Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80975
Title: ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืชของผู้บริโภค
Other Titles: Consumer’s environmental concern, perception, attitude and purchase decision towards plant-based meat
Authors: ธีรวัจน์ วุฒิปัญญาคม
Advisors: ธาตรี ใต้ฟ้าพูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืชของผู้บริโภค (2) ศึกษาความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากร กับความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืช (3) ศึกษาถึงอิทธิพลของความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ และทัศนคติ ต่อการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืช เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านทางกูเกิลฟอร์ม (Google Form) โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน แล้วนำผลมาวิเคราะห์ประมวลข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยพบว่า เพศหญิงมีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืชสูงกว่าเพศชาย ผู้ที่มีอายุมาก มีการรับรู้ต่อเนื้อทำจากพืชสูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อย ผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืชสูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่า นอกจากนี้ยังพบว่า ทัศนคติต่อเนื้อทำจากพืช มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการตัดสินใจซื้อเนื้อทำจากพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposes of this research are (1) to study consumer’s environmental concern, perception, attitude and purchase decision towards plant-based meat (2) to study the differences between demographic variables and environmental concern, perception, attitude and purchase decision towards plant-based meat (3) to study the influence of environmental concern, perception and attitude on purchase decision towards plant-based meat. This study use quantitative method by using survey with online questionnaires via Google Form to collect the data from 400 samples by setting the constraints as follows; people who live in Bangkok, Thailand with the age of 18 years and older and gathering the data to statistical analyze using SPSS program. The result of this research showed statistically significant as follow; (1) female has more environmental concern, perception, attitude and purchase decision towards plant-based meat than male. (2) elder people have more perception towards plant-based meat than younger people. (3) Nevertheless, below undergraduate educational level people have more attitude and purchase decision towards plant-based meat than graduated people. (4) Also, attitude as a factor has directly positive influence on purchase decision towards plant-based meat.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80975
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.785
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.785
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280020028.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.