง ข้างหลังภาพของศรีบูรพา : เปรียบเทียบสำนวนแปลของเดวิด สไมท์ และ ซูซาน ฟุลอป เคปเนอร์
Other Titles: Strategies for the translation of serial verb constructions in the novel Behind the Painting by Siburapha : a comparative study of the English tanslations by David Symth and Susan Fulop Kepner
Authors: กนิษฐ์ ฉินสิน
Advisors: ปรีมา มัลลิกะมาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Prima.M@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- คำกริยา -- การแปลเป็นภาษาอังกฤษ
การแปลและการตีความ
Thai language -- Verb -- Translating into English
Translating and interpreting
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษากลวิธีการแปลหน่วยสร้างกริยาเรียง (serial verb construction) จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่มีในภาษาต้นทางแต่ไม่มีในภาษาปลายทางจึงมักก่อให้เกิดปัญหาในการแปล การวิจัยใช้ข้อมูลจากต้นฉบับนวนิยายเรื่อง ข้างหลังภาพ ที่เขียนโดยศรีบูรพา และฉบับแปลสำนวนของเดวิด สไมท์ และของซูซาน ฟุลอป เคปเนอร์ นำมาศึกษาเปรียบเทียบกัน โดยกำหนดขอบเขตการวิจัยเฉพาะหน่วยสร้างกริยาเรียงประเภทที่แสดงการเกิดต่อเนื่องกันของเหตุการณ์ (sequential) มีจำนวนทั้งสิ้น 137 หน่วยสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อเปรียบเทียบความเหมือนต่างระหว่างกลวิธีการแปลในบทแปลทั้งสองสำนวน ตามด้วยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพเพื่อดูการเกิด translation shift ตามหลักทฤษฎีการแปลเชิงภาษาศาสตร์ (Linguistic Theory of Translation) ของ John C. Catford และการแปลแบบรวบความหมายหรือละกริยาบางคำตามแนวทางการแปลแบบตีความ (Interpretive Approach) ที่เสนอโดย Jean Delisle ประกอบกับแนวทางการวิเคราะห์ตัวบทประเภทนวนิยายของ Jeremy Hawthorn หลังจากได้ผลการวิเคราะห์เชิงทฤษฎีแล้วจึงทำการสัมภาษณ์ผู้แปล ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณสรุปได้ว่าส่วนใหญ่ผู้แปลทั้งสองใช้กลวิธีการแปลต่างกัน ส่วนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพแสดงให้เห็นว่าบทแปลที่ปรากฏคำแปลของหน่วยสร้างกริยาเรียงชัดเจนจะเกิด translation shift ขึ้นทั้งหมด โดยประเภทที่เกิดมากที่สุดคือ unit-shift ในลักษณะการแปลกลุ่มคำกริยาเรียงในภาษาไทยเป็นคำกริยาคำเดียวในภาษาอังกฤษ และ class-shift ในลักษณะการเปลี่ยนคำกริยาตัวหลังในหน่วยสร้างจากกริยาแท้เป็นกริยาไม่แท้ เมื่อนำข้อมูลมาสังเคราะห์กับคำตอบที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ผู้แปล ได้ข้อสรุปว่าแม้ผู้แปลจะไม่ได้คำนึงถึงทฤษฎีการแปลหรือรูปแบบทางไวยากรณ์ของภาษาต้นทาง แต่ผู้แปลก็ใช้กลวิธี translation shift ตามทฤษฎีการแปลเชิงภาษาศาสตร์ หรือไม่เช่นนั้นก็จะแปลโดยละคำกริยาหรือรวบความหมายของคำกริยาไปกับความหมายของทั้งประโยคตามแนวทางการแปลแบบตีความ นอกจากนี้ ผู้แปลที่เน้นการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของเรื่องยังให้ความสำคัญแก่การวิเคราะห์องค์ประกอบทางวรรณกรรมของตัวบทอีกด้วย
Other Abstract: The aim of this research is to study the strategies used in translating Thai serial verb constructions (SVCs) into English. Existing in Thai but not in English, this structure often causes problems in translation. The data used in the research were taken from the novel Behind the Painting by Siburapha and its English translations by David Smyth and Susan Fulop Kepner, and were examined comparatively. The scope of study is limited to SVCs describing sequential events, of which there are 137 samples in total. A quantitative analysis was conducted first to compare and contrast the translation strategies used in the two versions, followed by a qualitative analysis on the occurrences of translation shifts based on the linguistic theory of translation proposed by John C. Catford (1980) and the translation by combining meanings or omission according to the interpretive approach of Jean Delisle (1988). Jeremy Hawthorn’s approach to fiction analysis was also applied. After the results of the theoretical analysis were obtained, the translators of both versions were interviewed. The quantitative analysis reveals that in the majority of cases, the translators employed different strategies. The qualitative analysis further shows that a translation shift occurs in every instance where the target text contains a specific translation of the SVC. The most prevalent types of translation shifts are unit-shift in which a verb group in the Thai SVC is translated into a single verb in English, and class-shift in which the second finite verb in the SVC is translated into a non-finite verb. Based on the translators’ answers to the interview questions, it can be concluded that while the translators paid no attention to translation theories or the grammatical structure of the source text, they intuitively adopted translation shift strategies under the linguistic theory of translation, or alternatively omitted the SVCs or combined their meanings with the meaning of the whole sentence in line with the interpretive approach. In addition, the translator who focused on conveying the feel and emotions of the story to the readers also put an emphasis on the analysis of the literary elements of the source text.
Description: สารนิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การแปลและการล่าม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80476
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2016.2
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2016.2
Type: Independent Study
Appears in Collections:Arts - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanit C_tran_2016.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.