Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81160
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วงWFH และความท้าทายในการจัดการของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
Other Titles: The factors affecting the work performance of state officers concerning work from home policy during the COVID-19 pandemic and challenging of personnel allocation : department of disaster prevention and mitigation
Authors: ปิยฉัตร คีรีมาศทอง
Advisors: สุธรรมา นิติเกษตรสุนทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดสรรบุคลากรของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการทำงานในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (COVID 19) ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมผสาน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 2) ปัจจัยด้านการทำงานที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานช่วง WFH ของบุคลากรกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  คือ ด้านลักษณะงาน ด้านเทคโนโลยี และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 3) ผลการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพทำให้ทราบถึงการจัดแผนการดำเนินงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (COVID 19) และแนวทาง ข้อเสนอแนะในการปรับรูปแบบการบริหารจัดการ การบริหารทรัพยากรบุคคล การเตรียมความพร้อม และการวางแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินในอนาคตของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to study personal factors that affected work efficiency during the work-from-home (WFH) period of Department of Disaster Prevention and Mitigation (DDPM) official 2) to study work factors that affected work efficiency during the work-from-home (WFH) period of DDPM official, and 3) to study DDPM guidelines for allocation of DDPM official to work during the COVID-19 outbreak. This research used Mixed Methods Research (MMR)’s approach which data were collected using questionnaires from 400 DDPM officials and conducting in-depth interviews with 6 DDPM officials. The research found that; 1) The personal factors that made DDPM official’s work efficiency during the work-from-home (WFH) period significantly different at 0.05 level were age and average monthly income. 2) The work factors that made DDPM official’s work efficiency during the work-from-home (WFH) period significantly different at 0.05 level were nature of work, technology, and facilities. 3) The results of a qualitative research study showed that the development of DDPM’s operation plan under the prevention measures of the COVID-19 outbreak, guidelines for adjusting the management style, human resource management, and disaster and emergency preparedness.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81160
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.381
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.381
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380089324.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.