Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81040
Title: | ความรับผิดทางอาญาของแพทย์กรณีจำเป็นต้องเลือกรักษาชีวิตผู้ป่วย |
Other Titles: | Criminal liability of medical triage in case of necessity |
Authors: | วริศรา วิเชียรมณี |
Advisors: | คณพล จันทน์หอม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ปรับปรุงหลักเกณฑ์ในทางกฎหมายอาญากรณีที่แพทย์จำเป็นต้องเลือกรักษาชีวิตผู้ป่วย ผู้วิจัยมุ่งศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ปัญหาและผลในทางกฎหมายอาญา โดยเปรียบเทียบบทบัญญัติ แนวคิดและความเห็นของนักวิชาการของต่างประเทศ เพื่อให้ได้แนวทางในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ในทางกฎหมายอาญาหรือกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดของแพทย์ในเรื่องความจำเป็นของแพทย์ในการเลือกรักษาผู้ป่วยที่ถูกต้องและเหมาะสม ท่ามกลางสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข บุคลากรทางการแพทย์ต้องเผชิญกับการตัดสินใจในการเลือกว่าผู้ป่วยคนใดจะได้รับการรักษาเพื่อให้ได้มีชีวิตอยู่รอดต่อไป การที่แพทย์ต้องเลือกรักษาชีวิตผู้ป่วยในภาวะวิกฤต ขณะที่ไม่มีกฎหมายรองรับอย่างชัดเจนนั้นอาจทำให้แพทย์มีความรับผิดในทางอาญา แม้ว่าแพทย์อาจอ้างได้ว่าเป็นการกระทำด้วยความจำเป็น ซึ่งเป็นเพียงเหตุยกเว้นโทษ หรือศาลอาจเห็นว่าเป็นกรณีเกินสมควรแก่เหตุ ไม่ได้สัดส่วนทำให้แพทย์ไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร ทั้งที่การที่ต้องกระทำเช่นนั้นเป็นผลโดยตรงจากปัจจัยภายนอกซึ่งอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นวิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงเสนอแนะให้มีการยกเว้นความรับผิดในทางอาญาจากการกระทำดังกล่าว โดยกำหนดให้เป็นการกระทำด้วยความจำเป็นที่เป็นเหตุยกเว้นความผิดภายใต้เงื่อนไขว่าการเลือกรักษาต้องทำเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินทำให้มีผู้รอดชีวิตเพิ่มมากขึ้น ต้องเป็นไปตามลำดับที่กำหนดด้วยความเป็นธรรมโดยคำนึงถึงผู้ที่มีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่า ต้องกระทำตามหลักเกณฑ์ทางการแพทย์ที่กำหนดไว้ และต้องไม่เป็นการกระทำโดยประมาท |
Other Abstract: | The objectives of this research are to suggest solutions and to amend rules of criminal law in the event that physicians are required to choose which patients shall receive treatment to survive. The author aims to study concepts and theories to analyze problems and its implication in criminal law by comparing laws, concepts and academic opinions from aboard to contemplate solutions on criminal law or criminal liabilities of physicians regarding the necessity to treat patients precisely and appropriately. During the health emergencies, medical personnel are facing tremendous difficulties to determine which patients should receive treatment to survive. When physicians are required to save patient’s lives in crisis, but the law does not clearly specify that they are allowed to do so, they shall be liable under criminal law. Even though the physicians may claim that his act was conducted necessarily yet it is a claim for impunity. On the other hand, the court may take such conduct as an unreasonable and disproportionate act. Therefore, the physicians are not protected as much as they should even the conducts is a direct result from inevitable external factors. In addition, this research proposes the exclusion of criminal liability of such act. By defining that such act is an act of necessity and justifying as an exclusion of criminal liability only when operate under the condition of emergencies where doing so shall increase the number of survivors, comply with fairness of patient prioritization by prioritizing patients who have higher rate of survival and must be performed in accordance with prescribed medical rules and shall not be committed negligently. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81040 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.709 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.709 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380111034.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.