Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80589
Title: | การสร้างเครื่องมือวัดค่าสัมประสิทธิ์ซีเบคของของเหลว |
Other Titles: | Construction of apparatus for Seebeck coefficient of liquid measurement |
Authors: | ธีริสรา มั่งเรืองสกุล |
Advisors: | สมชาย เกียรติกมลชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | เครื่องวัดอุณหภูมิ วัสดุเทอร์โมอิเล็กทริก Temperature measuring instruments Thermoelectric materials |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงงานนี้ได้ออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดค่าสัมประสิทธิ์ซีเบคของของเหลว เครื่องมือวัดประกอบด้วยวงแหวนแก้ว ซึ่งประกบส่วนบนและล่างด้วยแผ่นแพลทินัม แวกซ์ดำถูกทาระหว่างวงแหวนแก้วกับแผ่นล่างเพื่อกันซึม โดยวางอยู่บนฐานทองเหลืองที่ตั้งบนแผงระบายความร้อน และมีภาชนะทองเหลืองก้นแบนวางบนแผ่นแพลทินัมแผ่นบน การวัดอุณหภูมิใช้เทอร์โมคัปเปิลชนิด K สอดไว้ที่ฐานทองเหลืองและก้นแบน วัดความต่างศักดิ์ระหว่างแผ่นแพลทินัมทั้งสองด้วยมัลติมิเตอร์ (Keithley 2700) ที่ติดตั้งสแกนเนอร์ (Keithley 7710) ทำการทดสอบเครื่องมือด้วยน้ำผสมกับสารคู่ควบรีดอกซ์ (Redox couple) คือลิเทียมไอโอไดด์ และไอโอดีนที่มีความเข้มข้น 0.4 โมลาร์ เพื่อเปรียบเทียบกับค่าที่เคยมีการ รายงานไว้แล้ว ซึ่งมีค่าเท่ากับ 530±40 μV/K [1] โดยทำการทดสอบทั้งหมดสามรอบ พบว่าค่าสัมประสิทธิ์ซีเบคเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ -442±94, -520±140 และ -443±8 μV/K ตามลำดับ สรุปได้ว่าความแม่นยำและเที่ยงตรงของเครื่องมือวัดนี้ยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงได้ทดลองวัดแบบรบกวนระบบ โดยนำสารละลายออกจากวงแหวนแก้ว แล้วทำความสะอาดวงแหวนแก้วและแผ่นแพลทินัมด้วยไอโซโพรพานอลก่อนทดลองครั้งถัดไปพบว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน 22 μV/K ซึ่งน้อยกว่าการวัดแบบไม่รบกวนระบบ นอกจากนี้ระบบยังสามารถวัดลักษณะเฉพาะของความต่างศักย์-กระแสไฟฟ้าได้เมื่อนำตัวต้านทานปรับค่าได้มาต่อแบบอนุกรมกับสารละลาย ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารละลายที่มีความเข้มข้นของสารคู่ควบรีดอกซ์สูงจะมีความต้านทานภายในต่ำ และสารละลายที่มีความเข้มข้นของสารคู่ควบรีดอกซ์สูงจะมีค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดสูงตามไปด้วย กำลังไฟฟ้าสูงสุดมีค่ามากขึ้นเมื่อผลต่างของอุณหภูมิมีค่าสูงขึ้น |
Other Abstract: | This project designed and built an apparatus for Seebeck coefficient of liquid measurement. The apparatus consists of the glass ring sandwiched between two platinum Plates. Black wax is used to seal the glass ring with the bottom plate. Then it was put on the brass block which is also on a heat sink. The flat bottom brass container with hot water is put on the top platinum plate. Thermocouple type K was inserted into the brass block and brass container for temperature measurement. The voltage between both electrodes was measured with a multimeter (Keithley2700) equipped with a scanner (Keithley 7710) via an “ExceLink” computer program. The apparatus was tested using water mixed with redox couple lithium iodide and iodine at a concentration of 0.4 molarity which has the Seebeck coefficient of 530±40 μ V/K [1]. We measured 3 set of 0.4 M solutions and found the average Seebeck coefficient were -442±94, -520±140 and -443±8 μV/K respectively. It can be concluded that the accuracy and precision of this measuring apparatus are not good. We repeated the measurement by removing the solution from the glass ring, cleaning the platinum plates, and refilling the solution back to the glass ring before each measurement. We called this as the “disturbed measurement”. It was found the standard error was reduced to 22 μ V/K. In addition, the system can also measure the characteristic of the voltage-current when the variable resister is connected with the solution in series circuit. The results showed that a solution with a high concentration of redox couple had low internal resistance and high power. The maximum power tends to increase when the temperature difference increases. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80589 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63-SP-PHYS-007-Theerissara Mungruengsakul.pdf | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.