Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81131
Title: | การศึกษาทัศนคติของบุคลากรและปัจจัยองค์กรเพื่อพัฒนาสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา ผู้บริหารระดับต้นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) |
Other Titles: | A study of personnel's attitudes and organizational factors to develop into a learning organization case study of The First Line Manager of The Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA) |
Authors: | กฤตยา อินทรวิเชียร |
Advisors: | ชฎิล โรจนานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ภายใต้สถานการณ์ Digital Disruption การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้มีส่วนทำให้องค์กรอยู่รอดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นตัวอย่างรัฐวิสาหกิจไทยที่ต้องปรับตัว โดยทัศนคติของผู้บริหารระดับต้นถือมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามหลักวินัย 5 ประการของPeter Senge ผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณ พบว่าผู้บริหารระดับต้นของ รฟม. มีทัศนคติต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับที่สูงมาก ปัจจัยองค์กร ได้แก่ ผู้นำองค์กร วัฒนธรรมองค์กร การจัดการความรู้ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่ามีความสัมพันธ์ต่อระดับทัศนคติของผู้บริหารระดับต้นของ รฟม. ต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง ได้สะท้อนว่าผู้นำมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix ได้พบกลยุทธ์แนวทางการพัฒนา รฟม. ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 8 ข้อ ได้แก่ (1) ส่งเสริมทักษะทางด้านเทคโนโลยีแก่บุคลากร (2) ส่งเสริมการถ่ายทอดและถ่ายโอนงานด้านวิศวกรรมระบบรางจากภาคเอกชน (3) ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรองรับความเสี่ยงในการทำงาน (4) ผู้บริหารองค์กรต้องสื่อสารและสร้างความเข้าใจทิศทางการพัฒนาขององค์กร (5) ส่งเสริมการทำงานเชิงบูรณาการ (6) พัฒนาระบบการจัดการความรู้ขององค์กร (7) การทำงานเป็น Agile Organization และ (8) จัดตั้ง Intelligent Unit ด้านพัฒนาธุรกิจและด้านวิศวกรรมระบบราง |
Other Abstract: | Under the Digital Disruption situation, being a learning organization is what makes the organization survive. The Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA) is an example of a Thai state enterprise that has to adapt. The attitude of the first line manager is one of the most crucial parts to drive the company towards becoming a learning organization based on The Fifth Discipline of Peter Senge. The results from quantitative analysis indicate that the MRTA's first line manager had a high level of attitude towards being a learning organization. Moreover, it also reveals that leaders, organizational culture, knowledge management and utilizing of information technology are the organizational factors that correlated with the attitude level of first line manager towards being a learning organization of MRTA. The interview results of middle and top management reflect that leader plays an important role in driving the company to be a learning organization. From the TOWS Matrix analysis, 8 strategies were suggested for developing MRTA to be a learning organization consisting of (1) promote the personnel’s technology skill (2) promote conveying and transferring railway engineering work from private company (3) apply technology to assess and cope with the operational risks (4) the organization’s managers must communicate and create an understanding of the development direction of the organization (5) promote integrated work (6) develop the organization's knowledge management system (7) work as the Agile Organization and (8) establish an Intelligent Unit on business development and railway engineering field. |
Description: | สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81131 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.390 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.390 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Pol - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380005624.pdf | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.