Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80934
Title: | การรับรู้และจินตภาพของเมืองผ่านคนหลายช่วงวัย:กรณีศึกษา ย่านธุรกิจศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Perception and image of the city among diverse generations : a case study of the central business district of Bangkok |
Authors: | อรญา เพียรรักษ์การ |
Advisors: | สุธี อนันต์สุขสมศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จินตภาพเมืองนั้นย่อมมีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมและสภาพทางกายภาพของแต่ละเมือง เมืองจึงต้องมีอัตลักษณ์และองค์ประกอบที่ชัดเจนจึงส่งผลให้เกิดการรับรู้และจดจำเกี่ยวกับเมืองได้มากขึ้น ซึ่งเมืองจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของช่วงเวลา เช่นเดียวกับมิติทางด้านสังคมของคนในแต่ละช่วงวัย (generation) ที่มีความแตกต่างกันทั้งมุมมองทางด้านสังคมและการใช้ชีวิตที่ส่งผลให้คนในแต่ละช่วงวัยเกิดมุมมองและรับรู้จินตภาพของเมืองในรูปแบบที่แตกต่างกันไป การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบจากทฤษฎีจินตภาพของเมือง (image of the city) และความรู้สึกที่มีต่อสถานที่ (sense of place) ที่มีผลต่อการรับรู้ย่านธุรกิจศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานครผ่านคนแต่ละช่วงวัย โดยนำแบบจำลองสมการโครงสร้าง (structural equation modeling: SEM) มาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล จากการศึกษาพบว่าปัจจัยจินตภาพของเมือง (image of the city) และปัจจัยความรู้สึกที่มีต่อสถานที่ (sense of place) มีอิทธิพลอย่างมากต่อภาพลักษณ์ที่เกิดจากการรับรู้ (cognitive image) ของในแต่ละช่วงวัยที่มีต่อเมือง โดยแบบจำลองสมการโครงสร้างการรับรู้จินตภาพของเมืองผ่านคนหลายช่วงวัยที่ได้ทำการพัฒนาขึ้นนั้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบของจินตภาพเมืองที่ทำให้เกิดการรับรู้ภาพลักษณ์เมืองมากที่สุด คือ เส้นขอบของย่าน (edge) รองลงมา คือ จุดศูนย์รวม (node) และจุดหมายตา (landmark) ในส่วนของความรู้สึกที่มีต่อสถานที่ที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ ความสุนทรียภาพภายในย่าน (aesthetic) รองลงมา คือ ความพึงพอใจในย่าน (satisfaction) และในการทดสอบความแตกต่างของความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ระหว่างช่วงวัย พบว่า มีความไม่แปรเปลี่ยนของแบบจำลองแต่จะมีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์ที่แตกต่างกัน |
Other Abstract: | Perception and image of the city is a theory about the identity and physical environment of a city, which varies across different cities. The perception and image of a city can also change across different events and times. The social dimension can also shape different perceptions and images of a city; different generations with different ways of thinking, social perspectives, and ways of living can affect their perception of a city very differently. The objective of this study is to examine the perception and image of Bangkok’s CBD across different generations, using Structural Equation Model as a data analysis tool. The results found that the developed Structural Equation Model was well consistent with the empirical data and revealed that the image of the city and sense of place had a significant influence on the cognitive image among diverse generations. Image of the city was directly influenced by the highest effecting variable, Edge followed by Node and Landmark. Besides, Sense of place was directly influenced by the highest effecting variable, Aesthetic followed by Place satisfaction. In addition the test of the invariance of Structural Equation Model analysis of among generation showed that the model was invariance in baseline Structural Equation Model, but parameters were not invariant. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังและออกแบบเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80934 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.542 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.542 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6370060725.pdf | 5.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.