Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81161
Title: | การบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง : กรณีศึกษาจังหวัดระยอง |
Other Titles: | Integrated drought management : a case study of Rayong, Thailand |
Authors: | ปิยนุช สถาวร |
Advisors: | วันชัย มีชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประเทศไทยเกิดภัยพิบัติด้านน้ำบ่อยครั้ง อันมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและจากฝีมือมนุษย์ สร้างความเสียหายต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงอาจจะต้องคำนวณจากความสัมพันธ์ของปริมาณน้ำต้นทุน (Supply) และปริมาณความต้องการใช้น้ำ (Demand) กรมชลประทานได้ชี้ว่า สถานการณ์ภัยแล้งในปี 2563 มีสาเหตุจากปรากฎการณ์เอลนีโญ (El Niño) ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 - 2562 ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปีอยู่ที่ร้อยละ 16 ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศลดน้อยลง โดยมีความรุนแรงมากเป็นอันดับสองในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่ปี 2522 จนถึงปัจจุบัน สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งรวมถึงพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยองได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำมีระดับความรุนแรงสูงสุดในรอบ 14 ปี ในจังหวัดระยองมีอ่างเก็บน้ำที่สำคัญจำนวน 5 อ่างฯ ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2562 ปริมาณน้ำคงเหลือทั้ง 5 อ่างฯ มีปริมาณคงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 50 นับว่าเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ และหากฤดูฝนในปี 2563 ล่าช้าออกไปจนถึงเดือนพฤษภาคม จะให้เกิดการขาดแคลนน้ำอย่างหนักจนกระทบต่อหลายพื้นที่ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะหรือรูปแบบการดำเนินการของภาครัฐและผู้ใช้น้ำในสถานการณ์วิกฤต ศึกษาระดับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ใช้น้ำในสถานการณ์วิกฤต อีกทั้งเป็นต้นแบบในการบริหารจัดการน้ำในสถานการณ์วิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารภาครัฐและผู้ใช้น้ำที่เกี่ยวข้อง โดยผลการศึกษามาตรการในการบริหารจัดการน้ำในสภาวะวิกฤตภัยแล้ง จังหวัดระยอง มีลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและผู้ใช้น้ำ ตั้งแต่ระยะก่อนเกิดภาวะวิกฤต ระยะเกิดภาวะวิกฤต และระยะหลังเกิดภาวะวิกฤต ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา ด้านความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำระหว่างภาครัฐและตัวแทนผู้ใช้น้ำภาคอุปโภคบริโภค และตัวแทนผู้ใช้น้ำภาคอุตสาหกรรม มีการร่วมกันพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ในขณะเดียวกันผู้ใช้น้ำภาคเกษตรหรือกลุ่มผู้ใช้น้ำชลประทานยังมีบทบาทน้อยเกินไป การแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำแบบบูรณาการที่แท้จริง ต้องประกอบไปด้วยผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่มีทั้งส่วนได้และส่วนเสีย เข้าร่วมทุกองค์ประกอบของกิจกรรม อันจะนำมาซึ่งความโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลอย่างยั่งยืน |
Other Abstract: | Thailand often faces water disasters caused by climate change and man-made, which affected to human life economy system. The severity level might be calculated from the relationship between supply and demand. The Royal Irrigation Department has indicated that drought situation of 2020 was attributed to the El Niño that began in late 2018-2019, causing 16% less rainfall than the 30-year average cause the amount of water in reservoirs across the country was declining. It was considered the second most severity in 40 years, from 1979 to the present. For the drought situation in the eastern region including areas of the Eastern Economic Corridor (EEC), comprising 3 provinces, namely Chachoengsao, Chon Buri and Rayong, which have been affected by water scarcity at the highest level in 14 years. Rayong Province has 5 major reservoirs, during the beginning of December 2019, the amount of water remaining in 5 reservoirs averaged 50%, risk of water scarcity, and if the rainy season in 2020 is delayed until May, it will affect water scarcity in many areas. This research aims to study the characteristics or patterns of action of the government and water users in crisis situations, to study the level of cooperation between the government and water users in crisis situations, and also to be a prototype for water management in crisis situations that may arise in the future. This research is qualitative research, using secondary data related to water management in drought crisis situations together with participation observation and in-depth interviews with government executives and related water users. The study results of measures for water management during the drought crisis situations in Rayong Province were characterized by cooperation between the government and water users since the pre-crisis phase, the crisis phase and after crisis. Recommendations obtained from a study on cooperation in water management between the government and water user representatives in the consumer sector and water user representatives in the industrial sector which has cooperated to develop continuously and concretely. At the same time, water users in agricultural sector or water users from irrigation still play a role too little. Therefore, a true integrated water management solution must involve stakeholder in all sectors participating in all elements of the activities which it will lead to transparency in accordance with sustainable governance. |
Description: | สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81161 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.365 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.365 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Pol - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380091524.pdf | 12.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.