Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80929
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันชัย มงคลประดิษฐ-
dc.contributor.authorปัญจพัฒน์ ถิระธำรงวีร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-11-03T02:17:13Z-
dc.date.available2022-11-03T02:17:13Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80929-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทำความเข้าใจในหลักคิดการสร้างมณฑลทางพุทธศาสนาที่แตกต่างกันของสามนิกายหลัก (เถรวาท มหายาน และวัชรยาน) ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันมีหลักปฏิบัติในอริยมรรคเพื่อการเข้าถึงพุทธธรรม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการวิจัยเชิงบรรยาย (ในเชิงสหสัมพันธ์) โดยศึกษาวิเคราะห์แนวทางการสอน, สิ่งที่มุ่งเน้นในการปฏิบัติ, และกิจกรรม ประเพณี ที่แตกต่างกันของแต่ละนิกาย (แต่ยังคงหลักมีหลักปฏิบัติแห่งอริยมรรค (ศีล สมาธิ ปัญญา) ที่มุ่งสู่พุทธรรมเป็นเป้าหมายที่เหมือนกัน) ที่ส่งผลให้พุทธสถานของทั้ง 3 นิกายมีรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่มีความเหมือนในความสอดคล้องไปกับการจัดสรรพื้นที่ที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตอย่างเป็นลำดับขั้น ผลการศึกษาทำให้เข้าใจหลักคิดการสร้างอริยมรรคมณฑล โดยสามารถสรุปหลักการได้ดังนี้ อริยมรรคมณฑลนั้นต้องมีหลักร่วมใจหรือนิมิตหมายแห่งปัญญาญาณเป็นศูนย์กลาง อันเป็นเป้าหมายหลัก และมีพื้นที่โดยรอบดุจเรือนแก้วขยายออกมาจากศูนย์กลาง ดุจเป็นลำดับชั้นการเข้าถึงปัญญาญาณ หรือความเป็นพุทธะ อันเป็นคุณลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ก่อให้เกิดความสงบภายในตน ควบคุมการรับรู้ภายนอกที่เป็นปรากฏการณ์ความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติรอบตัว โดยมีองค์ประกอบทางพุทธสถาปัตยกรรมที่มีความประณีตจากภายนอกค่อย ๆ มากขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้น และประณีตสูงสุดที่ศูนย์กลาง (อันเปรียบดุจจิตแห่งปัญญาที่เจิดจรัส) เทียบเคียงกับสภาวะจิตที่กำลังเข้าสู่ความเป็นพุทธะ มีความบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว อันทำให้อริยมรรคมณฑลนี้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ สามารถพัฒนาจักรวาลชีวิตให้เจริญขึ้น สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ เป็นไปตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ทำให้บุคลเห็นคุณค่าของวิถีชีวิตที่อยู่บนหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา เข้าใจความสุข สงบ ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย มีชีวิตที่เป็นอิสระจากความทุกข์ มีปัญญาและมีความเบิกบาน เป็นความสมบูรณ์ของชีวิต-
dc.description.abstractalternativeThis dissertation aims to study the principles of creating Buddhist sacred places of the three leading sects, namely Theravāda, Mahāyāna, and Vajarayāna, which are based on the teachings of the Lord Buddha that enable Buddhists to follow practices regarding the Noble Eightfold Path to attain the Buddha Dharma. As a qualitative and correlational research, this research analyzed Buddhist teaching approaches and focuses on the practices as well as activities and traditions that vary among the sects although they have the same Buddha Dharma as their ultimate goal. Despite their diverse forms, the sacred places of all the sects are similar, with the allocation of space that facilitates the hierarchical development of the mind. The results of this research uncovered the principles of creating the Noble Path Places and can be concluded into significant points. The sacred place must consist of the principle of the mind or the vision of wisdom, as the principal goal, at the center and the surrounding areas are like a series of hollow spheres extending from the center resembling hierarchical access to wisdom or enlightenment. These architectural features create peace within the mind and control one’s perception of the phenomenon of surrounding nature dynamics. The elements of the architectural places exquisitely designed from the outside gradually appear in a hierarchy and are supremely refined at the center, hence representing the mind of brilliant wisdom, the state of mind entering Buddhahood and pureness. As a result, the Noble Eightfold Path places are the sacred places that contribute to the prosperity of the universe of life following the natural way and the Middle Way. They enable people to recognize the value of a way of life following the Precepts, Concentration, and Wisdom, appreciate happiness and peace that depend on causes and conditions, live a life free from suffering, and attain wisdom, cheerfulness, and the fullness of life. -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.941-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationArts and Humanities-
dc.titleการศึกษาหลักคิดการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาจากสามนิกายหลัก-
dc.title.alternativeA study of the principles for creating buddhist sacred places from three major sects-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2022.941-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6073807925.pdf11.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.